
07 มี.ค. 2025
07 มี.ค. 2025
20 ส.ค. 2024
ในปัจจุบันนี้ปัญหาขยะอาหาร (food waste) ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงอาหารที่ถูกทิ้งขว้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ นอกจากจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่ใช้ในการผลิตแล้ว ยังสร้างปัญหามลพิษจากก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะอาหารอีกด้วยFOOD WASTE คืออะไร?ขยะอาหาร (Food Waste) หมายถึง อาหารเหลือทิ้งในตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) จากทั้งในส่วนของผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค ทั้งเศษอาหารที่รับประทานไม่หมด อาหารกระป๋องที่หมดอายุ เศษผักผลไม้ตกแต่งจาน รวมไปถึงอาหารเน่าเสีย และหมดอายุจากการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมของร้านอาหาร ภัตตาคาร และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆคนไทยสร้างขยะอาหาร (Food Waste) เฉลี่ย 86 กิโลกรัม/คน/ปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 79 กิโลกรัม/คน/ปีในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มการสร้าง Food Waste มากขึ้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสูญเสียอาหาร และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนแล้วแต่ละที่มีวิธีจัดการยังไงบ้าง ?เนื่องจากปัญหานี้กลายเป็นปัญหาที่ทั่วโลกตระหนักถึง จึงเริ่มมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมปัญหาเช่น· ประเทศสเปน มีการร่างกฎหมายเพื่อลดขยะอาหาร กำหนดให้ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารส่งเศษอาหารเหลือทิ้ง หรือผลไม้ที่สุกมากแล้วให้กับธนาคารอาหารและองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อนำไปแปรรูป· ประเทศจีน ได้มีการตั้งกฎหมายห้ามสั่งอาหารเกินความจำเป็นและมีการห้ามทำไลฟ์สตรีมมิ่งกินจุเกินความจำเป็น· ประเทศฝรั่งเศส มีการออกกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านขยะอาหาร โดยให้ร้านค้าปลีกที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไปจะต้องบริจาคสินค้าอาหารที่ยังทานได้แก่มูลนิธิรับบริจาคอาหาร เพื่อ ให้ผู้ที่ต้องการ หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับประมาณ 133,293 บาทไทย ในขณะเดียวกันผู้บริจาคจะได้รับเครดิตภาษี 60% ของมูลค่าอาหารที่บริจาคสุดท้ายนี้หากเราต้องการลดปัญหา food waste เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ เริ่มจากการไม่ซื้ออาหารเกินความจำเป็น ดูวันหมดอายุก่อนซื้อ หรือถ้ามีอาหารเหลือ ควรนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพหรือนำไปใช้ทำเมนูใหม่ๆ มาช่วยกันรักษาโลกให้น่าอยู่ด้วยการลด food waste กันค่ะ !Author : Warissแหล่งข้อมูล :https://tdri.or.th/2019/10/food-waste/https://ngthai.com/science/40756/food-waste-food-loss/https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/SBUVol3N8-FB-2024-04-22.aspx?utm_source=SBUVol3N8utm_medium=linkutm_campaign=fbfbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0lbJOIxi7s9jT_oLAJodRNPE3IuvTVhxsM-pB3xX4orrRQzRvt-OSN7oM_aem_wX47GkR5ETVGVPSbmf70SA
19 ส.ค. 2024
