นั่งทำงานนานๆ ยืดเส้นยืดสายยังไงดี

HEALTHY LIFESTYLE

นั่งทำงานนานๆ ยืดเส้นยืดสายยังไงดี

24 ม.ค. 2022

การนั่งทำงานหน้าคอมนานๆ ยังเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอยู่ดี ดังนั้นใครที่ต้องนั่งทำงานหน้าโต๊ะคอมพิวเตอร์ทุกวัน หากไม่อยากป่วยเป็นโรคต่างๆ ควรทำตามเคล็ดลับของแพทย์แผนจีน วันนี้จะเล่าให้ฟังค่ะ 

นั่งนานเกินไป 

ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเฉลี่ยร้อยละ 60 จะนั่งอยู่กับที่เฉยๆ และนานกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน กลุ่มนักวิจัยได้เปรียบเทียบ ระหว่างผู้เข้าร่วมที่นั่งอยู่หน้าโทรทัศน์ หรือหน้าจออื่นๆไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง กับผู้ที่ใช้เวลา 4 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ปรากฏว่าผู้ที่นั่งมากกว่า 4 ชั่วโมง มีโอกาสเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 50 (ไม่ว่าสาเหตุใดก็ตาม) มากกว่าผู้เข้าร่วมในกลุ่มแรก แถมโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 125

 มีอาการเรื้อรังตามมา

นอกจากอาการปวดกล้ามเนื้อหลังแล้ว การนั่งทั้งวันยังมีส่วนเกี่ยวโยงกับโรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ยิ่งนั่งนานก็ยิ่งทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้น้อยลงเนื่องจากกล้ามเนื้อของเราไม่ได้ทำงาน หัวใจไม่ได้สูบฉีดเร็วและแรง ด้วยเหตุนี้กรดไขมันจึงสะสม และอุดตันหัวใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ในความเป็นจริงผู้ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวหรือนั่งเกือบตลอดทั้งวัน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่เคลื่อนไหวเป็นประจำถึง 2 เท่า นอกจากนี้การนั่งมากเกินไป ยังทำให้อัตราการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

เบลอทั้งวัน

การนั่งมากเกินไป ยังส่งผลต่อสมองของเรา เมื่อกล้ามเนื้อเคลื่อนไหว หัวใจก็จะสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปยังสมอง ในทางกลับกัน การนั่งนานๆจะชะลอการทำงานทุกอย่างในร่างกาย รวมถึงการทำงานของสมองด้วย นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับความรู้สึกซึมเศร้า และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

แพทย์แผนจีนแนะนำ

ระหว่างที่นั่งปั่นงานอยู่ ลองตั้งเวลาให้ลุกขึ้นเดินไปเดินมาในบ้านทุกๆ ชั่วโมงดู อาจจะเดินเข้าห้องน้ำ กดน้ำมาดื่ม ชงชา กาแฟ การเดินบ่อยๆ จะเผาผลาญพลังงานได้ และป้องกันโรคอ้วนได้ด้วยค่ะ

ดื่มน้ำมากขึ้น

ใครที่รู้ตัวว่าอยู่ในห้องทำงานตลอดเวลา แทบไม่ได้กระดิกตัวไปไหน อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันด้วยนะคะ หาเวลาจิบน้ำ ทุกๆ ชั่วโมง จะตั้งขวดลิตรเอาไว้บนโต๊ะ แล้วพยายามดื่มน้ำให้หมดภายใน 1 วันก็ได้ค่ะ แล้วสังเกตสีปัสสาวะของตัวเอง หากสีปัสสาวะยังเป็นสีเหลืองเข้มอยู่ แสดงว่ายังดื่มน้ำไม่เพียงพอ ต้องดื่มน้ำเพิ่ม และตัวเลือกที่ดีที่สุด ควรเป็นน้ำเปล่า หากเบื่อหรือขี้ลืมจริงๆ จะฝานผลไม้ที่เพิ่มความสดชื่นอย่างมะนาวลงไปในน้ำเปล่าด้วยก็ได้นะคะ แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงด้วยนะคะ กลัวจะเป็นโรคเบาหวานกันก่อน

