ฟังเพลงตอนออกกำลังกาย ถึก! ทน! มากขึ้น

HEALTHY LIFESTYLE

ฟังเพลงตอนออกกำลังกาย ถึก! ทน! มากขึ้น

28 ต.ค. 2022

         คนรักเสียงเพลงอย่างเราๆคงเข้าใจดี ว่าเวลาออกจากบ้าน อุปกรณ์อีกอย่างที่จะขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือ หูฟัง ถ้าวันไหนออกไปข้างนอกแล้วลืมหูฟังนะ จะมีความรู้สึกว่า...เหมือนชีวิตขาดอะไรบางอย่าง ยิ่งเวลาทำกิจกรรมเพลินๆ ยิ่งต้องฟังเพลงโปรดเลยค่ะ โดยเฉพาะตอนออกกำลังกาย

ภาพจาก Freepik.com

       และรู้มั้ยคะ ว่าการฟังเพลงตอนออกกำลังกาย ไม่ได้เพิ่มแค่ความสนุกได้เท่านั้น แต่ยังเพิ่มความอึด! ถึก! ทนทานได้อีกด้วย เพราะมีงานวิจัยที่ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง Electroencephalogram (EEG) ในขณะฟังเพลงพบว่า การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้นช่วยลดคลื่นธีต้า (Theta waves) ชนิดความถี่ 4-7 เฮิร์ต (Hz) ได้ ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการระงับอาการเมื่อยล้าต่างๆ ในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายค่ะ เราจึงทนต่อความเมื่อยล้าขณะที่ออกกำลังกายได้ดีขึ้น และทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้นนั้นเอง

ภาพจาก my-best.in.th 

                  โดยการเลือกระดับความเร็วของเพลงที่ฟังขณะออกกำลังกายก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้  มีงานวิจัยพบว่า การฟังเพลงที่มีจังหวะเร็วจะส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกาย เมื่อออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบาถึงปานกลาง   โดยที่การออกกำลังกายแต่ละชนิดก็จะมีระดับความเร็วของจังหวะเพลงที่เหมาะสมแตกต่างกันด้วย

            เช่น หากต้องการปั่นจักรยานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 125 – 140 BPM6  หรือเวลาวิ่งบนลู่วิ่งสายพานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 123-131 BPM7

ภาพจาก thaiheartfound.org 

       ไม่น่าล่ะ!! เวลาที่แอดไปวิ่ง แล้วฟังเพลงที่ดนตรีสนุกๆ แอดก็รู้สึกว่าวิ่งได้ระยะมากขึ้น วิ่งได้นานขึ้น แต่ถ้าใครวิ่งจ๊อกกิ้งตอนเช้า วิ่งไม่เร็วมาก วิ่งสบายๆก็สามารถเปิดฟัง Green Wave 106.5 FM ได้ที่ APP Atime Fungfin มีเพลงสบายๆ และดีเจคุยสนุกยามเช้า ฟังไป วิ่งเหยาะๆไป อาจจะทำให้การวิ่งไม่น่าเบื่อและวิ่งได้นานมากขึ้น ใครที่เป็นสายออกกำลังกาย ลองดูนะคะ

 

แหล่งอ้างอิง :  https://bit.ly/3MDTCLR

แหล่งอ้างอิง :  https://bit.ly/3gezdRc

แหล่งอ้างอิง :  สสส.