ทำยังไงดีอยากแยกขยะให้ถูก ?หาที่พาหมาไปเดินเล่นใกล้ๆบ้าน ?อยากบริจาคอาหารและของใช้ ?เว็ปไซต์ Greener Bangkok รวบรวมข้อมูลไว้แล้วในที่เดียว! ผ่านการเป็นพื้นที่ให้ความรู้สีเขียว ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนในเมืองกรุง โดยการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ทุกคนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากต้นทาง หรือ เริ่มต้นจากสองมือของเรานั่นเองในปัจจุบัน เมืองหลวงของเรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการจัดการขยะปริมาณ 10,000 ตันในแต่ละวัน โดยขยะส่วนใหญ่ถูกส่งไปฝังกลบที่ต่างจังหวัด เช่น อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และอ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โดยภายในพื้นที่ของกทม.มีจำนวนขยะเพียง 500 ตันเท่านั้นที่ถูกส่งไปที่โรงเผาขยะที่หนองแขม ส่งผลให้จำนวนขยะที่เหลือกลายปัญหาสำหรับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ต้องแบกรับมลพิษทางกลิ่นที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนในเมืองขาดความรู้ความเข้าใจ จากการที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายหรือรวมเป็นหลักเป็นแหล่งโดยนายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกทม. และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกทม. กล่าวว่า Greener Bangkok เป็นดั่งศูนย์กลางข้อมูลออนไลน์ เสมือนคลังข้อมูลให้ประชาชน องค์กร และทุกภาคส่วนที่ต้องการข้อมูลและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างและดูแลเมืองหลวงของเราให้เป็นเมืองยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถ้าอย่างนั้นมาแอบส่องไฮไลท์ที่น่าสนใจภายในเว็ปไซต์กันดีกว่า ว่าก้าวแรกที่เราจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทำให้เมืองน่าอยู่ได้ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?·How to ทิ้ง ช่วยทุกคนจัดการและรีไซเคิลขยะอย่างถูกวิธีให้ความรู้การทิ้งขยะกว่า 115 ชนิด อย่างถูกวิธีง่ายๆ เข้าใจวิธีการจัดการที่ถูกต้องตั้งแต่ต้นทางไปถึงปลายทาง·ตรวจเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 เรียกดูข้อมูลแบบเรียลไทม์ทุกพื้นที่·ให้บริการข้อมูลพื้นที่สีเขียว พิกัดสวนสาธารณะใกล้บ้านที่สัตว์เลี้ยงสามารถเข้าได้·บริการกำจัดขยะชิ้นใหญ่ฟรีกทม.จะทำการส่งรถไปรับบริการถึงที่ เพื่อรับสิ่งของขนาดใหญ่เกินกว่าจะทิ้งลงในถังขยะทั่วไป· บริการตัดต้นไม้โดยรุกขกร ตัดต้นไม้โดยช่างตัดแต่งมืออาชีพ·มินิเกมแสนสนุกแฝงความรู้เรียนรู้เรื่องกรีนๆอย่างสนุกสนาน ผ่านมินิเกมที่จะพาประเมินว่าภายในหนึ่งปี ตัวเราปล่อยคาร์บอนสู่โลกนี้ไปมากน้อยแค่ไหน หรือการจำลองแยกชนิดขยะด้วยตัวเอง สู่การนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันนั่นเองเห็นเลยได้ว่า Greener Bangkok ได้รวมฟังก์ชันที่หลากหลายไว้แล้วครบเครื่องจริงๆ แต่กระซิบไว้ก่อนว่านี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของทั้งหมดเพียงเท่านั้น ทุกคนสามารถกดเข้าไปลองอ่าน ลองเล่น และค้นหาข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆได้เพิ่มเติม ที่ greenerbangkok.com รับรองได้เลยว่าสิ่งที่ได้กลับมานั้นจะมีมากกว่าความรู้อย่างแน่นอน แล้วมาร่วมกันคนละไม้คนละมือ ให้เมืองของเราน่าอยู่มากขึ้นกันเถอะ !Author : L’araอ้างอิงgreenerbangkok.comระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน (pcd.go.th)"ขยะล้นเมือง" คนไทยสร้างขยะเฉลี่ย 7.3 หมื่นตัน/วัน | Thai PBS News ข่าวไทยพีบีเอสวาระซ่อมกรุงเทพฯ : แผนจัดการขยะกทม. 20 ปี ยังคง 'ล้นเมือง' ต่อไป - ThaiPublicaกรุงเทพฯ กับปัญหาขยะล้นเมือง (arcgis.com)ขยะของคน กทม. ที่ถูกนำไปทิ้งที่บ้านคนอื่น - Rocket Media Lab