ท่าบริหารจากแพทย์แผนจีน

  • ท่าบริหารต้นคอ เริ่มจากนำมือข้างซ้ายอ้อมไปจับศีรษะด้านขวา ดึงมาทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึง นับ 1 - 10 สลับใช้มือข้างขวาอ้อมจับศีรษะด้านซ้ายทำเช่นเดียวกัน นับ 1 - 10 จากนั้นประสานมือบริเวณท้ายทอย ดันไปด้านหน้าจนรู้สึกตึง นับ 1 - 10
  • ท่าบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่  ยกไหล่ขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1 - 10 จากนั้นกดไหล่ลงไปให้สุด แล้วเกร็งค้างไว้ นับ 1 - 10 ท่านี้สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องของการปวดไหล่เป็นประจำค่ะ
  •  ท่าบริหารผ่อนคลายกล้ามเนื้อแขน

ท่าที่ 1 เพื่อยืดแขน โดยประสานมือ จากนั้นจึงเหยียดขึ้นไปเหนือหัวเราจนสุดแขน การทำแบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อแขนได้ยืดออก

แล้วให้เงยหน้ามองขึ้นด้านบน เพื่อเปลี่ยนท่าทางของช่วงคอ ค้างท่านี้ไว้นับ 1 - 10 แล้วค่อยเอาลงค่ะ

ท่าที่ 2 เพื่อคลายความเมื่อล้าของกล้ามเนื้อแขน ใช้มือซ้ายจับฝ่ามือขวา จากนั้นเหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า แล้วจึงดัดข้อมือขวาเข้าหาตัว

จนรู้สึกว่าตึงบริเวณด้านในข้อศอกขวา ทำค้างไว้นับ 1 - 10 แล้วจึงเปลี่ยนข้าง

  •  ท่าบริหารนิ้ว และฝ่ามือ  เป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าที่นิ้ว และฝ่ามือ กำมือทั้ง 2 ข้างให้แน่นที่สุด แล้วกำมือค้างไว้นับ 1 - 5 จากนั้นจึงค่อยๆ คลายออกช้าๆ เหยียดนิ้วและกางนิ้วมือออกให้มากที่สุด เท่าที่ทำได้ แล้วค้างไว้นับ 1 - 5 แล้วจึงกลับมาอยู่ท่าเดิม ทำแบบนี้เรื่อยๆ ประมาณ 2 – 3 รอบค่ะ
  •  ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้านหน้าอก และแก้ปัญหาไหล่ห่อ

     ท่าที่ 1 ให้ลุกขึ้นยืน จากนั้นนำมือประสานกันด้านหลัง ค่อยๆ ยกขึ้นมาจนถึงระดับที่เรารู้สึกว่าตึง นับ 1 - 10

ท่าที่ 2 เป็นการยืดด้านหลัง โดยการกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ให้มือไขว้กันเยอะที่สุด โดยเอามือโอบด้านหลังของตัวเองให้มากที่สุด นับ 1 - 10

  •  ท่าบริหารหลัง    ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลังจนรู้สึกตึงแล้วนับ 1 - 10
  •  ท่าบริหารบริเวณช่วงสะโพก    ท่านี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ซึ่งมักจะไปกดทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกมีปัญหา ปวดบริเวณสะโพก ชาลงขา และเท้า ทำโดยยกเท้าซ้ายขึ้นมาวางทับเหนือเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จะรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านซ้าย นับ 1 - 10 จากนั้นสลับเท้าด้านขวาทำเช่นเดียวกันค่ะ 
  • ท่าบริหารกล้ามเนื้อด้านข้าง    ยืดมือขึ้นบนสุดประกบกัน จากนั้นเอนตัวทางด้านซ้าย นับ 1 - 10 จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา นับ 1 - 10
  •  ท่าบริหารขา     เหมาะสำหรับผู้ที่ยืนนานๆ หรือใส่รองเท้าส้นสูง ไขว้ขาซ้ายเข้ากับขาขวา จากนั้นค่อยๆ ก้ม เอามือไปแตะหน้าขา นับ 1 - 10

 

ลองทำดูนะคะแล้วคุณจะมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น

ไม่ว่าจะทำที่บ้าน หรือที่ทำงาน เราจะสุขภาพดีไปด้วยกันค่ะ ^^

 

ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะ  Facebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็ม

Collector by รุ่งโนรี ’Girl Music & Travel Lover

related HEALTHY LIFESTYLE

5 โรค ที่ทำให้คุณง่วงกลางวัน กลางคืนก็นอนไม่หลับ

24 ม.ค. 2022

5 โรค ที่ทำให้คุณง่วงกลางวัน กลางคืนก็นอนไม่หลับ

หลายๆคนโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศหรือนักเรียนนักศึกษารวมถึงแอดก็ชอบมีอาการแบบนี้ประจำจะชอบง่วงมากเวลาบ่ายเริ่มตาปรือสัปหงกหรือบางทีก็ต้องลุกไปชงกาแฟดื่มแก้ง่วงดื่มกาแฟและกลางคืนก็นอนไม่ค่อยจะหลับถ้านานๆทีง่วงทีก็พอจะเข้าใจได้แต่ถ้าง่วงมันทุกวันต้องลองเช็คสุขภาพแล้วนะคะ เพราะคุณอาจกำลังเป็นโรคบางอย่างหรือเปล่าวันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าโรคอะไรชอบง่วงกลางวัน1.โรคนอนไม่หลับหลายต่อหลายคน เพราะกลางคืนนอนไม่หลับก็เลยง่วงลองสังเกตตัวเองดูนะคะว่าที่นอนไม่หลับหรือนอนดึกมากๆเพราะทำงานหนักงานเยอะตี1ตี2ยังนอนไม่หลับหรือเครียดจนนอนไม่หลับหรือเปล่าถึงทำให้วันต่อมาง่วงนอนจัด บางครั้งก็อยากจะงีบพองีบ กลางคืนนอนไม่หลับซะงั้นถ้าเป็นอย่างนั้นก็ควรคลายเครียดลดการทำงานในตอนกลางคืนแพทย์แผนจีนแนะนำพุทราจีนเก๊กฮวย ช่วยบำรุงเลือดเพราะถ้าหากนอนไม่พอ เลือดจะพร่องเก๊กฮวยจะช่วยลดอาการร้อนในจากการนอนไม่หลับเป็นเวลานานๆได้ค่ะ2.โรคอ่อนเพลียล้าเรื้อรังคนไข้อาจจะมีโรคนอนไม่หลับด้วยซึ่งก็หมายถึงการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน และเมื่อร่างกายสะสมความอ่อนเพลียหนักขึ้นเรื่อยๆนอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุจากการบริโภคอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมากเกินไปจนส่งผลให้มีอาการเพลียล้าง่วงนอนความจำไม่ค่อยดีปวดหัวเป็นประจำปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อยๆและหลับไม่สนิทนอนเท่าไรก็ไม่พออาการเหล่านี้กลุ่มวัยทำงานมีความเสี่ยงสูงที่สุดแพทย์แผนจีนแนะนำโสมจะช่วยเสริมภูมิเพิ่มพลังให้กับร่างกายและยังช่วยเรื่องนอนหลับด้วยนะคะ3.