GREEN HEART

GREEN HEART

“Food waste กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของชาวโลก !”

GREEN HEART

view all
European Green Deal คืออะไร? เมื่อ ‘ฝาขวดน้ำ’ ก็ช่วยโลกได้

01 ก.ค. 2024

European Green Deal คืออะไร? เมื่อ ‘ฝาขวดน้ำ’ ก็ช่วยโลกได้

การได้ไปเที่ยวยุโรป เปิดขวดเครื่องดื่มเย็นเจี๊ยบในวันที่อากาศร้อน นับเป็นหนึ่งในความสุขสดชื่นอีกแบบ แต่ในฤดูร้อนปีนี้ประสบการณ์ดื่มคงจะแตกต่างออกไป จากการกำหนดนโยบาย‘ลดโลกร้อน’และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของยุโรปครั้งใหม่ ที่จะมีผลเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2024 นี้European Green Deal คืออะไร ?ในเดือน ก.ค. 2021คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)มีแผนการทำงานเพื่อสนับสนุนให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2.0 องศาเซลเซียส ภายในศตวรรษนี้ และในปี 2050 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้เกิดเป็น‘European Green Deal’ หรือมาตรการลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 55 ในปี 2030 หรือFit for 55 Packageซึ่งเป็นร่างกฎหมายเพื่อรับรองเรื่อง- การปรับปรุงสิทธิการซื้อขายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก- การส่งเสริมการคมนาคมสีเขียวทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ- การกำหนดอัตราภาษีธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม- การกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน- การตั้งเป้าหมายการดูดซับก๊าซเรือนกระจก- และการออกมาตรการCBAM(Carbon Border Adjustment Mechanism)มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป คือการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป European Union (EU)EU Green Deal – EU-ASEAN (euinasean.eu)สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของ ‘ฝาขวดน้ำ’นโยบายดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุโรป ดังล่าสุดที่หลายประเทศกำลังบอกลาฝาขวดพลาสติกแบบเก่า และหันมาใช้ขวดน้ำที่มีฝาติดอยู่ ตามกฎของ European Green Deal ที่จะมีข้อบังคับในวันที่ 3 กรกฎาคม 2024 กำหนดให้เครื่องดื่มที่มีขนาดไม่เกิน 3 ลิตร ต้องใช้ฝาน้ำดื่มที่ติดอยู่กับตัวห่วงและขวดบรรจุภัณฑ์ (Tethered Caps)เพื่อลดการหลุดรอดไปยังสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสัตว์โดยโฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมสภาพภูมิอากาศและการสื่อสารแห่งไอร์แลนด์ กล่าวว่า“ฝาจํานวนมากถูกแยกออกจากขวดหลังการใช้งาน และฝาที่อยู่ในถังรีไซเคิลก็มักจะมีขนาดเล็กและเบาเกินไปสําหรับอุปกรณ์คัดแยกที่จะจัดการ และกลายเป็นขยะตกค้างไม่ได้นำไปรีไซเคิลในที่สุด”“รายงานจาก National Litter Pollution Monitoring System แสดงให้เห็นว่า ขยะจากฝาเครื่องดื่ม คิดเป็นประมาณ 15% ของขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนของฝาขวดน้ำ ที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกได้ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปนั้นมีอิสระในข้อกําหนดตนเอง ตราบใดที่ "ฝาปิดยังคงติดอยู่กับภาชนะในระหว่างใช้งาน ตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์"ดังนั้น หากคุณกำลังจะเดินทางไปท่องเที่ยวในแถบยุโรปช่วงเดือนกรกฎาคม คุณได้อาจเจอกับฝาพลาสติกรูปแบบใหม่ที่ติดอยู่กับขวด เป็นส่วนช่วยทำให้ขบวนการรีไซเคิลเกิดขึ้นได้ง่าย ลดอันตรายต่อสัตว์โลก และเป็นการลดโลกร้อนอีกทางหนึ่งอีกด้วย

นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์พบว่า “ช้างมีชื่อเรียกกันเอง”

14 มิ.ย. 2024

นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์พบว่า “ช้างมีชื่อเรียกกันเอง”