16 ก.ค. 2024
การท่องเที่ยวเมืองโคเปนเฮเก้น เปิดตัวแคมเปญทดลอง “Copenpay” เที่ยวฟรี ถ้านักท่องเที่ยวช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม โดยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวหรือ ผู้อยู่อาศัยในเมือง ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม แลกกับ อาหารฟรี และ ค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ฟรีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถทำได้อย่างเช่น เก็บขยะ ใช้ขนส่งสาธารณะ ใช้จักรยานในการเดินทางรอบเมือง หรือ เป็นอาสาสมัครให้ฟาร์ฺมในเมืองสิ่งที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกได้ เช่นอาหารกลางวัน กาแฟ ไวน์ หรือ พายเรือคายัคฟรี เข้าชมสถานที่ท่องเที่ยว อย่าง พิพิธภัณฑ์ บาร์ต่างๆ หรือ ที่อื่นๆฟรีโดยสถานที่ท่องเที่ยวเอกชนเหล่านี้ ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากภาครัฐแต่อย่างใด แต่เป็นการสมัครใจเข้าร่วมโครงการซึ่งตอนนี้มีประมาณ 24 หน่วยงานเอกชนที่เข้าร่วม โครงการนำร่องนี้ซึ่งการแลกจริงๆ ก็ไม่ได้มีการตรวจเช็คหลักฐานใดๆ จากนักท่องเที่ยว อาจจะต้องมีการโชว์ภาพขี่จักรยานบ้าง หรือ ตั๋วโดยสารขนส่งสาธารณะบ้าง แต่โดยหลักจะใช้ระบบ ความเชื่อใจนักท่องเที่ยวโครงการนี้ทำขึ้นมาเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยว แค่การบินไปเที่ยวต่างประเทศก็ทำลายสภาพชั้นบรรยากาศแล้ว แต่ นักท่องเที่ยวสามารถไปลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ปลายทางเป็นการชดเชยโคเปนเฮเกน เป็นเมืองที่ได้รับคะแนนความยั่งยืนลำดับต้นๆของโลก ที่นี่มีจำนวนจักรยานมากกว่า รถยนต์ถึง 4 เท่า ประชากร 62% เดินทางโดยใช้จักรยาน ในเมืองมีระบบโครงสร้างพื้นฐานรองรับการใช้จักรยาน โรงแรมส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐานรักษาส่ิงแวดล้อม คลองสะอาดว่ายน้ำได้ น้ำประปาสะอาด ใช้ดื่มได้ พลังงานไฟฟ้า 70% มากจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน พลังงานความร้อนที่ใช้ มาจากวัสดุย่อยสลายทางธรรมชาติโดยหน่วยงานการท่องเที่ยวโคเปนเฮเกนหวังว่า โครงการนี้จะจุดประกายให้ขยายไปเมืองต่างๆ ทั่วเดนมาร์ค หรือ แม้กระทั่งไปยังเมืองต่างๆทั่วโลกถ้าใครอยากเข้าร่วมโครงการนี้ ก็จะต้องรีบหน่อย เพราะโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา จนถึง 11 ส.ค. นี้เท่านั้น แต่ถ้าโครงการประสบความสำเร็จอาจจะมีการขยายไปจนถึงปลายปีนี้ด้วยแหล่งที่มา :BBC https://www.visitcopenhagen.com/copenpayhttps://youtu.be/KbZYnnXoSVs?si=_8huK7nS5NkE4Nqe
09 ก.ค. 2024
ทั่วโลกมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 50 ล้านคนต่อปี มีผู้เสียชีวิตจาก กว่า 1.19 ล้านคนต่อปีและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ของผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 5-29 ปีนอกจากนี้ จากสถิติยังพบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิต คือคนเดินถนน คนขี่จักรยาน และ ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์92% ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน มาจากประเทศกำลังพัฒนา ทั้งๆที่ ประเทศกำลังพัฒนา มีจำนวนรถเพียง 60% ของทั้งโลกประเทศไทยเองก็มีการเก็บสถิติ ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทุกวัน เฉลี่ยวันละหลายสิบราย และ บาดเจ็บเฉลี่ยวันละ 2 พันกว่าคนโดดช่วงเวลาที่มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด คือ ช่วง 17.00-21.00 น. โดยผู้เสียชีวิต 75% เป็นเพศชาย และ ยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุ 82% คือ มอเตอร์ไซค์ และจังหวัดที่มีอุบัติเหตุลำดับต้นๆได้แก่ กรุงเทพ ชลบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่จากข้อมูลในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุท้องถนน ปีละ 17,000 คน และ มีผู้พิการจากอุบัติเหตุกว่า 15,000 คน สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 แสนล้านบาทซึ่ง UN ได้ออกมารณรงค์ เรียกร้องเป็น ทศวรรษที่ 2 ให้ทุกคนใส่ใจ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน เช่นการใส่หมวกกันน็อค การไม่ขับขี่ขณะมึนเมา หรือ แม้แต่การคาดเข็มขัดนิรภัย ที่ลดอัตราการเสียชีวิตได้มากถึง 50%และยังพบว่าพฤติกรรมคนขับรถ ที่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เพิ่มความเสี่ยงอุบัติเหตุขึ้น 4 เท่านอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ภาครัฐของทุกประเทศ ช่วยกันปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมขนส่ง และ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อเป้าหมายการลดอุบัติเหตุลงให้ได้ครึ่งนึง ภายในปี 2030พวกเราในฐานะผู้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนน สิ่งที่พอจะควบคุมได้ หากเพียงผู้ขับขี่ยานพาหนะ เคารพกฏจราจร ไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัย และมีสติขณะขับขี่ หรือ ขณะใช้ท้องถนนอยู่เสมอ ก็จะสามารถลดเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นลงไปได้มากแล้วข้อมูลจาก :WEFมูลนิธิเมาไม่ขับ
03 ก.ค. 2024
กีฬาโอลิมปิคที่ปารีสในปีนี้จะจัดขึ้นระหว่าง 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นช่วงที่อุณหภูมิพุ่งขึ้นไปสูงที่สุดกว่า 40⁰C เพราะเป็นช่วงที่เป็นฤดูร้อนของยุโรปในซีกโลกเหนือพอดีมหกรรมกีฬาโอลิมปิคในคราวนี้ ฝรั่งเศสตั้งเป้าไว้ให้เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่เขียวที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ (ย้อนไปอ่านบทความเก่าที่เคยเขียนไว้ได้)หมู่บ้านนักกีฬา เป็นสถานที่ใช้รับรองนักกีฬา และเจ้าหน้าที่กว่า 15,000 คนในกีฬาโอลิมปิค และใช้รับรองนักกีฬา และ เจ้าหน้าที่กว่า 9,000 คนในกีฬาพาราลิมปิค สถานที่นี้ถูกสร้างอยู่ริมแม่น้ำแซน ใช้กระแสลมธรรมชาติพัดผ่านให้ความเย็นกับกลุ่มอาคาร ประกอบกับการใช้ระบบระบายความร้อนในอาคาร ที่มีการติดตั้งหลังคาสีเขียวลดความร้อน มีบานประตู หน้าต่าง ป้องกันแสงแดด และความร้อนในเวลากลางวัน รวมทั้งมีการปลูกต้นไม้รายรอบอาคาร เพิ่มร่มเงา และความเย็นในพื้นที่ ส่วนภายในห้องพักจัดไว้อย่างเรียบง่าย มีเพียงเตียง และ พัดลม คือ...มีทุกอย่าง แต่ไม่มีแอร์ เครื่องปรับอากาศซึ่งเหตุผลของการไม่ติดตั้งแอร์ เพราะแอร์อาจทำให้นักกีฬาเย็นได้จริง แต่จะสร้างความร้อนให้กับพื้นที่รอบข้าง และการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยกว่าโอลิมปิกลอนดอน 2012 ให้ได้ 50%ทำให้นักกีฬาหลายประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา เดนมาร์ค อังกฤษ กรีก และ อิตาลี ประกาศว่า จะยกแอร์ไปติดเอง ส่วนนักกีฬานิวซีแลนด์ ก็จะเอาแอร์เคลื่อนที่ไปติดเองเหมือนกัน แต่อาจจะไม่ทุกห้อง จะกระจายไปในหลายอาคารที่พวกเขาพักในกีฬาโอลิมปิคครั้งล่าสุด ในปี 