โรคเบาหวานโรคเบาหวานก็ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรังได้ เพราะเลือดมีปริมาณน้ำตาลสูงและอาการง่วงนอนเป็นสัญญาณแรกๆที่แสดงหรือเตือนให้ร่างกายทราบว่ากำลังอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในอนาคตการบริโภคแป้งและน้ำตาลจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้สามารถลดเบาหวานด้วยมะระขี้นกโสม4.โรคลมหลับง่วงกลางวันค้างกลางคืนง่วงนอนมากในตอนกลางวันแต่ตอนกลางคืนกลับตาใสแป๋วและนอนไม่หลับหรือชอบหลับไม่สนิทซึ่งทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อยๆถ้าเป็นเด็ก การพัฒนาการสมองจะช้าเรียนไม่เก่งหรือถ้าเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือแม้กระทั่งเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตด้วยเช่นง่วงระหว่างขับรถหรือใช้เครื่องจักรกลต่างๆ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงสุขภาพจิตที่อาจกลายเป็นคนหงุดหงิดง่ายจากการพักผ่อนไม่เพียงพออีกด้วยแพทย์แผนจีนจะช่วยบำรุงด้วยปั๊กคี้โสมตังกุยแป๊ะตุ๊กฟกเหล็งเป็นต้น5.โรคโลหิตจางผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้ง่ายเพราะสูญเสียเลือดจากการมีประจำเดือน สาเหตุอาจมาจากการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ(จากดัชนีชี้วัดผู้หญิงเลือกกินมากกว่า)ส่วนสาเหตุอื่น ยังมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอจึงรู้สึกอ่อนเพลียหน้ามืดบ่อยเหนื่อยง่ายเชื่องช้าเซื่องซึมไม่สดใสจึงทำให้รู้สึกง่วงนอนบ่อยๆนั่นเองแพทย์แผนจีนแนะนำตังกุยเส็กตี่โสมและสมุนไพรที่ช่วยบำรุงเลือด5 โรคที่ทำให้เราอ่อนเพลีย แต่ละโรคไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยนะคะทางที่ดีลองปรับชีวิตให้เป็นปกติแบบแพทย์แผนจีนนอนให้เร็วตื่นให้เช้าหรือหากนอนไม่หลับลองเลี่ยงพฤติกรรมที่สงผลต่อการนอนหลับหรือกินอาหารที่ช่วยนอนหลับข้างต้นที่แพทย์แผนจีนแนะนำ เพื่อให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น หรือกดจุดช่วยอาการนอนไม่หลับ ก็เป็นอีกทางเลือกนึงค่ะนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ส่วนเรื่องพักใจ ยกให้Green Waveเสิร์ฟ เพลงดีดีกับความรู้สึกดีดีให้คุณเองค่ะ ^^ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะFacebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’GirlMusic Travel Lover

