02 มิ.ย. 2022
สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง
อาการปวดหลัง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุนะคะ แม้ในสภาวะปกติ เนื่องจากกระดูกสันหลังรับน้ำหนักของร่างกายตลอดเวลา แต่ในเวลานอนจะรับน้ำหนักน้อยที่สุด ถ้าไม่เอาใจใส่กับอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวแล้ว อาการปวดหลังในระยะเริ่มแรก ก็จะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ทําให้ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้นะคะ การบําบัดรักษาที่จะได้ผลดี จําเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจทั้งผู้รักษาและผู้รับการรักษาค่ะสาเหตุของโรคหรือความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง1.การบาดเจ็บ เช่น ตกจากที่สูง หมอนรองกระดูกเคลื่อน2.การติดเชื้อ เช่น วัณโรคของกระดูกสันหลัง3.ความผิดปกติแต่กําเนิด4.เนื้องอก เช่น การกระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมาที่กระดูกสันหลัง5.ความเสื่อมทางชีวกลศาสตร์ของหลัง เช่น ท่าทางไม่ถูกต้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ขาดการออกกําลังกาย6.อารมณ์ตึงเครียด อาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อหลัง ทําให้มีอาการเกร็งและปวดหลังได้ค่ะในที่นี้ขอกล่าวถึงอาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุ ข้อที่ 5 และ 6การวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการโรคอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ จากประวัติในพวกที่มีความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังไม่ตรง แอ่นเกินไป หรือหลังค่อมเกินไป ผู้ป่วยพวกนี้จะมีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหว ถ้าได้พักจะทุเลาค่ะพวกที่เป็นเนื้องอกของกระดูกสันหลัง หรือจากต่อมไร้ท่อ ที่มีความผิดปกติ อาการปวดในกระดูกก็จะพบได้ โดยเฉพาะเวลานอนพักยิ่งปวดมากขึ้น และจะปวดตลอดเวลาเมื่อเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง บางครั้งจะเห็นอาการกระดูกสันหลังของผู้ป่วยคด(scoliosis) ทั้งนี้เป็นเพราะกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งตัว การที่กระดูกสันหลังคด ทำให้การหดเกร็งของกล้ามเนื้อไม่สมดุล จึงทำให้ขาสั้นยาวไม่เท่ากันพวกที่มีข้อสันหลังเสื่อม จะเคลื่อนไหวไม่ได้เต็มที่ โดยเฉพาะท่าเอียงตัวไปซ้ายหรือขวา ในโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด จะเอียงตัวไปด้านซ้ายหรือขวาไม่ได้เลยค่ะการตรวจกระดูกสันหลัง จำเป็นต้องตรวจหาอาการกดทับประสาทสันหลังด้วย เช่น การดึงตัวของประสาทขาทางด้านหลัง(Sciatic nerve) พวกนี้ถ้าก้มตัวจะปวดร้าวลงไปตามขาทางด้านหลัง และยิ่งถ้าไอหรือจามก็จะปวดหลังมาก มีอาการปวดร้าวแปลบไปตามแนวด้านหลังขาที่ประสาทผ่านไปมุมมองต่อโรคในศาสตร์การแพทย์แผนจีนปวดหลังบั้นเอว อาจปวดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ค่ะ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างแนวกลางกระดูกสันหลัง และบริเวณด้านข้างทั้งสองข้าง โดยเฉพาะเวลามีอาการปวดจะเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า Lumbospinal pain โดยทั่วไปมักเรียก Lumbago หรือ TCM เรียกอาการนี้ว่า Yao Tong บริเวณบั้นเอวเป็นที่อยู่ของไต ดังนั้นอาการปวดบั้นเอวจึงสัมพันธ์กับไต อาการอาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้ค่ะหลักการรักษา1. ความเย็นชื้น ขับความเย็น สลายความชื้น ทะลวงและอุ่นเส้นลมปราณความร้อนชื้น ขจัดร้อน สลายความชื้น คลายกล้ามเนื้อและเอ็นเพื่อระงับปวด2. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง กระตุ้นเลือดให้ไหลเวียน เพื่อสลายเลือดคั่ง ปรับการไหล เวียนของชี่เพื่อระงับปวด3. ไตพร่อง บำรุงไตเพื่อเสริมความแข็งแรงให้บั้นเอว เป็นหลักการทั่วไป กรณีไต หยางพร่อง บำรุงไตหยาง เพื่อเสริมความแข็งแรงให้บั้นเอว กรณีไตอินพร่อง เลี้ยงบำรุงไตอินให้สมบูรณ์4. ความผิดปกติของเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับไต ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับการไหลเวียนของจิงชี่ บริเวณบั้นเอว และระงับปวดสาเหตุที่ทำให้ปวดหลังมีหลายสาเหตุนะคะ เรามาค่อยๆเริ่มดูแลรักษาสุขภาพหลังไปด้วยกัน เริ่มจากเปิด Green Wave แล้วค่อยๆเอนหลัง นอนพักกันก่อนนะคะ ^^ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะ Facebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’Girl Music Travel Lover