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มี “ชื่อ” เอาไว้เรียกกันและกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการวิจัยสัตว์ชนิดอื่น เช่น นกแก้ว หรือ ปลาโลมา เวลาจะเรียกเพื่อน จะต้องส่งเสียงเลียนแบบเสียงเอกลักษณ์ที่เพื่อนทำก่อน เพื่อเรียกความสนใจ แล้วค่อยสื่อสาร ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่การเรียกชื่อซะทีเดียวต่อยอดจากงานวิจัยนั้น ล่าสุด Mickey Pardo นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์จาก Cornell University ได้ลองศึกษาเสียงของช้าง สัตว์ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ และเป็นหนึ่งในสัตว์สังคมมากที่สุด พวกมันมักแสดงออกทางอารมณ์ เวลาเจอเพื่อน เจอพี่น้อง ครอบครัว หรือ แม้กระทั่งแสดงความดีใจ เมื่อได้เจอเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานานนักชีววิทยา เริ่มสังเกตจากการที่เวลาช้างส่งเสียง บางครั้งทั้งฝูงมีการตอบสนอง แต่บางครั้งเวลามันส่งเสียง มีเฉพาะบางตัว หรือ ตัวเดียวที่ตอบสนอง เลยทำให้มีการตั้งสมมุติฐานว่า ช้างสามารถเรียก ช้างอื่น แบบเฉพาะเจาะจงได้ จึงเริ่มทำการบันทึกเสียงช้างใน อุทยานแห่งชาติAmboseli National Park และ Samburu National Reserve ประเทศเคนยาMickeyใช้ AI วิเคราะห์เสียงเหล่านั้น เพื่อหาแพทเทิร์นของเสียง และหาชื่อช้าง และนำมาทดสอบโดยเปิดเสียงผ่านลำโพง และพบว่า ช้างบางตัว ตอบสนองต่อเฉพาะบางเสียงเท่านั้น ที่ความแม่นยำ 28%ซึ่งชื่อของช้าง ไม่ได้เป็น ชื่อเป็นคำๆ แบบที่มนุษย์เราใช้เรียกกัน แต่มันเป็นโทนเสียงฮัมต่ำ ที่คลื่นความถี่นี้ ได้ยินเฉพาะช้างกันเองเท่านั้นโดยเมื่อทำการทดลองพบว่า ช้างตอบสนองต่อเสียงช้างที่เฉพาะเจาะจงถึงมันมากกว่า เสียงที่ช้างสื่อสารกับกลุ่มทั่วไป หรือ พูดง่ายๆ ก็คือในเสียงนั้นมี “ชื่อ” ของมันอยู่นั่นเองเบื้องต้นนักชีววิทยาลัย ตั้งสมมุติฐานว่า ช้างอาจจะได้ชื่อมาจากแม่ของมันนั่นเอง ซึ่งทีมวิจัยหวังว่า การได้เรียนรู้ชื่อ ภาษา และการสื่อสารของช้าง จะนำไปสู่การปกป้อง และอนุรักษ์พันธุ์ช้างที่นับวันยิ่งใกล้การสูญพันธุ์ขึ้นไปทุกทีข้อมูล: Nature Ecology Evolution Journey, CBC-Canada