ปวดหลัง ที่ไม่ใช่แค่หลัง

21 ม.ค. 2022

ปวดหลัง ที่ไม่ใช่แค่หลัง

ปวดหลัง(Backache)เป็นอาการปวดเมื่อยตึงร้าวหรือเจ็บที่หลังสาเหตุหลักๆที่ทำให้ปวดหลังเช่นกิจกรรมในชีวิตประจำวันยืนเดินหรือนั่งไม่ถูกท่ายกของหนักเกินไปอุบัติเหตุการกระแทกการเล่นกีฬาหรือเป็นผลมาจากโรคต่างๆค่ะอาการปวดหลังเป็นอาการที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมากเหมือนที่หลายคนอุทาน“ไม่ปวดไม่รู้หรอก” ไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุนะคะที่จะเผชิญกับอาการปวดหลังแต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะคนวัยทำงานคนที่ทำงานนั่งเป็นประจำหรือทำงานแบกหามสาเหตุของอาการปวดหลังอาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยเช่นการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันการทำท่าทางที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานานการเคล็ดขัดยอกการตึงการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นบริเวณหลังปัญหาของหมอนรองกระดูกปัญหาของกระดูกสันหลัง และเส้นประสาทปัญหาจากโรคหรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆซึ่งอาการปวดหลัง จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวันสาเหตุของอาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากปัจจัยต่างๆต่อไปนี้สาเหตุที่เกิดจากปัญหาของกระดูกสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกกล้ามเนื้อหรือหมอนรองกระดูกตัวอย่างเช่นหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม(Degenerative Discs)เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมหดตัวหรือฉีกขาด ทำให้กระดูกสันหลังชนหรือถูกันมักเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท(HerniatedหรือSlipped Discs)หมอนรองกระดูกคือเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลังมักเกิดการสึกหรอหรือฉีกขาดแล้วกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบริเวณสะโพกหมอนรองกระดูกสันหลังโป่งนูน(Bulging Discs)เป็นการโป่งออกของหมอนรองกระดูกมาดันโดนเส้นประสาทแต่อาการจะไม่มากเท่าหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทกระดูกสันหลังตีบเกิดขึ้นจากการที่กระดูกสันหลังหดตัวลงทำให้กระดูกสันหลังและเส้นประสาทต้องรับน้ำหนักของร่างกายเพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชาที่บริเวณขา และไหล่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุกระดูกสันหลังเคลื่อน(Spondylolisthesis)เป็นการเสื่อมสภาพ หรืออักเสบที่ข้อต่อและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ประคองกระดูกสันหลังโรครากประสาทคอ(Cervical Radiculopathy)เกิดจากการได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปทำให้เกิดกระดูกงอกขึ้นมาสาเหตุที่เกิดจากการบาดเจ็บและอุบัติเหตุอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลังหรือนำไปสู่ปัญหาของการเคลื่อนไหวร่างกายได้เช่นบาดเจ็บหรือเกิดการฉีกขาดที่เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังมักเป็นผลมาจากการยกของหนักหรือการเล่นกีฬาสาเหตุที่เกิดจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเช่นการนั่งห่อหลังที่โต๊ะทำงานยกของหนักเกินไปมีน้ำหนักตัวมากไม่ออกกำลังกายสูบบุหรี่ใส่รองเท้าส้นสูงสาเหตุจากภาวะทางอารมณ์ทั้งความเครียดความวิตกกังวลภาวะซึมเศร้าสามารถทำให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลต่อกล้ามเนื้อได้สาเหตุอื่นๆอาการปวดหลังสามารถเป็นผลมาจากอาการหรือโรคต่างๆได้ดังต่อไปนี้โรคข้ออักเสบ(Arthritis)เป็นสาเหตุให้เกิดอาการตึงบวมและอักเสบโรคข้อเสื่อม(Osteoarthritis)เกิดจากการเสื่อมหรือกระดูกถูกทำลายพบมากในผู้สูงอายุโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด(Ankylosing