รวมสินค้าทำลายสิ่งแวดล้อมที่โลกแบน

ENTERTAINMENT NEWS

รวมสินค้าทำลายสิ่งแวดล้อมที่โลกแบน

03 พ.ค. 2023

ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนถึงปัจจุบัน อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไปแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส โดยข้อตกลงของนานาชาติ ในสนธิสัญญาปารีส กำหนดว่าอุณหภูมิโลกเรา ไม่ควรสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส โดยกำหนดเป้าวิกฤตไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส  เป็นที่มาของมาตรการ และ ทิศทางการบริโภคที่เปลี่ยนไป และต่อไปนี้คือ ส่วนหนึ่งของรายการของใช้ต่างๆ ที่แต่ละประเทศเริ่มแบน เพื่อรักษาสมดุลย์ของโลก

 

กระดาษทิชชู่เปียก

ซึ่งก็คือ ผ้าใยสังเคราะห์จากพลาสติก โพลีเอสเตอร์  อุดตันทางระบายน้ำ ใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า 100 ปี และกลายเป็นไมโครพลาสติก ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายแบนการใช้ ปี 2024

 

กาแฟแคปซูล

ทำจากวัสดุหลายชนิด รีไซเคิลยาก  เริ่มแบนแล้ว ที่เยอรมัน

 

ขวดน้ำพลาสติกขนาดเล็กกว่า 1 ลิตร

เริ่มถูกทยอยแบน ห้ามใช้ ห้ามขายในหลายสถานที่ และหลายรัฐใน อเมริกา บางรัฐเริ่มประกาศออกมาเป็นกฎหมายแล้ว

 

ถุงหิ้วพลาสติก

แบนถาวรในบังกลาเทศ เพราะอุดตันท่อ สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

หลอดพลาสติก สำลีก้านพลาสติก ที่คนเครื่องดื่มพลาสติก

โดนแบนใน ร้านอาหาร ในอังกฤษ และ ไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2020

 

ช้อน ส้อม ชาม ถาด บรรจุภัณฑ์อาหาร ก้านไม้ลูกโป่ง พลาสติกใช้ครั้งเดียว

ของเหล่านี้ใช้เวลาย่อยในสิ่งแวดล้อม กว่า 200 ปี  เตรียมถูกแบนที่อังกฤษ

ส่วนที่ใต้หวัน เพิ่มพลาสติกที่ย่อยสลายในธรรมชาติ เข้าไปในกลุ่มพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และจะแบนตั้งแต่ สิงหาคม 2023 นี้เป็นต้นไป

 

รถใช้แก๊ส หรือ น้ำมัน

จีนตั้งเป้าลดการใช้รถแก๊ส/น้ำมันลง 50% ในปี 2035

อังกฤษงดการจำหน่ายในปี 2030 เป็นต้นไป

นอร์เวย์ งดการจำหน่ายในปี 2025

สิงคโปร์ งดจดทะเบียนรถแก๊ส/น้ำมัน ในปี 2030 และ เป็นรถไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2040

 

สินค้าที่มาจากการทำลายป่า

เช่น กาแฟ ถั่วเหลือง โกโก้ น้ำมันปาล์ม ไม้สัก ยาง สหภาพยุโรปเริ่มแบนผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้ว ตั้งแต่ปี 2020

 

ของใช้ส่วนตัวในโรงแรม

ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเช่น ขวดแชมพู สบู่ โลชั่นขนาดต่ำกว่า 180 ml รองเท้าแตะ มีดโกน หวี แปรงสีฟัน จะไม่มีแจกในโรงแรมไต้หวัน เริ่ม 1 กค. 2023

 

ส่วนประเทศไทย จริง ๆ เรามีการอนุมัติแผน ลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก เตรียมประกาศห้ามใช้ พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ 
โฟม ถุงหิ้ว แก้ว และหลอดพลาสติก แบบเด็ดขาดตั้งแต่ปี 2565 พร้อมตั้งเป้าให้พลาสติกอีก 7 ชนิด เข้าสู่ระบบเศรษกิจหมุนเวียนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% แต่ก็ยังไม่เห็นการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