ปะการังอ่าวไทยฟอกขาวไปแล้วกว่า 50%

13 มิ.ย. 2024

ปะการังอ่าวไทยฟอกขาวไปแล้วกว่า 50%

รู้หรือไม่ว่า อากาศบริสุทธิ์ที่สัตว์โลกหายใจกันอยู่ ส่วนใหญ่ มากจากการสังเคราะห์แสงของพืชในทะเล มากกว่าป่าทั้งโลกรวมกันเสียอีกรายงานล่าสุดพบว่า ภาวะโลกเดือดกำลังคุกคาม แหล่งอาหาร และแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ของโลก เมื่อมาดูสถิติการจดบันทึก ล่าสุดอุณหภูมิผิวน้ำของอ่าวไทยตะวันออก เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 32.73⁰C ในเดือน พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา อุณหภูมิใต้น้ำวัดได้ถึง 33⁰Cชาวประมงริมทะเลอ่าวไทย บอกว่า ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจอปะการังฟอกขาวเยอะมากขนาดนี้ และทำให้จับสัตว์น้ำได้น้อยลง และเริ่มมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำลดลง ต้องออกไปหาปลาไกลขึ้น และ นานขึ้นกว่าปกตินักวิจัยทางทะเลได้สำรวจพบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวตั้งแต่กลางเดือน เมษาปีนี้ และเริ่มขยายแผ่เป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว พร้อมกับอุณหภูมิน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปะการังฟอกขาวโดยปะการังเกือบทุกชนิดที่ฟอก ปะการังส่วนใหญ่สีซีด 20-30% กำลงฟอกขาวอยู่ และ ปะการังบางส่วนเริ่มตายแล้ว“ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว คือ ภาวะที่ปะการังมีสีซีดจางลง จนมองเห็นเป็นสีขาว เป็นผลมาจากการสูญเสียสาหร่ายที่ชื่อว่า ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) สาหร่ายขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง ดํารงชีวิตอยู่ ร่วมกับปะการัง “แบบพึ่งพากัน”โดยสาหร่ายจะทําหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร ช่วยเร่งกระบวนการสร้างหินปูน รวมถึงการสร้างสีสันให้แก่ตัวปะการัง ส่วนปะการังก็ให้ที่อยู่”และจากสถิติโลกตอนนี้ พบว่าปะการัง 2 ใน 3 ของโลก กำลังเผชิญกับ ภาวะโลกเดือดที่คุกคามการอยู่รอดของปะการัง โดยเฉพาะในทะเลแอตแลนติก ปะการังฟอกขาวไปแล้วกว่า 99.7% ส่วนในอ่าวไทยของเรา ฟอกขาวไปแล้วกว่า 50%แม้ปะการังจะปกคลุมพื้นที่ใต้ทะเลน้อยกว่า 1% แต่มันเป็นบ้านของสัตว์น้ำ และรักษาสมดุลระบบนิเวศใต้ทะเล ที่พยุงมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 2.7 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ต่อปี ทั้งยังช่วยปกป้องชายฝั่ง จากพายุ และการเซาะกร่อนจากคลื่นทะเลในปี 2009 เคยมีการสำรวจว่าโลก ได้สูญเสียปะการังไปแล้ว กว่า 14% และ ในปี 2050 หรือ อีก 26 ปีข้างหน้า 90% ของปะการังที่เรามีอยู่จะหายไปหมดสิ้นนอกจากนี้ WHO ยังออกมาเตือนเรื่องภาวะโลกเดือด ล่าสุด มนุษยชาติได้เข้าสู่ ภาวะโลกเดือด อุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่ ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี คศ.1850) เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันแล้ว (มิย 2023 - พค. 2024)หนทางเดียวที่จะช่วยชีวิตปะการังไว้ได้ คือ การช่วยการลดโลกร้อน และแม้จะมีความพยายามสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึง สตาร์ทอัพ กว่า 1,000แห่ง ขึ้นมาเพื่อช่วยลดโลกร้อน ภายในปี 2030 ปัญหาคือ แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เราจะช่วยโลกได้ทันมั้ย ถ้าต้นตอปัญหายังไม่เคยลดลงเลยข้อมูล: WEF , WHO

ห้องสมุดที่นี่ ไม่ให้ยืมหนังสือ แต่ให้ยืม “คน” ตัวเป็น ๆ มานั่งเล่าชีวิตของเขาให้เราฟัง

10 มิ.ย. 2024

ห้องสมุดที่นี่ ไม่ให้ยืมหนังสือ แต่ให้ยืม “คน” ตัวเป็น ๆ มานั่งเล่าชีวิตของเขาให้เราฟัง

