นักวิจัยนำน้ำดื่มจาก ซุปเปอร์มาเก็ต ไม่ระบุนาม 3 ที่ มาศึกษา พบว่าในน้ำดื่มขนาด 1 ลิตร อาจมีอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กกว่า 240,000 ชิ้น
ซึ่งอนุภาคพลาสติกเหล่านี้ มาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมประมง และขยะในครัวเรือน ซึ่งพวกมันมีขนาด 1 ไมโครเมตร - 5 มิลลิเมตร
เคยมีงานวิจัยอื่นๆ ที่ระบุว่า ไมโครพลาสติกอาจเป็นพาหะของเชื้อโรค และ สารอนุมูลอิสระต่าง ๆ ด้วย สิ่งที่น่ากังวลคือ อนุภาคที่เล็กกว่า 1 โมโครเมตร เรียกว่า “นาโนพลาสติก” อาจมีอันตรายต่อร่างกายกว่า เพราะสามารถดูดซึมทะลุผ่าน ผนังลำไส้ ถุงน้ำคร่ำ หรือ แม้แต่เยื่อบุสมองได้
อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่มาจากตัวขวดเอง (PET) ซึ่งมีอนุภาคเล็กกว่าหนึ่งไมครอน จาการทดลองมีการใช้ตัวอย่าง 6 ตัวอย่าง และพบว่ามีอนุภาคพลาสติกโดยเฉลี่ย ประมาณ 240,000 หน่วย
โดยร้อยละ 90 ของอนุภาคพลาสติกที่พบ เป็นนาโนพลาสติก และส่วนที่เหลือเป็นไมโครพลาสติก โดยอนุภาคนาโนมีขนาดเล็กว่าเส้นผม จึงมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ความสำเร็จในการค้นพบ นาโนพลาสติกในครั้งนี้จะเป็น การพัฒนาก้าวต่อไปเพื่อศึกษาว่า อนุภาคพลาสติกเหล่านี้ มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต
ซึ่งความหวังของการลดการปนเปื้อนของอนุภาคพลาสติก คือการลดการสร้างขยะ ในครั้งหน้า เราจะชวนคุณไปทำความรู้จัก โครงการลดการสร้างขยะขวดพลาสติก ด้วยการพกขวดเติมน้ำเป็นของตัวเองกัน
.
ข้อมูลจาก https://www.newscientist.com/article/2411329-there-can-be-240000-plastic-particles-in-a-litre-bottle-of-water/?fbclid=IwAR1IinVhihkxAejssAdyBigfL4JKjpBOJgTNLn1WzREL_6FuszbAAg9LKgI