 

ในฐานะผู้บริโภค และผู้ประกอบธุรกิจ อย่างเรา สามารถเลือกบริโภค ลด งด สินค้าทำลายสิ่งแวดล้อมทุกชนิดได้เองเลย ตามความพร้อม เพราะถ้าจะรอภาครัฐมาบังคับใช้ กฎหมาย น่าจะอีกนาน

related ENTERTAINMENT NEWS

“โปรตีนเกือบทั้งหมด ปนเปื้อนไมโครพลาสติก เกือบ 90%”

22 ม.ค. 2024

“โปรตีนเกือบทั้งหมด ปนเปื้อนไมโครพลาสติก เกือบ 90%”

“โปรตีนเกือบทั้งหมด ปนเปื้อนไมโครพลาสติก เกือบ 90%”อาหารทะเล เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เต้าหู้ และ เนื้อเทียมจากพืช ทั้งหมด 16 ตัวอย่าง ถูกนำมาศึกษา โดย Ocean Conservancy หน่วยงานอนุรักษ์ทะเล และ มหาวิทยาลัยโตรอนโต้ เผยในวารสารมลพิษสิ่งแวดล้อม พบว่า 88% ของโปรตีนทั้งหมดที่ทดสอบ มีไมโครพลาสติกเป็นการยืนยันว่า ไม่ว่าเราจะกินสัตว์จากในทะเล หรือ บนบก เรามีความเสี่ยงได้รับโมโครพลาสติกผ่านอาหารพอๆกันยิ่งอาหารผ่านขั้นตอนกระบวนการต่างๆมาก ยิ่งมีโมโครพลาสติกมาก แต่อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนไมโครพลาสติกยังมาจากแหล่งอื่นๆได้อีกด้วยมีการประมาณการว่า คนอเมริกัน รับไมโครพลาสติกโดยเฉลี่ยปีละ 11,500 หน่วยต่อปี แต่อาจะไปมากถึง 3.8ล้านหน่วยต่อปีเลยก็ได้เราสามารถช่วยกันลด ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการ ลดการใช้พลาสติกเท่านั้น เพราะการ ฝัง เผา รีไซเคิล แยกขยะ ไม่ใช่คำตอบ‘ขอแนะนำวิธีแรก ลดการสร้างขยะขวดพลาสติก กับ โครงการ Bottle Free Seas’โครงการลดใช้ขวดพลาสติกกับ มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Justice Foundation Thailand (EJF) เป็นองค์กรเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล และเป็นตั้งตัวตีในการผลักดันโครงการ Bottle Free Seas (BFS) ร่วมกับ กทม. มุ่งหวังลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และตั้งจุดกดน้ำที่สะอาด ปลอดภัยในที่สาธารณะ ของกรุงเทพมหานครคุณมีส่วนช่วยได้อย่างไร• เป็นผู้ใช้บริการ เอาขวดน้ำไปเติม ลดการสร้างขยะ• เป็นอาสาสมัครช่วยปักหมุดจุดเติมน้ำดื่มขณะนี้ทีม Bottle Free Seas กำลังจัดทำแผนที่ และสำรวจพื้นที่อื่นๆ เพื่อติดตั้งจุดเติมน้ำดื่มเพิ่มเติม เช่น หอศิลป์ กรุงเทพฯ สวนเบญจสิริ สวนรถไฟ ศาลาว่าการ กทม. ฯลฯจึงเชิญชวนทุกคนมาเป็นอาสาสมัครช่วยปักหมุดจุดเติมน้ำดื่มสาธารณะเพื่อทำเป็นแผนที่ให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพมหานครร่วมกันช่วยปักหมุดจุดเติมน้ำดื่มใครเจอจุดให้บริการน้ำดื่มสาธารณะที่สะอาด น่าใช้ หรือเป็นเจ้าของจุดเติมน้ำ และอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯสามารถกรอกข้อมูลจุดเติมน้ำดื่มได้ที่ https://bit.ly/bkkwaterstation ทีมงาน Bottle Free Seas จะไปทำงานการสำรวจก่อนจะนำขึ้นแผนที่เปิดพิกัดจุดเติมน้ำฟรีทั่วกทม.ได้ที่นี่เลย :https://ejf.shorthandstories.com/bottle-free-seas-refill-station-page/index.htmlแหล่งข้อมูล:https://oceanconservancy.org/news/its-not-just-seafood-new-study-finds-microplastics-in-nearly-90-of-proteins-sampled-including-plant-based-meat-alternatives/https://www.facebook.com/EJFThailand