เดือนมิถุนายน เดือนที่เราเฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ ซึ่งหลายคน อาจจะมีภาพในใจ ตัดสินคนอื่นไปก่อน จากรูปลักษณ์ ท่าทาง ลักษณะภายนอก แต่เอาเข้าจริง ๆ เราไม่เคยได้เข้าไปสัมผัส หรือ ทำความรู้จักพวกเขาเลย บางครั้งเรารับความเชื่อเดิม ๆ ที่ส่งต่อกันมา เช่น“การรักเพศเดียวกันเป็นพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ได้ค้นพบแล้วว่ามีสัตว์ในธรรมชาติ กว่า 1,500 สายพันธุ์ ที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน”นี่เป็นหนึ่งใน หลายความเข้าใจผิดที่เราสร้างต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แล้วตัดสิน เลือกปฏิบัติ จนเกิดปัญหา ความอยุติธรรม การกดขึ่ข่มเหง และ ความซับซ้อนต่าง ๆ มากมายในสังคมซึ่งความเข้าใจผิดต่าง ๆ เหล่านี้ อาจลดน้อยลง ถ้าเพียงเราได้เปิดใจพูดคุย ทำความเข้าใจ เพื่อนมนุษย์อีกคน และนี่คือที่มาของโครงการ “ห้องสมุดมนุษย์” Human Library ที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ในปี คศ.2000 มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดอคติที่มนุษย์มีต่อกันเริ่มแรกห้องสมุดมนุษย์ เกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในงาน Roskilde Festival เทศกาลดนตรีประจำปีของประเทศเดนมาร์ก จัดโดยมูลนิธิ Roskilde เป็นเทศกาลที่ใช้ดนตรีเฉลิมฉลองเสรีภาพของมวลมนุษยชาติ ลดอคติที่มนุษย์มีต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นความต่างด้าน เชื้อชาติ ศาสนา เพศสภาพ หรือ วัฒนธรรมในปี ค.ศ. 2006 ได้มีการจัดตั้ง “ห้องสมุดมนุษย์” แบบถาวรขึ้นที่เมืองลิสมอร์ ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็น ห้องสมุดมนุษย์แห่งแรกของโลกที่เปิดดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และกลายเป็นต้นแบบแนวทางให้กับการเปิด “ห้องสมุดมนุษย์” ทั่วทุกมุมโลกซึ่งแนวคิดหลักของ ห้องสมุดมนุษย์ คือ การไม่ด่วนตัดสินหนังสือไปก่อน เพียงเพราะเห็นแค่ปกของมัน “Don’t Judge a Book by Its Cover” ห้องสมุดที่นี่ แทนที่เราจะได้ยืมหนังสือ แต่เราจะได้ยืม “มนุษย์” แทน โดยเราสามารถเลือก “หนังสือมนุษย์” ที่ผู้คนสนใจ ก็คือ คนเป็นๆนี่แหละ แล้ว บรรณารักษ์ ก็จะเชิญเขาออกมานั่งพูดคุย ใช้เวลากับเรา พอหมดเวลา ก็คืนหนังสือมนุษย์ไปหนังสือมนุษย์ ในห้องสมุดมี หลากหลายรูปแบบ หลายสัญชาติ ศาสนา เพศสภาพ อายุ อาชีพ มาจากภูมิหลังที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยมากจะเป็น กลุ่มคนที่มักถูกสังคมตัดสิน ล่วงหน้าไปก่อน มีทั้ง คนพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยโรคต่างๆ ตำรวจ นักดับเพลิง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ นักการเมือง ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย มุสลิม คนไร้บ้าน คนตกงาน นักการเมือง รัฐมนตรี ฯลฯซึ่งห้องสมุดมนุษย์เหล่านี้ มักถูกจัดเป็นอีเวนท์ตามที่ต่างๆ บางอีเวนท์ หนังสือมนุษย์จะคุยกับ คนอ่าน 1 ต่อ 1 หรือ บางทีผู้อ่านเป็นกลุ่ม อาจอ่าน หนังสือมนุษย์ 1 เล่ม พร้อมกันทั้งกลุ่มก็ได้ ขึ้นอยู่กับกติกา และความสะดวกใจของหนังสือมนุษย์แต่ละคนหนังสือมนุษย์ ทำหน้าที่สื่อสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ และประสบการณ์ตรงให้กับผู้อ่าน โดยที่เราได้เรียนรู้เรื่องของคนผ่าน คนที่มีชีวิตจริง ๆ โดยไม่ต้องผ่านสื่อใด ๆโดยที่หนังสือมนุษย์ทั้งหมด เป็นอาสาสมัครที่ทางทีมงานจะต้องรับสมัคร และออกไปหา หนังสือมนุษย์ที่มีผู้คนสนใจ จากหลากหลายภูมิหลัง ตามความต้องการของผู้อ่าน ก่อนนำมาจัดเป็นอีเวนท์ปัจจุบันห้องสมุดมนุษย์ยังคงดำเนินการอยู่ และได้มีการจัดงานกระจายไปทั่วโลกกว่า 85 ประเทศ สำหรับประเทศไทย สถาบันแห่งแรกที่จัด ห้องสมุดมนุษย์ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมาซึ่งถ้าเราเข้าใจหลักการห้องสมุดมนุษย์ บางทีเราอาจจะไม่ต้องไปถึงงาน หรือ ถึงสถานที่นั้นก็ได้ เพียงแค่เราเปิดใจ ทำความเข้าใจ เปิดใจ อ่าน “หนังสือมนุษย์” รอบ ๆ ตัวเราก่อน เพียงแค่นี้ก็จะทำให้สังคมของเรา น่าอยู่ขึ้นแล้วข้อมูลเพิ่มแติม: https://humanlibrary.org/