2021ที่ญี่ปุ่น ที่ว่าร้อนแล้ว สภาพอากาศปีนั้นอุปสรรคอย่างมากกับนักกีฬา มีผู้เข้าแข่งขันหลายคน ทั้งอาเจียน และ เป็นลมขณะแข่งขัน เพราะความร้อน แต่ครั้งนี้ สภาพอากาศก็จะร้อนยิ่งกว่า จากการพยากรณ์อากาศ มีแนวโน้มมากถึง 70% ที่อากาศปารีสจะร้อนกว่าปกติ และเมื่อรวมกับความชื้นในอากาศที่สูง ยิ่งทำให้ ความร้อนที่รู้สึก สูงขึ้นไปอีก จนกระทั่งมีคำเตือนว่า กรณีเลวร้ายที่สุด อาจทำให้นักกีฬาเสียชีวิตและสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ “คลื่นความร้อน (Heatwave)” ที่อาจเกิดขึ้นขณะที่จัดการแข่งขัน ซึ่งจากสถิติตั้งแต่ปี 1947 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปารีสโดนคลื่นความร้อนเล่นงานไปกว่า 50 ครั้งแล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อน กว่า 14,000 คนซึ่งสาเหตุของคลื่นความร้อน ก็มาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนั่นเอง และเป็นการเตือนโลกว่า นับจากนี้เป็นต้นไป ทุกมหกรรมกีฬา จะต้องประสบปัญหาเรื่องความร้อนไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุดปัญหาโลกร้อนจึงไม่ใช่แค่ปัญหาของวงการสิ่งแวดล้อม แต่ตอนนี้มันพิสูจน์ชัดแล้ว ว่ากระทบไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่วงการกีฬาการแข่งขันที่สำคัญที่สุด จึงไม่ใช่การแข่งกีฬา หรือ การแก่งแย่งกันเอง แต่เป็นการแข่งขันที่มนุษยชาติต้องร่วมกันเป็นหนึ่ง ทำทุกวิถีทาง เพื่อเข้าเส้นชัย หยุดปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เร็วที่สุด โดยที่มีชีวิตเพื่อนมนุษย์ทุกคนเป็นเดิมพัน
01 ก.ค. 2024
การได้ไปเที่ยวยุโรป เปิดขวดเครื่องดื่มเย็นเจี๊ยบในวันที่อากาศร้อน นับเป็นหนึ่งในความสุขสดชื่นอีกแบบ แต่ในฤดูร้อนปีนี้ประสบการณ์ดื่มคงจะแตกต่างออกไป จากการกำหนดนโยบาย‘ลดโลกร้อน’และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของยุโรปครั้งใหม่ ที่จะมีผลเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2024 นี้European Green Deal คืออะไร ?ในเดือน ก.ค. 2021คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)มีแผนการทำงานเพื่อสนับสนุนให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2.0 องศาเซลเซียส ภายในศตวรรษนี้ และในปี 2050 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้เกิดเป็น‘European Green Deal’ หรือมาตรการลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 55 ในปี 2030 หรือFit for 55 Packageซึ่งเป็นร่างกฎหมายเพื่อรับรองเรื่อง- การปรับปรุงสิทธิการซื้อขายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก- การส่งเสริมการคมนาคมสีเขียวทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ- การกำหนดอัตราภาษีธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม- การกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน- การตั้งเป้าหมายการดูดซับก๊าซเรือนกระจก- และการออกมาตรการCBAM(Carbon Border Adjustment Mechanism)มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป คือการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป European Union (EU)EU Green Deal – EU-ASEAN (euinasean.eu)สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของ ‘ฝาขวดน้ำ’นโยบายดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุโรป ดังล่าสุดที่หลายประเทศกำลังบอกลาฝาขวดพลาสติกแบบเก่า และหันมาใช้ขวดน้ำที่มีฝาติดอยู่ ตามกฎของ European