สุดเจ๋ง ของเล่นแมวจากผักตบชวา จากแนวคิดนักศึกษาสู่ธุรกิจเพื่อชุมชน

27 เม.ย. 2024

สุดเจ๋ง ของเล่นแมวจากผักตบชวา จากแนวคิดนักศึกษาสู่ธุรกิจเพื่อชุมชน

ผักตบชวา หรือ Eichhornia crassipes (Mart.) Solms มีชื่อสามัญว่าLilac devil หรือ Water hyacinth เป็นอีกหนึ่งวัชพืชน้ำ ที่รุกล้ำแม่น้ำไทยมาอย่างยาวนาน สร้างปัญหาในหลายแง่มุม ไม่ว่าทั้งต่อชุมชน หรือต่อภาคคมนาคมของประเทศ ทั้งปัญหาน้ำท่วมโดยมีสาเหตุมาจากผักตบชวาอุดตันทางไหลของน้ำ เป็นส่วนนึงที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในเมือง ขยะที่อุดตันท่อระบายน้ำ กีดขวางการสัญจรทางน้ำสร้างความลำบากต่อการดำรงชีวิต จะหวานแห หาปลาก็ไม่ได้ จะเดินเรือก็ลำบาก เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และสามารถเติบได้ไวอยู่ได้ในทุกสภาพอากาศ จนถึงขั้นทำให้ลดจำนวนประชากรของปลาในท้องถิ่นวันนี้ทางกรีนเวฟ มีโอกาสได้พูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรจ คณะบริหารธุริจเพื่อสังคม ที่มีแนวคิดการนำผักตบชวามาแปรรูปได้อย่างน่าสนใจ จากแนวคิดเล็ก ๆ ในงานโปรเจค สู่แบรนด์ MERRY CAT ของเล่นเพื่อน้องแมวจากผักตบชวา ที่สามารถ ช่วยลดขยะ ลดฝุ่น ลดจำนวนของผักตบชวา และสร้างงานสร้างเงินให้แก่ชุมชนได้อย่างดีเยี่ยมMerry Cat (เมอร์ - รี่ - แคท) คุ้มค่าที่จะซื้อ มั่นใจที่จะใช้“จุดเริ่มต้นของพวกเรา คือเป็นงานโปรเจคจบของนักศึกษาที่ทางอาจารย์ ให้โจทย์มาว่า ให้ทำธุรกิจเพื่อสังคม คือการที่เรามองถึงปัญหาของสังคม หรือชุมชน เพื่อนำมาสร้างธุรกิจที่สามารถแก้ไขปัญหา และสามารถสร้างรายได้ ได้ และสมาชิกคนนึงในทีมของเรา เค้าเป็นคนจาก จังหวัดอยุธยาเห็นผักตบชวามาตั้งแต่เด็กเลยรู้สึกว่า อยากเปลี่ยนปัญหาผักตบชวาให้มันสามารถใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่เค้านำผักตบชวามาเป็นสินค้า ก็เป็นประเภทพวก ถัก ทอ สาน อย่างเสื่อ หรือกระเป๋า สำหรับผู้คน แต่ไม่เคยเจอสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงเลย และในสมัยปัจุบัน ที่ผู้คนหันมาดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างจริงจังกันมากขึ้น เหมือนเลี้ยงแมวแทนลูก เราจึงมีความสนใจในการทำสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง”MERRY CAT มาจากอะไร“MERRY แปลว่าความรื่นเริง ความสนุกนาน อยากให้แมวแฮปปี้ ส่วน CAT แปลว่าแมว ถ้าแมวแฮปปี้ เราก็แฮปปี้แบรนด์ของเราเป็นแบรนด์ที่ผลิตสินค้าของเล่นแมวผักตบชวา ที่มีจุดเด่นคือ “ถอดเปลี่ยนได้” ไม่ต้องซื้อทั้งอัน พังตรงไหน เปลี่ยนตรงนั้น สินค้าหลักของเราตอนนี้ที่มีตอนนี้คือ ที่ลับเล็บแมว”ทำไมต้องเป็นที่ลับเล็บแมว“เพราะว่าที่ลับเล็บแมว ที่นิยมใช้วัสดุคือ เชือกป่าน เชือกปอ เชือกมะนิลา ที่ทำมาจากเส้นใยจากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้เอง แต่เชือกเหล่านี้มีความคม และสามารถเกิดฝุ่นได้ง่าย สร้างฝุ่นเยอะ หรือบางทีก็จะผสมกาวเคมีเพื่อให้เชือกมันมีความเเข็งแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นอัตรายกับน้องแมว และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้ผักตบชวาสาน จะช่วยลดความคม ช่วยในเรื่องของลดการเกิดฝุ่น อีกทั้งกาวที่เราใช้เป็นกาวแป้งเปียก ซึ่งปลอดภัยกับน้องแมว และสิ่งแวดล้อมมากกว่า และมองว่าที่ลับเล็บแมวเป็นของเล่นแมวที่ใช้แล้วทิ้งต้องเปลี่ยนใหม่ยกชุด จึงได้ออกแบบให้สามารถถอดเปลี่ยนปลอกได้ เพื่อลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็น และสะดวกต่อการใช้งาน”ชุมชน ชวาสานบ้านกูบ“ชุมชนชวาสานบ้านกูบ จากจังหวัดอยุธยา เป็นชุมชนที่มีการสานผักตบชวา และมีแบรนด์ของชุมชนอยู่แล้ว จึงได้เลือกชุมชนชวาสานบ้านกูบเป็นหลักในการผลิตส่วนของปลอก เพราะมีวิธีการสานที่ออกมามีคุณภาพสูง มีเอกลักษณ์ลวดลายของตัวเอง ที่เรียกว่า ลายรวงข้าว""และความโชคดีของเรา คือในละแวกชุมชนมีโรงไม้ของชาวบ้าน ที่นำเศษไม้เหลือมาทำต่อเป็นสินค้า จึงได้เลือกโรงไม้นี้เป็นโรงงานในการผลิตส่วนฐาน”วัสดุทุกอย่างล้วนมาจากแรงงานของชุมชนทั้งสิ้น เป็นการสร้างงานในชุมชนอย่างแท้จริงชุมชนกับปัญหาผักตบชวา“ปัญหาหลักของผักตบชวา คือ ภายในแต่ละชุมชนที่มีคลอง ผักตบชวาจะไปอุดตันตามท่อระบายน้ำ ซึ้งทำให้เกิดน้ำขัง น้ำเสีย น้ำท่วมได้ง่าย และยังคอยขวางเส้นทางการเดินเรือของชาวบ้าน การหาปลา ตกปลา ก็ทำได้อย่างยากลำบาก”มุมมองปัญหาผักตบชวา“ปัญหาผักตบชวาเป็นปัญหาที่อยู่กับคนไทยมาอย่างนาน มองว่ามันคงไม่มีทางหมดไป แต่เราก็อยากช่วยลดปัญหาของผักตบขวาให้ได้มากที่สุด เพราะมันสร้างผลประทบให้กับชุมชนในต่างจังหวัดเยอะจริง ๆ”“อยากให้ภาครัฐ มองมุมมองปัญหาของผักตบชวาให้จริงจังมากกว่านี้ ผัดตบชวาก็มีข้อดีของมัน หากควบคุมปริมาณ และจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมให้ได้ น่าจะสร้างประโยชน์ได้เยอะมากกว่านี้มาก ๆ”“อยากให้แบรนด์ของเราเป็นอีกหนึ่งชื่อที่ทำให้คนนึกถึง ว่าเราเป็นแบรนด์ที่ทำเพื่อสังคม และคอยช่วยลดปัญหาผักตบชวา และเศษไม้เหลือทิ้ง เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้คนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น”อยากชุมชนไหนที่ยังมีปัญหาเรื่องของผักตบชวา หรืออยากแก้ปัญหาผักกตบชวา เราก็อยากเป็นตัวช่วยให้กับชุมชนเหล่านั้น ยังไงก็ลองมาคุยกันก่อนได้เลยนะติดต่อFacebook : Merry CatTikTok : merrycat.officialInstagram : merrycat.officialauter : MIK_MIKAZUKI