เตือนภัย พบผู้บาดเจ็บสาหัส จากเครื่องบินตกหลุมอากาศทุกปี!!!

28 พ.ค. 2024

เตือนภัย พบผู้บาดเจ็บสาหัส จากเครื่องบินตกหลุมอากาศทุกปี!!!

เหตุการณ์เครื่องบินสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากตกหลุมอากาศรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บหลายสิบคนจากข้อมูลจาก Federation Aviation Administration องค์การบริหารการบินนานาชาติ พบความผิดปกติที่สภาพแปรปรวนของอากาศ นำมาซึ่งความเสียหาย บาดเจ็บ และเสียชีวิต ในปี 2565 มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเครื่องบินตกหลุมอากาศ 17 คนและเมื่อดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 2552-2565 มีผู้บาดเจ็บสาหัสจากเครื่องบินตกหลุมอากาศ 163 คน หรือ เฉลี่ยปีละ 13 คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือลูกเรือ หรือ พนักงานบนเครื่องบินถ้านับเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการตกหลุมอากาศ ในกลุ่มอุตสาหกรรมการบินใน ทวีปอเมริกาเหนือ อาจสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เนื่องจากความเสียหายที่เกิดกับตัวเครื่องบินและมีการจัดอันดับโดย Turbi ว่า “เส้นทางที่มีสภาพอากาศแปรปรวนเฉลี่ยมากที่สุดของโลกในปี 2566” พบว่า อันดับ 1 คือเส้นทางระหว่างซานติอาโก ชิลี และซานตาครูซ เด ลา เซียร์รา ประเทศโบลิเวีย อันดับที่ 2 คือ อัลมาตี คาซัคสถาน และ บิชเคก คีร์กีซสถาน และอันดับ 3 คือเส้นทางหลานโจว และเฉิงตูในประเทศจีนเมื่อปีที่แล้ว (2023) อาจารย์ Ed Hawkins นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและอาจารย์ประจำ University of Reading แชร์ข้อมูลเรื่องอันตรายจากการตกหลุมอากาศและโลกร้อน แสดงให้เห็นถึงการเกิดหลุมอากาศที่เพิ่มขึ้น เขาพบว่าอัตราการเกิด Clear Air Turbulance (การเกิดหลุมอากาศในสภาพฟ้าปลอดโปร่ง) เพิ่มขึ้นราว 55% ในระยะเวลาเพียง 44 ปีเท่านั้น และถ้าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังดำเนินต่อไป อัตราการเกิด Clear Air Turbulance จะถี่และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และความน่ากลัวคือ“หลุมอากาศ ประเภท CAT นี้ไม่สามารถมองเห็นได้ ตรวจไม่ได้ด้วยเรดาห์ และตรวจไม่พบด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน”ทางด้าน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ดร.สนธิ คชวัฒน์ ให้ข้อมูลว่า หากไม่ดำเนินการใดๆในปี 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกว่า "สภาวะโลกเดือด" อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก 40% นับจากปี 2023ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ผู้โดยสารไม่มีทางรู้เลย ว่าเครื่องบินโดยสารจะตกหลุมอากาศเมื่อไหร่ แม้ท้องฟ้าจะปลอดโปร่งก็ตาม ทั้งความรุนแรง และ ความถี่ ก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น สิ่งที่ผู้โดยสารจะสามารถทำได้ คือเมื่อขึ้นเครื่องบินให้ นั่งรัดเข็มขัดให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางนั่นเองแหล่งข้อมูล :FB : Sonthi KotchawatTPBSBBCCNN

album

0
0.8
1