Green Deal ที่จะมีข้อบังคับในวันที่ 3 กรกฎาคม 2024 กำหนดให้เครื่องดื่มที่มีขนาดไม่เกิน 3 ลิตร ต้องใช้ฝาน้ำดื่มที่ติดอยู่กับตัวห่วงและขวดบรรจุภัณฑ์ (Tethered Caps)เพื่อลดการหลุดรอดไปยังสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสัตว์โดยโฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมสภาพภูมิอากาศและการสื่อสารแห่งไอร์แลนด์ กล่าวว่า“ฝาจํานวนมากถูกแยกออกจากขวดหลังการใช้งาน และฝาที่อยู่ในถังรีไซเคิลก็มักจะมีขนาดเล็กและเบาเกินไปสําหรับอุปกรณ์คัดแยกที่จะจัดการ และกลายเป็นขยะตกค้างไม่ได้นำไปรีไซเคิลในที่สุด”“รายงานจาก National Litter Pollution Monitoring System แสดงให้เห็นว่า ขยะจากฝาเครื่องดื่ม คิดเป็นประมาณ 15% ของขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนของฝาขวดน้ำ ที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกได้ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปนั้นมีอิสระในข้อกําหนดตนเอง ตราบใดที่ "ฝาปิดยังคงติดอยู่กับภาชนะในระหว่างใช้งาน ตามวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์"ดังนั้น หากคุณกำลังจะเดินทางไปท่องเที่ยวในแถบยุโรปช่วงเดือนกรกฎาคม คุณได้อาจเจอกับฝาพลาสติกรูปแบบใหม่ที่ติดอยู่กับขวด เป็นส่วนช่วยทำให้ขบวนการรีไซเคิลเกิดขึ้นได้ง่าย ลดอันตรายต่อสัตว์โลก และเป็นการลดโลกร้อนอีกทางหนึ่งอีกด้วย
13 มิ.ย. 2024
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มี “ชื่อ” เอาไว้เรียกกันและกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการวิจัยสัตว์ชนิดอื่น เช่น นกแก้ว หรือ ปลาโลมา เวลาจะเรียกเพื่อน จะต้องส่งเสียงเลียนแบบเสียงเอกลักษณ์ที่เพื่อนทำก่อน เพื่อเรียกความสนใจ แล้วค่อยสื่อสาร ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่การเรียกชื่อซะทีเดียวต่อยอดจากงานวิจัยนั้น ล่าสุด Mickey Pardo นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์จาก Cornell University ได้ลองศึกษาเสียงของช้าง สัตว์ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ และเป็นหนึ่งในสัตว์สังคมมากที่สุด พวกมันมักแสดงออกทางอารมณ์ เวลาเจอเพื่อน เจอพี่น้อง ครอบครัว หรือ แม้กระทั่งแสดงความดีใจ เมื่อได้เจอเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานานนักชีววิทยา เริ่มสังเกตจากการที่เวลาช้างส่งเสียง บางครั้งทั้งฝูงมีการตอบสนอง แต่บางครั้งเวลามันส่งเสียง มีเฉพาะบางตัว หรือ ตัวเดียวที่ตอบสนอง เลยทำให้มีการตั้งสมมุติฐานว่า ช้างสามารถเรียก ช้างอื่น แบบเฉพาะเจาะจงได้ จึงเริ่มทำการบันทึกเสียงช้างใน อุทยานแห่งชาติAmboseli National Park และ Samburu National Reserve ประเทศเคนยาMickeyใช้ AI วิเคราะห์เสียงเหล่านั้น เพื่อหาแพทเทิร์นของเสียง และหาชื่อช้าง และนำมาทดสอบโดยเปิดเสียงผ่านลำโพง และพบว่า ช้างบางตัว ตอบสนองต่อเฉพาะบางเสียงเท่านั้น ที่ความแม่นยำ 28%ซึ่งชื่อของช้าง ไม่ได้เป็น ชื่อเป็นคำๆ แบบที่มนุษย์เราใช้เรียกกัน แต่มันเป็นโทนเสียงฮัมต่ำ ที่คลื่นความถี่นี้ ได้ยินเฉพาะช้างกันเองเท่านั้นโดยเมื่อทำการทดลองพบว่า ช้างตอบสนองต่อเสียงช้างที่เฉพาะเจาะจงถึงมันมากกว่า เสียงที่ช้างสื่อสารกับกลุ่มทั่วไป หรือ พูดง่ายๆ ก็คือในเสียงนั้นมี “ชื่อ” ของมันอยู่นั่นเองเบื้องต้นนักชีววิทยาลัย ตั้งสมมุติฐานว่า ช้างอาจจะได้ชื่อมาจากแม่ของมันนั่นเอง ซึ่งทีมวิจัยหวังว่า การได้เรียนรู้ชื่อ ภาษา และการสื่อสารของช้าง จะนำไปสู่การปกป้อง และอนุรักษ์พันธุ์ช้างที่นับวันยิ่งใกล้การสูญพันธุ์ขึ้นไปทุกทีข้อมูล: Nature Ecology Evolution Journey, CBC-Canada