5 เหตุผล ที่ “การรีไซเคิลไม่ใช่ทางออก ของปัญหาพลาสติก”

26 ก.ย. 2023

5 เหตุผล ที่ “การรีไซเคิลไม่ใช่ทางออก ของปัญหาพลาสติก”

ขยะพลาสติก 91% บนโลกใบนี้ ถูกกองทิ้งเป็นภูเขาขยะ เอาไปฝังกลบ เผา หรือ ทิ้งลงทะเล ซึ่งสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในทุกทางทุกคนรู้จักประโยชน์จากพลาสติกดี ไม่มีใครปฏิเสธได้ เราพึ่งพาและใช้มันมาเนิ่นนาน แต่มาวันนี้โทษของพลาสติกปรากฏให้เห็นและทวีคูณขึ้นถึงระดับสุขภาพ และเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจึงเริ่มตั้งคำถามกับ “พลาสติก” ว่า มันเป็นสิ่งช่วยแก้ปัญหา หรือ เป็นตัวปัญหาที่ใหญ่กว่า กันแน่ถึงแม้อุตสาหกรรมพลาสติก และ ธุรกิจต่าง ๆ จะอ้างถึงคุณูปการของพลาสติก แต่ก็ยังไม่มีอุตสาหกรรม หรือภาคธุรกิจไหน ที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเรื่องการลดใช้พลาสติก หยุดการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่ไม่ได้ หรือในกระบวนการเก็บขยะพลาสติกกลับเช้าสู่ระบบ เพื่อไม่ให้รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม อย่างจริงจัง แต่กลับผลักภาระให้ผู้บริโภค จัดการขยะแทนแม้แต่ภาครัฐก็ยังไม่มีความจริงจังในการจัดการปัญหาพลาสติก ปัจจุบันมีแค่ผู้บริโภค ประชากรที่ช่วยกันเอง คัดแยกขยะ เพื่อนำพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบสาเหตุหลักที่การรีไซเคิลไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาพลาสติก1. เราสร้างขยะพลาสติก มากจน รีไซเคิลไม่หมดอย่าคิดว่าใช้พลาสติกไปเถอะ เดี๋ยวก็รีไซเคิลได้ เพราะจำนวนพลาสติกที่กลับเข้าระบบรีไซเคิลทั่วโลกมีไม่ถึง 9% ในประเทศที่กฏหมาย และ เทคโนโลยีก็ไม่มีประสิทธิภาพ ในการรับมือ ขยะพลาสติก ภาครัฐก็ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ยิ่งทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการรีไซเคิลก็ยิ่งต่ำกว่านี้มาก2.โรงงานรีไซเคิล ปล่อยไมโครพลาสติก และสารพิษทำลายสิ่งแวดล้อมโรงงานรีไซเคิลพลาสติกที่ได้มาตรฐาน อย่างประเทศอังกฤษ ก็ปล่อยไมโครพลาสติกมากเกินมาตรฐาน โรงงานนี้สามารถปล่อยอนุภาคพลาสติกได้มากถึง 75 พันล้านชิ้นต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ ประมาณ 2,933 เมตริกตันต่อปี ยังไม่นับ สารพิษอื่น