
11 เม.ย. 2025
หนูอายุ 19 แต่น้องชายหนูที่บ้านตามใจทุกเรื่อง แฟนก็มีได้ แต่หนูที่บ้านห้ามไม่ให้มี รู้สึกว่าไม่มีความเท่าเทียมเลย ความเท่าเทียมควรเริ่มต้นจากที่บ้านรึเปล่า? พอหนูถามไปผู้ใหญ่ที่บ้านก็ว่า Toxic ที่หนูคิดมันผิดมากเลยหรอคะ
“คุณเอ (นามสมมติ)” อายุ 18 ปี สายที่สามในรายการ พุธทอล์ค พุธโทร เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา [9 เม.ย. 68] ได้โทรเข้ามาปรึกษา “ดีเจเผือก - ดีเจเติ้ล – ดีเจต้นหอม” เกี่ยวกับปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในครอบครัว โดย “คุณเอ (นามสมมุติ)” ได้เล่าว่า ‘หนูไม่รู้ว่านิสัยเด็ก Gen Z เเบบหนูเรียกว่า Toxic รึป่าว หนูมีน้องชายเเท้ๆ อายุ 17 ปี อยู่ด้วยกัน แต่หนูก็มีความรู้สึกว่าคนทั้งบ้าน รัก เเละเอ็นดูน้องชายมากกว่าตัวหนู ตอนเเรกหนูไม่ได้สังเกต จนตอนที่เพื่อนหนูมาที่บ้านและถามว่า ทำไมรู้สึกว่าน้ามึงพูดกับน้องอย่างนึง พูดกับมึงอีกอย่าง ทั้งน้ำเสียงเเละคำพูด ท่าทาง ตอนเเรกหนูก็ไม่ได้คิดว่าจริงรึป่าว เเต่พอมานึกดูดีๆ บางอย่างก็จริงอย่างที่เพื่อนบอก จนหนูก็ลองสังเกตดู เเละเห็นว่าสิ่งที่น้องได้รับเเละหนูได้รับมันก็ต่างกัน เลยมีความรู้สึกน้อยใจ ไม่เท่าเทียมว่าทำไมน้องของหนูถึงมีสิทธิ์ทำอะไรได้มากกว่าหนู เช่น อิสระเรื่องความรัก เเละอีกหลายอย่าง ด้วยความที่บ้านของหนูเป็นเชื้อสายจีนเลยอาจจะเอ็นดูเด็กผู้ชายมากกว่า เวลาน้องหนูจะไปไหน ไปกับสาว ไปกับเเฟนเขาก็จะบอกที่บ้านตรงๆ เเต่พอเป็นหนู หนูไม่สามารถที่จะบอกเเบบนั้นได้เหมือนน้อง เพราะเวลาบอกไป เขาจะทำท่าทางไม่พอใจ และด้วยความที่น้องหนูเรียนโรงเรียนประจำห่างจากบ้าน ทำให้เวลาเสาร์ - อาทิตย์ น้องของหนูจะไปกรุงเทพ ไปเที่ยว เขาก็ไปได้ เเต่พอเป็นหนูที่ขอเขาไปอำเภอใกล้เคียง เขาก็จะถามมาเลยว่า กลับกี่โมง ไปกับใคร สมมติหนูบอกว่าจะกลับบ้านตอนเที่ยง สิบเอ็ดโมงครึ่ง เขาก็จะโทรมาตามหนูเเล้วว่า อยู่ไหนเเล้ว มันเลยทำให้หนูเกิดความอึดอัด เเล้วค้างคาใจ พอมีวันหนึ่งที่หนูมาหาเเม่ที่บ้าน เเล้วนั่งกินข้าวกัน 3 คน มีเเม่ น้องชาย แล้วก็หนู เเม่ก็เปิดประเด็นว่า ถ้าคราวหน้าน้องชายหนูจะพาเเฟนมานอนที่บ้านด้วยก็ได้ หนูเลยเเกล้งๆพูดไปว่า หนูทำบ้าง เเม่ของหนูก็พูดขึ้นมาเลยว่า