13 มิ.ย. 2024
รู้หรือไม่ว่า อากาศบริสุทธิ์ที่สัตว์โลกหายใจกันอยู่ ส่วนใหญ่ มากจากการสังเคราะห์แสงของพืชในทะเล มากกว่าป่าทั้งโลกรวมกันเสียอีกรายงานล่าสุดพบว่า ภาวะโลกเดือดกำลังคุกคาม แหล่งอาหาร และแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ของโลก เมื่อมาดูสถิติการจดบันทึก ล่าสุดอุณหภูมิผิวน้ำของอ่าวไทยตะวันออก เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 32.73⁰C ในเดือน พฤษภาคม 2024 ที่ผ่านมา อุณหภูมิใต้น้ำวัดได้ถึง 33⁰Cชาวประมงริมทะเลอ่าวไทย บอกว่า ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเจอปะการังฟอกขาวเยอะมากขนาดนี้ และทำให้จับสัตว์น้ำได้น้อยลง และเริ่มมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำลดลง ต้องออกไปหาปลาไกลขึ้น และ นานขึ้นกว่าปกตินักวิจัยทางทะเลได้สำรวจพบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวตั้งแต่กลางเดือน เมษาปีนี้ และเริ่มขยายแผ่เป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว พร้อมกับอุณหภูมิน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปะการังฟอกขาวโดยปะการังเกือบทุกชนิดที่ฟอก ปะการังส่วนใหญ่สีซีด 20-30% กำลงฟอกขาวอยู่ และ ปะการังบางส่วนเริ่มตายแล้ว“ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว คือ ภาวะที่ปะการังมีสีซีดจางลง จนมองเห็นเป็นสีขาว เป็นผลมาจากการสูญเสียสาหร่ายที่ชื่อว่า ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) สาหร่ายขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง ดํารงชีวิตอยู่ ร่วมกับปะการัง “แบบพึ่งพากัน”โดยสาหร่ายจะทําหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร ช่วยเร่งกระบวนการสร้างหินปูน รวมถึงการสร้างสีสันให้แก่ตัวปะการัง ส่วนปะการังก็ให้ที่อยู่”และจากสถิติโลกตอนนี้ พบว่าปะการัง 2 ใน 3 ของโลก กำลังเผชิญกับ ภาวะโลกเดือดที่คุกคามการอยู่รอดของปะการัง โดยเฉพาะในทะเลแอตแลนติก ปะการังฟอกขาวไปแล้วกว่า 99.7% ส่วนในอ่าวไทยของเรา ฟอกขาวไปแล้วกว่า 50%แม้ปะการังจะปกคลุมพื้นที่ใต้ทะเลน้อยกว่า 1% แต่มันเป็นบ้านของสัตว์น้ำ และรักษาสมดุลระบบนิเวศใต้ทะเล ที่พยุงมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 2.7 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ต่อปี ทั้งยังช่วยปกป้องชายฝั่ง จากพายุ และการเซาะกร่อนจากคลื่นทะเลในปี 2009 เคยมีการสำรวจว่าโลก ได้สูญเสียปะการังไปแล้ว กว่า 14% และ ในปี 2050 หรือ อีก 26 ปีข้างหน้า 90% ของปะการังที่เรามีอยู่จะหายไปหมดสิ้นนอกจากนี้ WHO ยังออกมาเตือนเรื่องภาวะโลกเดือด ล่าสุด มนุษยชาติได้เข้าสู่ ภาวะโลกเดือด อุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่ ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี คศ.1850) เป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันแล้ว (มิย 2023 - พค. 2024)หนทางเดียวที่จะช่วยชีวิตปะการังไว้ได้ คือ การช่วยการลดโลกร้อน และแม้จะมีความพยายามสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึง สตาร์ทอัพ กว่า 1,000แห่ง ขึ้นมาเพื่อช่วยลดโลกร้อน ภายในปี 2030 ปัญหาคือ แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เราจะช่วยโลกได้ทันมั้ย ถ้าต้นตอปัญหายังไม่เคยลดลงเลยข้อมูล: WEF , WHO
Artist: เจมีไนน์ นรวิชญ์ (Gemini Norawit) โฟร์ท ณัฐวรรธน์