วันนี้เราจะมาพูดถึงทฤษฎีนึงที่ที่หลายคนอาจจะรู้จักนั่นก็คือ ลูซิดดรีม (Lucid Dream)
ต้องขอถามก่อนว่าทุกคนเคยจำความฝันตัวเองได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ไหม ?
เราขอเดาว่ามันอาจจะมีส่วนใหญ่ก็อาจจะพอจำได้แต่คงไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือบางคนอาจจะจำไม่ได้เลย แต่ทุกคนรู้ไหมว่ามีผู้คนบางกลุ่มที่สามารถรู้ว่าตัวเองกำลังฝันหรือควบคุมตัวเองในความฝัน และเมื่อตื่นมาพวกเขาก็สามารถเล่าความฝันของตัวเองเกือบทั้งหมดและนั่นก็คือการฝันแบบ ลูซิดดรีม (Lucid Dream)
ลูซิดดรีม (Lucid Dream) ความฝันที่รู้ว่าตัวเองกำลังฝันอยู่และลูซิดดรีมก็ยังสามารถช่วยเราพัฒนาความคิดสร้างด้วยเพราะสามารถ ควบคุมหรือกำหนดเรื่องราวที่เราจะฝันได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงภาวะหลับลึกก็คือช่วง REM (Rapid eyes movement) และมักจะไม่ได้รู้ตัวตั้งแต่ต้น แต่จะมารู้ตัวในช่วงกลาง-ปลายของความฝัน โดยทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยจิตแพทย์ชาวดัตช์ เฟร็ดเดอริก แวน อีเด็น (Frederik Van Eeden) ซึ่งเขาเป็นผู้ที่ศึกษาความฝันในลักษณะนี้เป็นคนแรก หลังจากนั้นก็เริ่มมีนักจิตวิทยาให้ความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้นจาดภาพยนตร์ดังอย่าง Inception ที่เอาไอเดียนี้ไปพัฒนาเป็นเรื่องราว
อ้างอิงรูปภาพ : https://www.vecteezy.com/vector-art/11263251-man-counting-sheep
และด้วยความที่เราสามารถควบคุมความฝันได้ออกแบบเหตุการณ์ต่างๆได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้ขณะที่เราฝัน มีการใช้ ‘สมองซีกขวา’ มากขึ้น ซึ่งเป็นสมองส่วนความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราอาจจะได้ไอเดียใหม่ๆ จากความฝัน ไปใช้แก้ปัญหาหรือนำไปใช้กับงานของตัวเองรวมถึงยังช่วยควบคุมอารมณ์ได้อีกด้วยเพราะช่วงเวลาขณะที่หลับ ถือว่าเป็นอะไรที่ควบคุมยากที่สุด ดังนั้นการที่เราสามารถมีสติได้ในขณะที่เราฝัน เราก็จะสามารถควบคุมจิตใจได้ถึงแม้จะเป็นช่วงที่เราโกรธหรือเสียใจจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้
นอกจากนี้ ลูซิดดรีมยังช่วยขจัดความกลัวในจิตใจของเราได้อีกด้วย แน่นอนว่าทุกคนต้องมีความกลัวที่ซ่อนอยู่หรือเหตุการณ์ร้ายๆ ที่ฝังใจ แต่ในความฝัน เราสามารถควบคุมความกลัวและอันตรายเหล่านั้นได้ ทำให้ชีวิตจริงเรามีแนวโน้มที่จะกลัวสิ่งนั้นน้อยลง
นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Lucid Dream เดนโฮล์ม แอสปาย (Denholm Aspy) เคยกล่าวไว้ว่า
“บางคนอาจค้นพบพลังวิเศษหรือความสามารถพิเศษขณะที่กำลังฝัน พวกเขาสามารถต่อสู้หรือจัดการกับสิ่งที่มาทำ ร้ายได้ เช่น บินหนี หรือใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อปลุกตัวเองให้ตื่นจากฝันร้ายนั้น”
ความเสี่ยงของ Lucid Dream
Lucid Dream อาจไม่เหมาะกับหลาย ๆ คน เช่นกลุ่มผู้มีจิตเปราะบาง มีความผิดปกติของคลื่นสมอง มีอาการเห็นภาพหลอน (Schizophrenia) หรือหลงผิด (Delusions) อาจยิ่งทำให้ยากต่อการแยกแยะโลกแห่งความจริง และโลกแห่งความฝัน หรือสำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องการนอน ที่ควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับลึก นอนให้เต็มอิ่ม ยิ่งฝันให้น้อยยิ่งดี มุ่งเน้นการนอนระดับ N-REM (Non-rapid Eye Movement) ไม่ใช่ REM (Rapid Eye Movement)
อ้างอิงรูปภาพ : https://www.freepik.com/free-vector
หากใครอยากลองทำนักวิจัยเขาก็มีวิธีมาให้ทดลองกันแต่ก็อย่าลืมเรื่องความเสี่ยงกันนะต้องดูเรื่องสุขภาพตัวเองกันด้วย
1.นั่งสมาธิก่อนนอนซักประมาณ 20-30 นาที ก่อนนอน เพ่งจิตไปที่การหายใจ มีสติทุกลมหายใจ
2.ลองจดบันทึกความฝัน เพื่อจดจำรายละเอียดความฝันในแต่ละครั้งของเรา
3.ใช้เสียงเพลงมาขับกล่อมขณะหลับ โดยคลื่นความถี่ของเสียงเพลง มีส่วนในการทำให้คลื่นสมองเปลี่ยนไปได้ โดยเป็นเพลง เป็นจังหวะดนตรีที่เรียกว่า ‘binaural beats’ ความถี่ 4 – 8 Hz โดยควบคุมการหายใจให้สอคคล้องกับความถี่
และนี่ก็คือ Lucid dream ความฝันที่รู้ตัว แต่ใดๆก็ตามถึงแม้เราจะสามารถควบคุมความฝันได้ด้วยตัวเองทุกคนอาจจะได้ประสบการณ์ที่น่าประทับใจแต่ก็อย่าลืมตระหนักว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นมันเป็นเพียงความฝันไม่ใช่ความจริง ทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทางเราหวังว่าบทความนี้จะสามารถช่วยให้ผู้อ่านทุกคนได้รับทฤษฎีความรู้ใหม่ๆแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่มากก็น้อย
ที่มา : https://thematter.co/brief/goodsmorning/goodsmorning-1590107400/112552
https://rabbitcare.com/blog/lifestyle/lucid-dream-in-different-context-benefit-and-how-to
https://www.medicalnewstoday.com/articles/323077#definition
https://www.facebook.com/brandthink.me