Spondylitis)เป็นโรคข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อแนวกระดูกสันหลังกระดูกสันหลังคด(Scoliosis)เป็นอาการที่เป็นมาตั้งแต่เกิดมักเริ่มพบอาการปวดในวัยกลางคนการตั้งครรภ์น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังเนื้องอกเป็นสาเหตุมาจากโรคมะเร็งแต่พบได้ไม่มากที่จะกระจายไปที่บริเวณหลังโรคไฟโบรมัยอัลเจีย(Fibromyalgia)คือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเอ็นและเนื้อเยื่ออ่อนกระดูกอักเสบติดเชื้อ(Osteomyelitis)เป็นการติดเชื้อในกระดูกและหมอนรองกระดูกโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)นิ่วในไตและการติดเชื้อที่ไตนอกจากนี้ยังอาจตรวจพบสาเหตุการปวดหลังตามตำแหน่งของอาการได้ดังนี้ค่ะบริเวณต้นคอเป็นการปวดตั้งแต่ช่วงฐานกระโหลกศีรษะไปจนถึงช่วงไหล่สามารถขยายไปถึงหลังช่วงบนและแขนได้อาจทำให้ไม่สามารถขยับคอและศีรษะได้เต็มที่และส่งผลให้เกิดการปวดศีรษะได้อาจเกิดจากการห่อตัวนั่งหรือยืนหลังไม่ตรงนอนผิดท่ารวมถึงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆโดยไม่พักเป็นต้นอาจเป็นการปวดแบบไม่ทราบสาเหตุหรือเป็นผลมาจากโครงสร้างที่ผิดปกติโรคมะเร็งกระดูกหักหรือจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันเช่นการทำท่าทางที่ไม่ถูกต้องการยกของหนักเกินไปนั่งหลังไม่ตรงยืนในท่าเดิมหรือขับรถเป็นเวลานานบริเวณก้นและขาอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทำให้เส้นประสาทไซอาติก(Sciatica)ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เริ่มตั้งแต่เชิงกรานยาวเชื่อมต่อไปที่ขาแต่ละข้างลงไปถึงเท้าเกิดระคายเคืองหรือถูกกระดูกสันหลังกดทับ จะทำให้เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทไซอาติกนี้การรักษาอาการปวดหลังการรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการหรือสาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดหลังถ้าเป็นอาการปวดในระยะสั้นคือเพิ่งปวดหรือปวดไม่มากสามารถบรรเทาได้ด้วยตัวเองโดยการทาครีมบรรเทาอาการปวดหรือรับประทานยาแก้ปวดที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไปหากใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไต และเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้นะคะส่วนอาการปวดรุนแรงหรือเรื้อรังแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดควบคู่ไปกับการรักษารูปแบบอื่นเช่นการทำกายภาพบำบัดการฝังเข็มการป้องกันอาการปวดหลังการป้องกันอาการปวดหลังสามารถทำได้หลายวิธีโดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลังการยืนการเดินการนั่งหรือการนอนรวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้นทำให้ยากต่อการอักเสบ หรืออ่อนล้า และไม่กลับไปสู่อาการปวดหลังอีกการรักษาโดยด้วยตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพักผ่อนและพยายามมองโลกในแง่บวก การพักผ่อนเป็นส่วนสำคัญของการฟื้นฟูจากอาการต่างๆยิ่งกังวลก็อาจจะทำให้อาการหายช้าลงพยายามให้กำลังใจตัวเองผู้ที่มองโลกในแง่บวกมีแนวโน้มที่จะฟื้นฟูตัวเองจากอาการป่วยได้ดีกว่าปรับเปลี่ยนท่านอนการทำท่าเดิมนานๆอาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังเช่นการนอนหงายเป็นเวลานาน ทำให้น้ำหนักของร่างกายไปกดลงที่กระดูกสันหลังเพียงยกขาขึ้นและสอดหมอนไปใต้เข่าหรือนอนตะแคงแล้วใช้หมอนสอดไปที่ระหว่างขาจะสามารถช่วยลดน้ำหนักที่กดลงและบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีการประคบร้อน หรือประคบเย็นบางคนพบว่ามีอาการดีขึ้นหลังอาบน้ำอุ่นหรือเอาถุงน้ำร้อนมาประคบในบริเวณที่มีอาการหรือการประคบเย็นโดยนำน้ำแข็งห่อด้วยผ้าแล้วนำมาประคบก็สามารถบรรเทาอาการได้เช่นกันค่ะออกกำลังกายบางครั้งสาเหตุของอาการเจ็บหลังมาจากการยืนหรือนั่งผิดท่าหรือยกของหนักเกินไปหลายคนคิดว่านอนพักอยู่บนเตียงจะสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่าแต่การออกกำลังกายที่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางที่ถูกต้องและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้เช่นการว่ายน้ำการเดิน