ๆ ที่โรงงานปล่อยออกมาส่วนโรงงานรีไซเคิลอื่น ๆ ในประเทศโลกที่ 3 ที่รับขยะพลาสติกไป ก็กำจัด “พลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้” ด้วยการฝังบ้าง เผาบ้าง หรือ กองเป็นภูเขาขยะขนาดใหญ่ ในประเทศโลกที่ 3 เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อมลพิษมากมาย3. ขยะพลาสติกส่วนใหญ่รีไซเคิลไม่ได้พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลใหม่ได้ มีไม่กี่ประเภท ซึ่งเทียบแล้วนับเป็นจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single Use Plastic) ที่มีอัตราการสร้างขยะสูงที่สุด4.โลกยังไม่มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ หรือ กำลังการรีไซเคิลมากพอแม้แต่ขยะพลาสติกรีไซเคิลจากประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังถูกส่งไปโรงงานรีไซเคิล รอบโลก เพราะไม่มีกำลังการรีไซเคิลมากพอ เลยถูกส่งไปยังประเทศโลกที่ 3 ที่กฎหมายไม่เข้มแข็ง และก่อมลพิษให้ประเทศปลายทาง โดยเฉพาะ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้5. การรีไซเคิลใช้พลังงาน และต้นทุนสูงที่ขยะหลายประเภทไม่ถูก รีไซเคิล ไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่เป็นเพราะมันไม่คุ้มทุนที่จะทำ ตั้งกระบวนการรวบรวม ทำความสะอาด ขนย้าย และ แปรรูป และคุณภาพของพลาสติกที่ได้ ก็มีคุณภาพต่ำ- มีขยะรีไซเคิลเพียงไม่กี่ประเภท ที่คุ้มค่ารีไซเคิล เช่น กระป๋องอลูมิเนียมช้อเรียกร้องต่อภาคธุรกิจ และ ภาครัฐให้ภาคธุรกิจ มีส่วนรับผิดชอบต่อขยะที่สร้าง เปลี่ยน ลด เลิก ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ภาครัฐมีโครงสร้างการจัดการขยะที่เป็นระบบ รวมทั้งมาตรการลงโทษ หรือ จูงใจให้ทั้งผู้ผลิต และ ผู้บริโภค สร้างวิถีการบริโภคที่ยั่งยืนโดยเร็วที่สุดเพิ่มเติม :https://www.prachachat.net/general/news-247836https://www.thairath.co.th/news/society/2693102https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2380589https://www.thairath.co.th/news/local/2660615

คอกาแฟรู้หรือไม่ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้รสชาติของกาแฟแย่ลง!

17 พ.ค. 2023

คอกาแฟรู้หรือไม่ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้รสชาติของกาแฟแย่ลง!

