หนอนนกยักษ์ทางออกขยะพลาสติก

GREEN HEART

หนอนนกยักษ์ทางออกขยะพลาสติก

05 มี.ค. 2024

 

พลาสติก เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และเคยหยิบจับกันอยู่แทบทุกวัน ทั้งถุงพลาสติก ขวดน้ำ แก้วน้ำ หลอด หรือแม้แต่กล่องข้าว ก็ล้วนแล้วแต่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น พลาสติกเป็นวัสดุที่นำมาใช้งานได้กว้าง และหลากหลาย สามารถทำให้อ่อนนุ่ม เหนียว ยืดหยุ่น หรือจะทำให้แข็งแรง คงทน ถึงขนาดเป็นชิ้นส่วนของยานอวกาศได้เลยทีเดียว

 

พลาสติก คืออะไร

พลาสติก จัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการ พอลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerization) โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก เช่น  เอธิลีน (Ethylene) , พรอพพิลีน (Propylene) เป็นต้น

 

เมื่อพลาสติกโดนความร้อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

“เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting)” พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้

“เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ คือ“เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

ปัญหาการจำกัดขยะพลาสติกในปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งเกิดจาก พลาสติกเป็นวัสดุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 500 - 650 ปี หรือพูดกันง่ายๆว่า ถุงพลาสติกที่เราใช้ในวันนี้ มีอายุยืนยาวกว่าตัวเราเองจนถึงรุ่นหลานของเราเลยทีเดียว อีกทั้งหากจะนำขยะพลาติกไปรีไซเคิล เป็นปุ๋ยชีวภาพ  หรือแปลเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ก็จำเป็นต้องใช้ทั้งพลังงานแถมผลที่ได้มานั้น หากทำไม่ถูกวิธี ขยะพลาสติก ก็จะแปลเปลี่ยนเป็น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดินอีกด้วย

ปัญหาของขยะพลาสติกไม่ใช่แค่การย่อยสลายที่ใช้เวลานาน หรือกำจัดยาก แต่ยังมีเรื่องของปริมาณที่เยอะขึ้นทุกวัน ทุกที่ และทุกเวลา หากเราลองคิดกันง่ายๆ ว่าใน 1 วัน เราทิ้ง 1 ชิ้น ต่อ 1 คน ประเทศไทยเรานั้นก็จะเกิด ขยะวันละ 66.9 ล้านชิ้นต่อวันเลยทีเดียว

ประเทศไทยเรานั้นมีขยะพลาสติกเกิดขึ้น โดยเฉลี่ยปีละ  2 ล้านตัน แต่กลับนำมาใช้ประโยชน์ได้แค่เพียง  0.5 ล้านตันต่อปี ขยะในส่วนที่เหลือนั้น มักเป็นขยะที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เช่น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นผลเสียที่จะกลายเป็นมลพิษต่อโลกไปนี้ต่อไป

แล้วเราจะมีทางไหนไหมนะ? 

ที่จะย่อยสลายพลาสติกได้เป็นอย่างดีไม่เกิดมลพิษต่อระบบนิเวศ

 

มารู้จักกับ “หนอนยักษ์” ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้

 

หนอนยักษ์คืออะไร ?

โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หนอนนกยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม (superworm) สามารถ ใช้ชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกโพลิสไตรีน polystyrene เป็นอาหาร เพราะเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกซูเปอร์หนอน สามารถย่อยสลายได้

หนอนนกยักษ์  มีการแพร่กระจายทั่วทุกแห่งในอเมริกากลาง ในบางพื้นที่ ของอเมริกาใต้ และพบมากทางตะวันตกของหมู่เกาะอินดีส (Indies) และแม็คซิโก (Mexico) โดยมี มูลค้างคาวและเศษซากพืชซากสัตว์ในธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือมีการอยู่รวมกันใต้เปลือก ของต้นไม้ที่ตายแล้วและเมื่อโตเต็มไว จะกลายเป็นด้วงปีกแข็งสีด

 

เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาของเจ้า หนอนนกยักษ์ นี้กันอยู่แทบตลอดเวลา เพราะมันมักจะกลายเป็น อาหารของ นก กิ่งก่า และสัตว์ฟันแทะ ในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ มักนิยมนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพราะมีโปรตีนที่สูง และขนาดตัวที่พอเหมาะ

 

ย่อยขยะได้อย่างไร ?

จากการทดลอง และวิจัยพบว่าเจ้าหนอนนกยักษ์นี้ สามารถกัดกินและย่อยสลาย พอลิสไตรีน (polystyrene) 
และสไตรีน (styrene) ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของพลาสติกที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิต ถุงพลาสติก หลอด โฟม และอีกมากมาย อีกทั้งยังค้นพบเอนไซม์หลายตัวในลำไส้ของหนอนเหล่านี้ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายพลาสติก นอกจากนั้นไม่ใช่แค่การย่อยสลายเพียงอย่างเดียว เจ้าหนอนนกยักษ์นี้ ยังสามารถแปรเปลี่ยนพลาสติกเป็นพลังงานที่เลี้ยงชีพตนได้ แต่เจ้าหนอนที่กินพลาสติกเป็นประจำนั้นก็ไม่ได้มีสุขภาพที่ดีซักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับหนอนที่กินอาหารที่เหมาะสมอย่าง รำข้าว

                               

แนวทางการศึกษาการกำจัดดขยะในอนาคต

ในปัจุบันมีหลายองค์กร ที่พยายามวิจัยวิธีที่สามารถกำจัดขยะพลาสติกได้อย่างดีเพื่อแก้ปัญหามลพิษขยะพลาสติกล้นโลก และเจ้าหนอนนกยักษ์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะสามารถแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืน  เพราะสามารถย่อยสลายพลาสติกได้อย่างดีไม่มีพิษตกค้างหรือมลพิษพลาสติกหลงเหลือ

ที่ยั่งยืนไปมากกว่านั้นคือ ไม่ใช่แค่การหาวิธีในการสกัดหาเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายได้ หรือการทำฟามหนอนนกยักษ์เพื่อย่อยสลายเพียงอย่างเดียว แต่เหล่านักวิจัยกำลังพยายามหาเอนไซม์ ที่จะเป็นตัวตั้งตนในการผลิตสารพิเศษที่จะผสมลงไปในตัวเนื้อพลาสติก เพื่อเร่งระยะเวลาในการย่อยสลายพลาสติกจาก 500 ปี ให้เหลือเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น

 

Author : สิริชัย จันทร์เจริญ

 

ข้อมูลจาก

https://maitreeplastic.com/types-of-plastics/#%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81_Plastic_%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

http://env_data.onep.go.th/blogs/subject/view/11

https://www.ipst.ac.th/knowledge/17182/plastic-waste.html

https://www.bbc.com/thai/international-61763694

http://env_data.onep.go.th/blogs/subject/view/11

https://www.tcr-plastic.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81Plastic_%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86
https://entomophagy.fandom.com/wiki/Zophobas_morio

album

0
0.8
1