การปั่นจักรยานการเล่นโยคะการเล่นพิลาทิสการบริหารและการยืดกล้ามเนื้อเป็นต้นการรักษาโดยใช้ยาการใช้ยาแก้ปวดยาที่แพทย์มักจะจ่ายให้กับผู้ที่มีอาการปวดหลังคือยาอะเซตามีโนเฟน(Acetaminophen)เช่นพาราเซตามอลไทลินอลหรือยาในกลุ่มNSAIDsเช่นไอบูโปรเฟนนาโปรเซนหรือยาที่ออกฤทธิ์แรงกว่ายาแก้ปวดถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตในผู้ป่วยบางรายได้และเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้นะคะหากการใช้ยาบรรเทาอาการปวดรูปแบบอื่นไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณรอบๆเส้นประสาทไขสันหลังหรือในบริเวณที่ปวดซึ่งจะช่วยลดการอักเสบรอบเส้นประสาทไขสันหลังได้การรักษาหลังการรักษาโดยใช้ยาการทำกายภาพบำบัดเป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวดช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ถูกวิธีและลดอาการบาดเจ็บให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำได้ตามปกติโดยแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดหลังสำหรับการบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพระยะยาวเช่นการปวดเรื้อรังโรคข้ออักเสบเป็นต้นวิธีการรักษาอาจแตกต่างกันออกไปเช่นการออกกำลังกายการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละรายค่ะการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม(Cognitive Behavioural Therapy)มีจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อความรู้สึกและพฤติกรรมโดยนักบำบัดจะวิเคราะห์ความคิดและพฤติกรรมและให้ผู้ป่วยลองคิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางบวกหลังจบการรักษาแล้วสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นค่ะการรักษาโดยการผ่าตัดการผ่าตัดใช้รักษาอาการปวดหลังจากบางสาเหตุเช่นการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังหรือปวดหลังที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทจนมีอาการอ่อนแรงที่ขาร่วมด้วยโดยทั่วไปมักจะเป็นทางเลือกท้ายๆเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่มีอาการดีขึ้นแพทย์ทางเลือกไคโรแพรคติก(Chiropractic)เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการดูแลสุขภาพสรีระและโครงสร้างของมนุษย์เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยา และไม่มีการผ่าตัดมุ่งเน้นไปที่การจัดกล้ามเนื้อข้อต่อและกระดูกบริเวณกระดูกสันหลัง โดยใช้มืออาจได้ยินเสียงที่เกิดจากแก๊สบริเวณข้อต่อซึ่งเป็นปกติของการรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง หรือปวดคอจากการเคล็ดขัดยอกตอนยกของหนักเกินไปและไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนหรือโรคไขข้ออักเสบแต่การรักษาด้วยวิธีการนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนว่าอาการปวดหลังส่วนใหญ่มาจากปัญหาของแนวกระดูกสันหลังการฝังเข็ม การนวดทุยหนาและยาจีนเป็นศาสตร์การรักษาทางเลือกรูปแบบหนึ่งของจีนโบราณโดยจะฝังเข็มที่มีขนาดและความยาวแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยฝังลงไปตามจุดฝังเข็มที่ถูกพิจารณา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเส้นประสาทรับความรู้สึกใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟินส์(Endrophins)เพื่อบรรเทาอาการปวดโดยจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ20-40นาทีต่อครั้งมีวิธีรักษาอาการปวดหลังอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่เริ่มง่ายที่สุด น่าจะเป็นการรักษาด้วยตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนะคะค่อยๆปรับ ค่อยๆเปลี่ยน เพื่อสุขภาพหลังของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยความปรารถนาดีจากพวกเราชาวGreen Waveค่ะ ^^ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะFacebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’GirlMusic Travel Lover