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเกษตร สุขภาพของมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ และการดำรงชีวิต แม้แต่เครื่องดื่มในชีวิตประจำวันอย่าง “กาแฟ” ก็กำลังได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และแสงแดดที่มากเกินไปงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontier จาก Tufts University และ Montana State University เผยว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้พืชผลทั่วโลกได้รับผลกระทบจากอากาศที่เปลี่ยนไป แห้ง แล้ง หรือหนาวจัด ต่างจากเดิม หนึ่งในนั้นคือ “เมล็ดกาแฟ”การปลูกกาแฟ จะเติบโตได้ดีในพื้นที่สูง เพราะเมื่อยิ่งสูงอากาศจะยิ่งเย็น ซึ่งช่วยทำให้เมล็ดกาแฟบ่มสุกนานกว่า มีสารอาหารมากกว่า ทำให้ได้รสชาติที่เปรี้ยวซับซ้อน มีรสสัมผัส และกลิ่นที่ดีกว่า แต่ถ้าในอนาคตพื้นที่สูงเหล่านั้นต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น อาจทำให้กาแฟอย่างพวกอาราบิก้าที่ปลูกบนพื้นที่สูงมีรสชาติไม่เหมือนเดิมนอกจากนี้ยังมีเรื่องของ "แสงแดด" ที่มากเกินไปจะกดคุณภาพของกาแฟลดลง เพราะกาแฟเป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดจัด และกาแฟแต่ละชนิดจะทนทานต่อสภาพแสงแดดที่แตกต่างกันไป บางชนิดถ้าได้รับแดดมากเกินไปอาจทำให้รสสัมผัสของกาแฟเปลี่ยน ถ้าในอนาคตโลกร้อนขึ้น แดดแรงขึ้น ผู้ผลิตน่าจะต้องหานวัตกรรมหรือวิธีมารับมือ หรือช่วยบังแดดให้มากขึ้น จนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมีกรณีศึกษาในโคลัมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟมาหลายศตวรรษ ได้เผยถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบกับการผลิตกาแฟในประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจคือ โลกร้อนขึ้น 1 องศา ส่งผลกับรสชาติของกาแฟ ซึ่งภาวะโลกร้อนส่งผลโดยตรงกับการปลูกกาแฟ จนทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟถึงกับต้องล้มเลิกการปลูกกาแฟไปหลายแสนครัวเรือน ซึ่งโลกร้อนขึ้นทำให้โรคของพืช รวมถึงแมลงมากขึ้น นอกจากนี้อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ระบบนิเวศแย่ลงส่งผลกับการปลูกกาแฟตามมาในเดือน มกราคม พ.ศ. 2565 นักวิจัยจาก Institute of Natural Resource Sciences แห่ง Zurich University of Applied Sciences ได้เผยแพร่รายงานการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อ กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และอะโวคาโด ในวารสารวิทยาศาสตร์ PLOS ONE โดยทีมวิจัยสรุปว่า "กาแฟได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเปราะบางที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีผลกระทบในทางลบที่ครอบงำทุกภูมิภาคที่ปลูก โดยสาเหตุหลักมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น" การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นภายในสามทศวรรษข้างหน้า "ประเทศผู้ผลิตกาแฟ บราซิล เวียดนาม อินโดนีเซีย และโคลอมเบีย ล้วนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพื้นที่ที่เหมาะสมลดลงอย่างมาก"Sam Kass อดีตเชฟประจำทำเนียบขาว ได้ให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ PEOPLE ว่า “อาหารจำนวนหนึ่งที่เรารักและยอมรับกันโดยทั่วไปกำลังถูกคุกคาม และคุณจะเห็นว่าในอนาคต เรากำลังอยู่บนเส้นทางที่หลายสิ่งหลายอย่างจะกลายเป็นสิ่งที่ค่อนข้างหายาก บางอย่างก็แทบจะไม่มีให้สำหรับคนส่วนใหญ่ และบางอย่างก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในด้านราคา” ไวน์ ช็อกโกแลต หอย และข้าว ล้วนตกอยู่ในอันตราย เช่นเดียวกับกาแฟ เครื่องดื่มที่โลกบริโภคประมาณสองพันล้านถ้วยต่อวันขอบคุณข้อมูลจากFOOD WINE : https://www.foodandwine.com/news/coffee-climate-change-flavor-effect-studyPEOPLE : https://people.com/food/former-white-house-chef-sam-kass-says-products-like-coffee-rice-will-be-largely-unavailable-in-30-years/Nation Online : https://www.nationtv.tv/gogeen/378915186

album

0
0.8
1