ทั่วโลกมีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 50 ล้านคนต่อปี มีผู้เสียชีวิตจาก กว่า 1.19 ล้านคนต่อปี
และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ของผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 5-29 ปี
นอกจากนี้ จากสถิติยังพบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิต คือคนเดินถนน คนขี่จักรยาน และ ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์
92% ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน มาจากประเทศกำลังพัฒนา ทั้งๆที่ ประเทศกำลังพัฒนา มีจำนวนรถเพียง 60% ของทั้งโลก
ประเทศไทยเองก็มีการเก็บสถิติ ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทุกวัน เฉลี่ยวันละหลายสิบราย และ บาดเจ็บเฉลี่ยวันละ 2 พันกว่าคน
โดดช่วงเวลาที่มีคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด คือ ช่วง 17.00-21.00 น. โดยผู้เสียชีวิต 75% เป็นเพศชาย และ ยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุ 82% คือ มอเตอร์ไซค์ และจังหวัดที่มีอุบัติเหตุลำดับต้นๆได้แก่ กรุงเทพ ชลบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่
จากข้อมูลในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุท้องถนน ปีละ 17,000 คน และ มีผู้พิการจากอุบัติเหตุกว่า 15,000 คน สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 แสนล้านบาท
ซึ่ง UN ได้ออกมารณรงค์ เรียกร้องเป็น ทศวรรษที่ 2 ให้ทุกคนใส่ใจ เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน เช่นการใส่หมวกกันน็อค การไม่ขับขี่ขณะมึนเมา หรือ แม้แต่การคาดเข็มขัดนิรภัย ที่ลดอัตราการเสียชีวิตได้มากถึง 50%
และยังพบว่าพฤติกรรมคนขับรถ ที่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เพิ่มความเสี่ยงอุบัติเหตุขึ้น 4 เท่า
นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ภาครัฐของทุกประเทศ ช่วยกันปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมขนส่ง และ กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อเป้าหมายการลดอุบัติเหตุลงให้ได้ครึ่งนึง ภายในปี 2030
พวกเราในฐานะผู้ขับขี่รถยนต์บนท้องถนน สิ่งที่พอจะควบคุมได้ หากเพียงผู้ขับขี่ยานพาหนะ เคารพกฏจราจร ไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัย และมีสติขณะขับขี่ หรือ ขณะใช้ท้องถนนอยู่เสมอ ก็จะสามารถลดเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นลงไปได้มากแล้ว
ข้อมูลจาก :
WEF
มูลนิธิเมาไม่ขับ