3 โรคเสี่ยง หากจ้องคอมนาน

05 ก.ค. 2024

3 โรคเสี่ยง หากจ้องคอมนาน

ในยุคดิจิทัลที่เราต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ จึงกลายเป็นเรื่องปกติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่การใช้เวลาไปกับหน้าจอมากจนเกินไปอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดคิด วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่เกิดจากการจ้องจอคอมนาน ๆโรค CVS หรือคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) โรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS คือกลุ่มของอาการทางตาและการมองเห็น ที่มีผลมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเลต หรือโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงพฤติกรรมการมองจอคอมพิวเตอร์ที่ใกล้จนเกินไป เกิดได้ทั้งเด็กแหละผู้ใหญ่อาการของโรค·รู้สึกแสบตา ไม่สบายตา มีอาการระคายเคืองตา เจ็บตา·ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา·มีอาการตาแห้ง ซึ่งเป็นอาการเพียงชั่วคราวการป้องกัน·พักสายตา เช่น หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง เป็นต้น·ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้สบายตา·ควรใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndorme)ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือดวงตา ที่ต้องรับบทหนักขณะทำกิจกรรมเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงานหรือนักเรียนนักศึกษาที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานกันมากขึ้นอาการของโรค· อาการบาดเจ็บเริ่มต้นเริ่มต้นจากอาการเมื่อยที่เมื่อเราพักผ่อน นวด ยืดเหยียดในบริเวณดังกล่าว หรือเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ก็จะหายหรือทุเลาลงได้·อาการบาดเจ็บซ้ำ ๆทุกครั้งที่อาการปวดเมื่อยเริ่มเป็นซ้ำ ๆ ระหว่างทำงาน นี่คือสัญญาณเตือนภัยว่าออฟฟิศซินโดรมกำลังเป็นอันตราย ในระยะนี้ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรักษาอาการบาดเจ็บแต่เนิ่น ๆ·อาการเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้นแม้ในเวลาไม่ได้ทำงานเมื่ออาการเจ็บปวดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเพิ่มมากขึ้น แม้ตอนที่ไม่ได้ทำงานก็ยังเจ็บ และแม้จะลองพัก ลองยืดเหยียดอย่างไรก็ไม่หาย ลามไปถึงกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน นี่คือระดับอาการที่ควรพบแพทย์โดยด่วนการป้องกัน·ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง·หยุดพักการทำงานทุกหนึ่งชั่วโมงเพื่อยืดคลายกล้ามเนื้อด้วยการลุกเดิน หรือเปลี่ยนท่าทาง·กายบริหารด้วยอุปกรณ์ใกล้ตัวโรคกระดูกต้นคอเสื่อม (Cervical Spondylosis)โรคกระดูกต้นคอเสื่อม เป็นภาวะที่ส่วนประกอบของกระดูกต้นคอเสื่อมลง ทั้งจากอายุที่เพิ่มขึ้นและจากการใช้คอในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นประจำ ซึ่งเมื่อกระดูกต้นคอเสื่อมก็จะส่งผลต่อการทำงานของเส้นประสาทต่าง ๆ ในร่างกาย การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้กระดูกคอเกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าปกติอีกด้วยอาการของโรค·มีอาการคอติด หันซ้าย-ขวาไม่สะดวก เหมือนมีอะไรยึดรั้งไว้·ปวดตึงต้นคอ เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง·ปวดร้าวตามแนวเส้นประสาท ตั้งแต่หัวไหล่และบ่า·ปวดร้าวบริเวณข้อศอกด้านข้าง ปวดร้าวไปถึงปลายนิ้วมือ·มีอาการชาตามแขน ขา มือ และเท้า·มีอาการอ่อนแรงจนเคลื่อนไหวไม่สะดวกการป้องกัน·ปรับเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับร่างกาย·หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ขยับร่างกาย·การออกกำลังกายเฉพาะส่วนคอและหลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและนี่ก็คือ 3 โรคเสี่ยงหากคุณจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนเกินไป การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในยุคปัจจุบัน แต่หากเรามีการดูแลสุขภาพร่างกายให้เหมาะสมจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเหล่านี้ได้อย่างมากทีเดียว เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กน้อยนั้น สามารถสร้างผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวให้กับตัวเราได้นั้นเองที่มา :https://www.phyathai.com/th/article/3743-computer_vision_syndrome_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%AD_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8https://kdmshospital.com/article/office-syndorme/https://www.phyathai.com/th/article/symptoms-of-cervical-spondylosis

album

0
0.8
1