ถ้าเป็นหนูต้องรอจนกว่าจะขึ้นมหาลัยก่อน หนูเลยไม่พอใจ เเล้วถามว่า เเล้วน้องหนูมีสิทธ์อะไรมากกว่าหนูถึงทำได้ อายุก็ไล่เลี่ยกัน เเม่ก็เลยบอกว่า ผู้ชาย กับ ผู้หญิง มันไม่เท่าเทียมกัน เกิดว่าหนูไปนอนบ้านเเฟนเเล้วพลาดท้อง ผู้หญิงอนาคตก็คือจบไปเลย เเต่ผู้ชายก็ยังไปเรียนต่อได้หรือว่าทำอะไรได้มากกว่าหนู อาจจะเพราะเเม่มีลูกตั้งเเต่ยังเด็กเลยทำให้เป็นห่วงหนู และสังคมรอบตัวหนู เพื่อนๆของหนูก็ท้อง มีลูกกันหมดแล้วด้วย หลังจากที่ทะเลาะกับเเม่เสร็จ น้องชายหนูก็เอาเรื่องนี้ไปฟ้องน้า เขาเลยอธิบายว่าทำไมเเม่ถึงพูดว่าไม่เท่าเทียม พยายามที่จะทำให้หนูเข้าใจ เเต่หนูก็คิดว่า ถึงหนูจะเป็นผู้หญิงเเต่หนูก็รับผิดชอบตัวเองได้ ไม่ต้องทำให้ใครเป็นห่วงเหมือนกับน้องชาย เเต่หนูยิ่งพูดก็เหมือนน้าจะยิ่งไม่เข้าใจ เขาบอกว่ายังไม่ถึงเวลา หนูก็เลยยิ่งสงสัยว่าทำไมน้องหนูเขาถึงทำได้ สุดท้ายหนูก็ได้ไปพูดกับเเม่ว่า ถ้าเเม่รู้สึกผู้หญิงกับผู้ชายไม่เท่าเทียมกัน เเม่ก็อย่าเเสดงออกเเบบนี้ได้ไหม ถ้าเเม่ไม่ให้หนูทำ ก็ต้องห้ามน้องทำเหมือนกัน พอหนูพูดไปเเบบนี้ เเม่เขาก็พูดสวนกลับมาว่า หนูเป็นลูก หนูมีสิทธิ์อะไรที่จะไปสั่งเขาเเบบนั้น ก็เลยทะเลาะกันใหญ่โต น้าเลยต้องเข้ามาคุยด้วย เเต่หนูก็ยังมีคำถามในหัวว่า ทำไม! ทำไม! หนูเลยไม่ได้คุยกับเเม่ ส่วนน้องชายก็มาเยาะเย้ย ซ้ำเติม ทำให้หนูรู้สึกว่าตอนนั้นไม่เหลือใครเลย เพราะน้าหนูก็เหมือนจะไม่เข้าใจตัวหนูเลย เเล้วบอกว่าหนู Toxic บอกให้หนูลองย้อนมามองตัวเองบ้าง เเละใน 2 เดือนที่หนูทะเลาะกับที่บ้าน ที่มี ลุง ป้า น้า น้องชาย ในบ้านไม่มีใครคุยกับหนูเลย พอหนูกลับไปเล่าเรื่องนี้ให้เเม่ฟัง เเม่ก็ถามว่า ให้หนูมาอยู่กับเเม่ไหม เเต่ป้าก็เหมือนจะไม่อยากให้ไป เพราะเเม่หนูไม่สามารถซัพพอร์ตเรื่องค่าใช้จ่ายให้หนูได้ จนตอนนี้พอน้าได้มาคุยกับหนู เขาบอกว่า เขาไม่สามารถเอ็นดูหนูได้เหมือนเมื่อก่อน เพราะทิฐิที่หนูมีกับคนในบ้านมันมากเกินไป หนูเลยอยากปรึกษาพี่ๆ ดีเจว่า หนูผิดไหมที่หนูทิฐิกับคนในบ้านมากเกินไป เเละ ความเท่าเทียมมันควรเริ่มจากคนในบ้านรึป่าว?’ เริ่มที่ “ดีเจเผือก” ได้ให้คำปรึกษาว่า ‘มันยากมากที่จะทำให้คนที่มีอายุต่างกัน มองในมุมกันเเละกัน พวกพี่ที่นั่งกันตรงนี้ก็มีลูก เเละหลาน การพยายามปรับตัวเรื่องการสื่อสาร หรือมุมมอง คำเดียวที่พี่จะบอกเอได้ คือในวันที่เอมีลูก เอจะเข้าใจเพราะฉะนั้น ณ วันนี้เอรู้สึกไม่เเฟร์ เออาจจะต้องอดทนเพราะอีกนิดเดียวเอก็จะเข้ามหาลัย มีชีวิตเป็นของตัวเองเเล้ว เพราะเราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนความคิดของคนที่มีอายุห่างกันเยอะๆได้อยู่เเล้ว เพราะงั้นอีกนิดเดียว เอก็จะได้กำหนดชีวิตตัวเองเเล้ว ใช้ชีวิตให้มันดี’ ต่อมา “ดีเจเติ้ล” ได้ให้คำปรึกษาว่า ‘พี่ว่าน้องเอเป็นตัวเเทนของเด็กหลายๆบ้านที่มีความคิดเเบบเดียวกัน เเละที่น้องเอถามว่า เพศสภาพ ควรเริ่มที่จะเท่าเทียมกันตั้งเเต่ในครอบครัวรึเปล่า อันนี้พี่เห็นด้วย เเต่ความเท่าเทียมในสังคมเป็นเรื่องที่ยากมากในบางประเทศ ผู้หญิงยังไม่มีสิทธิ์ได้รับการศึกษาเลย เพราะฉะนั้นพี่รู้สึกดีที่น้องเอ เข้าใจถึงข้อนี้ เเต่สำหรับเรื่องที่บ้านของน้องเอ พี่ว่าเขารักน้องเอเเหละ เเต่อาจจะสื่อสารไม่ดี เเละที่เขาเข้มงวดกับเอ เพราะเขามองเห็นว่าเอเป็นผู้หญิงเลยอาจจะดูเเลตัวเองได้ไม่ดีเท่ากับน้องชายตัวเอง เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงกว่า มีพันธะมากกว่า เพราะงั้นเออาจจะลองมองในมุมว่าเขาเข้มงวด เพราะเขาเป็นห่วงเรา ลองหาความสุขในบ้านหลังนี้จนกว่าเอจะย้ายออกจากบ้านไปใช้ชีวิตของตัวเอง น้อยใจเรื่องเพศสภาพได้ เเต่อย่าน้อยใจว่าเขาไม่รักเรา พิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเราดูเเลตัวเองได้’ สุดท้าย “ดีเจต้นหอม” ได้ให้คำปรึกษาว่า ‘เอมีทางเลือกอยู่อย่างเดียวคือ พิสูจน์ตัวเอง ทำในสิ่งที่ที่บ้านทำไม่ได้ เอาชนะในเรื่องความสำเร็จ ไม่ใช่เอาชนะในเรื่องคำพูด เมื่อเราทำงานได้ หาเงินได้ นั่นเเหละคือตอนที่เราจะมีอิสระจากครอบครัว อย่าเกลียดคนในบ้านเช่น ป้า น้า น้องชาย เพราะสุดท้ายทุกคนก็คือครอบครัวของเอ อาจจะไม่ต้องใช้เหตุผลคุยกัน เพราะทั้งเหตุผลของเอ เเละเหตุผลของครอบครัว ทั้งคู่เป็นเหตุผลที่ถูก ไม่ได้ผิด เเต่เเค่ต่างมุมมองกัน’เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไร สามารถติดตามชมใครมีปัญหาอยากโทรเข้ามาในรายการ Inbox ฝากเรื่องมาที่ Facebook Fanpage EFM STATIONรับชมรายการสดได้ทุกวันพุธ เวลา 21.00-23.00 น. ทางรายการวิทยุ EFM94 และ App Atime Fung Fin