นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์พบว่า “ช้างมีชื่อเรียกกันเอง”

GREEN HEART

นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์พบว่า “ช้างมีชื่อเรียกกันเอง”

14 มิ.ย. 2024

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มี “ชื่อ” เอาไว้เรียกกันและกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการวิจัยสัตว์ชนิดอื่น เช่น นกแก้ว หรือ ปลาโลมา เวลาจะเรียกเพื่อน จะต้องส่งเสียงเลียนแบบเสียงเอกลักษณ์ที่เพื่อนทำก่อน  เพื่อเรียกความสนใจ แล้วค่อยสื่อสาร ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่การเรียกชื่อซะทีเดียว 


 

ต่อยอดจากงานวิจัยนั้น ล่าสุด Mickey Pardo นักศึกษาพฤติกรรมสัตว์จาก Cornell University  ได้ลองศึกษาเสียงของช้าง สัตว์ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ และเป็นหนึ่งในสัตว์สังคมมากที่สุด พวกมันมักแสดงออกทางอารมณ์ เวลาเจอเพื่อน เจอพี่น้อง ครอบครัว หรือ แม้กระทั่งแสดงความดีใจ เมื่อได้เจอเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานาน


 

นักชีววิทยา เริ่มสังเกตจากการที่เวลาช้างส่งเสียง บางครั้งทั้งฝูงมีการตอบสนอง แต่บางครั้งเวลามันส่งเสียง มีเฉพาะบางตัว หรือ ตัวเดียวที่ตอบสนอง เลยทำให้มีการตั้งสมมุติฐานว่า ช้างสามารถเรียก ช้างอื่น แบบเฉพาะเจาะจงได้  จึงเริ่มทำการบันทึกเสียงช้างใน อุทยานแห่งชาติAmboseli National Park และ Samburu National Reserve ประเทศเคนยา


 

Mickeyใช้ AI วิเคราะห์เสียงเหล่านั้น เพื่อหาแพทเทิร์นของเสียง และหาชื่อช้าง และนำมาทดสอบโดยเปิดเสียงผ่านลำโพง และพบว่า ช้างบางตัว ตอบสนองต่อเฉพาะบางเสียงเท่านั้น ที่ความแม่นยำ 28%


 

ซึ่งชื่อของช้าง ไม่ได้เป็น ชื่อเป็นคำๆ แบบที่มนุษย์เราใช้เรียกกัน แต่มันเป็นโทนเสียงฮัมต่ำ ที่คลื่นความถี่นี้ ได้ยินเฉพาะช้างกันเองเท่านั้น  


 

โดยเมื่อทำการทดลองพบว่า ช้างตอบสนองต่อเสียงช้างที่เฉพาะเจาะจงถึงมันมากกว่า เสียงที่ช้างสื่อสารกับกลุ่มทั่วไป หรือ พูดง่ายๆ ก็คือในเสียงนั้นมี “ชื่อ” ของมันอยู่นั่นเอง


 

เบื้องต้นนักชีววิทยาลัย ตั้งสมมุติฐานว่า ช้างอาจจะได้ชื่อมาจากแม่ของมันนั่นเอง ซึ่งทีมวิจัยหวังว่า การได้เรียนรู้ชื่อ ภาษา และการสื่อสารของช้าง จะนำไปสู่การปกป้อง และอนุรักษ์พันธุ์ช้างที่นับวันยิ่งใกล้การสูญพันธุ์ขึ้นไปทุกที

 

ข้อมูล: Nature Ecology & Evolution Journey, CBC-Canada

album

0
0.8
1