27 เม.ย. 2022
เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร?
หลายคนมีปัญหาของตะคริวกินที่ขา สาเหตุที่เป็นตะคริวยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยมีทั้งตะคริวประเภทที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ และประเภทที่มีสาเหตุร่วมด้วยเราไปหาคำตอบกับแพทย์แผนจีนกันค่ะในแพทย์แผนจีน ตะคริว มาจากปัญหาของความเย็น ความเย็นจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหดเกร็งง่าย ส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาของไตหยางอ่อนแอ หรือไฟในร่างกายไม่มี ทำให้ร่างกายเย็น หลายคนรับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น ก็อาจจะทำให้เกิดตะคริวง่ายค่ะส่วนใหญ่การออกกำลังกาย ซึ่งตะคริวมักจะเกิดขึ้นขณะที่กำลังพัก หลังจากการออกกำลังกาย บางคนภาวะที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบ หลายคนโรคตับ หากตับทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดสารพิษไปยังกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระตุกหรือหดเกร็งตัวผู้ป่วยโรคไต อาจทำให้มีเกลือแร่บางชนิดต่ำ และส่งผลให้มีตะคริวได้ค่ะการฟอกไต หรือภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมโรคที่ทำให้มีภาวะแคลเซียมต่ำ เช่น บกพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ก็ทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกันนะคะรู้หรือไม่- ผู้สูงอายุที่เสียมวลกล้ามเนื้อไปมากแล้ว กล้ามเนื้อที่เหลือสามารถเกิดความตึงเครียดได้ง่าย- การเสียน้ำของร่างกาย นักกีฬาที่อ่อนล้าและเสียเหงื่อมาก ซึ่งเล่นกีฬาในที่ที่มีอากาศร้อนมักจะเกิดตะคริวได้ง่ายค่ะ- การตั้งครรภ์ การเกิดตะคริวจะพบได้บ่อยในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะขาดแคลเซียม- โรคประจำตัวหรือภาวะทางการแพทย์ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นประสาท โรคตับหรือไทรอยด์ มีโอกาสสูงที่จะเกิดตะคริวได้เช่นกันนะคะหากเป็นตะคริวแพทย์แผนจีนมีเทคนิคดีๆมาฝากค่ะการบริหารขณะที่เกิดตะคริวเพื่อบรรเทาความเจ็บและหยุดตะคริว คือการยืดเส้น หรือการนวดที่กล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว เช่น การเหยียดเท้าไปด้านหน้าและยกเท้าขึ้นแล้วดัดข้อเท้าให้นิ้วเท้าเข้ามาทางหน้าแข้ง และใช้ส้นเท้าเดินไปรอบๆ โดยใช้เวลาเพียง 1 – 2 นาที ต่อ 1 ครั้ง ทำประมาณ 3 – 5 ครั้งการบริหารเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว เพื่อลดโอกาสเป็นตะคริว ควรบริหารร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อวันละ 3 ครั้ง เช่น หากมักเป็นตะคริวที่น่อง ให้ยืนห่างจากกำแพง 1 เมตร เอนตัวไปข้างหน้าให้มือแตะโดนกำแพง โดยวางเท้าให้แบนราบไปกับพื้น ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำไปเรื่อยๆ ให้ครบ 5 นาที เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดควรทำให้ได้วันละ 3 ครั้ง เท่านี้ก็ป้องกันตะคริวได้แล้วค่ะถ้าเป็นตะคริวที่น่องเหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุด ใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อยๆ ดันปลายเท้าขึ้นลงอย่างช้าๆ ประมาณ 5 นาที แล้วนวดที่น่องเบาๆ ไม่ควรนวดแรง เพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บ ทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้ค่ะถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาเหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุด ใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ ส่วนมืออีกข้างค่อยๆ กดลงบนหัวเข่า แล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นตะคริวเบาๆนะคะถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วเท้าเหยียดนิ้วเท้าตรงและลุกขึ้นยืนเขย่งเท้า เดินไปมาเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากนั้นค่อยๆ นวดบริเวณนิ้วเท้าเบาๆค่ะ ถ้าเป็นตะคริวที่นิ้วมือเหยียดนิ้วมือออกเพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก จากนั้นก็ค่อยๆนวดนิ้วมือทีละนิ้วเบาๆค่ะวิธีป้องกันอื่นๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเองแพทย์แผนจีนแนะนำดื่มน้ำให้มากพอในแต่ละวัน อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย1. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์2.รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยแคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียม (โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์) อยากให้กินปลาที่สามารถกินได้ทั้งกระดูกยืด เตรียมกล้ามเนื้อก่อนการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายต่างๆ3.ไม่ควรออกกำลังกายทันทีหลังจากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆนะคะ4.ลดปริมาณการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟช็อกโกแลต อาจจะทำให้การดูดซึมของแคลเซียมลดน้อยลงอาหารที่ควรรับประทานเพื่อป้องกันตะคริวน้ำมะเขือเทศ น้ำส้ม มะนาว นม กล้วย เมล็ดผักทอง งา ถั่วเหลือง ปวยเล้ง ปลาทะเล และวิตามินอื่นๆอาหารที่ควรเลี่ยงชา กาแฟ น้ำอัดลม คาเฟอีนจากเครื่องดื่มเหล่านี้ เป็นตัวการทำให้เลือดข้น เมื่อเลือดไหลเวียนไม่สะดวก กล้ามเนื้อจะแข็งเกร็ง จนกายเป็นตะคริวไปในที่สุด สำหรับคนที่อายุมาก และมีปัญหาการเกิดตะคริวบ่อยๆ ไม่ควรรับประทานผักผลไม้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น มะระ แตงโม ผักบุ้ง ฟักต่างๆ เต้าหู้ เพราะอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์เย็น อาจจะทำเกิดตะคริวได้ง่ายการรักษาการเกิดตะคริวในแพทย์แผนจีน จะเน้นบำรุงไต ขับความเย็น ช่วยเสริมเลือดลมในร่างกายไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ร่างกายขับความเย็นได้ สามารถช่วยลดการเกิดตะคริวได้เช่นกัน สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็มและทานยาจีนค่ะขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะ Facebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’Girl Music Travel Lover