related HEALTHY LIFESTYLE

6 วิธีง่ายๆ ทำแล้วสุขภาพดีขึ้นแน่นอน

17 ก.ค. 2023

6 วิธีง่ายๆ ทำแล้วสุขภาพดีขึ้นแน่นอน

1. เดินถอยหลัง 10 - 15 นาที ช่วยลดอาการปวดหลังการเดินถอยหลังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณเอวและหลัง การบริหารนี้เป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในท่าบริหารของมวยจีน "ไท้เก๊ก" ใครที่มีอาการปวดหลัง ปวดเอวบ่อยๆ ลองฝึกเดินถอยหลังดูนะคะ การเดินถอยหลังจะบังคับให้นิ้วเท้าสัมผัสพื้นก่อน ต่างจากการเดินปกติที่จะใช้ส้นเท้า จึงเป็นการลดแรงกระแทก และส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนที่ต่างไปค่ะ 2. นั่งให้ตัวตรง น่องตั้งฉาก ลดอาการปวดหลังได้การนั่งที่ดี ต้องนั่งตัวตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง อาจจะเมื่อยนิดนึงนะคะ แต่ถ้าชินแล้ว จะทำให้อาการปวดหลังที่มาจากการนั่งตัวไม่ตรงดีขึ้น แนะนำให้เอาหมอนมาลองหลังด้วยนะคะ ป้องกันอาการปวดหลังได้อีกทางค่ะ3.แช่และนวดฝ่าเท้า วันละ 30 ครั้ง หรือ 10 นาที จะช่วยบำรุงไตการใช้น้ำร้อนแช่เท้านั้นไม่เพียงแต่จะบำรุงไต ยังช่วยขับความร้อนออกจากตับด้วยค่ะ ช่วยลดความดัน ช่วยให้อารมณ์ของเราสงบ และยังช่วยเรื่องการนอนให้หลับสบาย ถ้าหากหลังจากแช่เท้าแล้วได้นวดเท้าต่อ จะทำให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดีขึ้น อวัยวะภายในมีการปรับสมดุล แนะนำว่าหลังจากแช่เท้าแล้วไม่ควรทำกิจกรรมอื่นต่อ ให้เตรียมเข้านอนได้เลย จะทำให้การบำรุงไต ได้ผลมากยิ่งขึ้น ควรแช่เท้าเวลา 3 ทุ่ม เพราะจะช่วยให้นอนดีค่ะ4. ดื่มขิงเป็นประจำ เพื่อป้องกันหวัดแพทย์จีนจัดขิงเป็นพืชรสเผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดคอเลสเตอรอลที่สะสมในตับ และเส้นเลือด ชาวจีนทั่วไปจึงนิยมต้มขิงกับน้ำตาลอ้อย หรือน้ำตาลแดง เพื่อช่วยแก้หวัด ถ้าใช้ขิงสดปิดที่ขมับทั้งสองข้างจะช่วยแก้ปวดหัว หรือถ้าเอาขิงสดอมไว้ใต้ลิ้นจะช่วยแก้อาการกระวนกระวาย แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ดีค่ะ5.ทานเนื้อสัตว์ให้น้อย ทานผักให้มาก ลดการเกิดไขมันอุดตันของเส้นเลือดเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ก็มากับไขมันทั้งนั้น มันแทรกอยู่ในอนูของเนื้อ ยิ่งลายพร้อยยิ่งอร่อย แต่หารู้ไม่ว่ายิ่งอร่อย ก็ยิ่งทำร้ายร่างกายมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราควรเลือกเนื้อที่ไม่ติดมัน หรือติดมันน้อยที่สุด และอย่าทานมากเกินไป ปริมาณที่จะเหมาะสมคือ เนื้อไม่ติดมันขนาดเท่าฝ่ามือ ให้ทานผักมากกว่าเนื้อสัตว์ จะช่วยย่อย และช่วยระบบขับถ่ายด้วยค่ะ6.ทำสมาธิก่อนนอน 10 - 15 นาที ช่วยลดอาการเวียนศีรษะการทำสมาธิก่อนนอน เป็นเรื่องที่ดี จะช่วยให้ระบบสมองของเรามีการเรียงตัวที่ดี ช่วยให้เราหลับได้ดีอีกด้วย และทำให้ตื่นเช้าขึ้นมาไม่เวียนศีรษะค่ะแต่ละวิธีไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ลองค่อยๆปรับ เปลี่ยนไปด้วยกัน เพื่อสุขภาพที่ดีของเรานะคะ ^^ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะ Facebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’Girl Music Travel Lover

ปวดหัว มือชา ปวดไหล่ โรคยอดฮิตของวัยทำงาน

09 พ.ย. 2022

ปวดหัว มือชา ปวดไหล่ โรคยอดฮิตของวัยทำงาน

สมัยนี้วัยทำงาน จะนั่งอยู่แต่ออฟฟิศทั้งวัน ทำงานหนัก แล้วก็ได้โรคกลับมาโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว สุดท้ายก็นำเงินที่เก็บไว้ เสียไปกับค่ารักษาโรค วันนี้เราจะมาแนะนำโรคกระดูกต้นคอทับเส้นประสาท ว่ามีอาการยังไง ต้องรักษาอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้เหมาะสมค่ะ1. ปวดหัว เกิดจากการกดทับเส้นประสาทของกระดูกต้นคอ จะมีการปวดหัวเป็นไมเกรนหนักหัวหรือท้ายทอย หลายคนปวดหัวข้างเดียว ชาที่หัว ยิ่งเวลาที่เครียด จะมีอาการปวดหัวมาก เหมือนจะเอาหัวกระแทกกับผนังบ้าน และมีอาการมึนหัวร่วมอยู่บ่อยๆ ตามหลักแพทย์แผนจีน การอาการปวดหัว หมายถึง พลังเลือดลมขึ้นสู่หัวไม่เพียงพอ หรือที่เรียกว่าชี่ขึ้นหัวไม่ได้ เกิดจากหลอดเลือดที่ต้นคอมีเลือดไหลผ่านได้ไม่สะดวก จะทำให้เกิดอาการมึนหัว หรือปวดหัวได้ โดยเฉพาะเวลาเครียดจัดค่ะ2. มือชา อาการชาจะชาที่แขน หรือปลายนิ้ว ส่วนใหญ่จะเป็นแค่ข้างใดข้างหนึ่ง ถ้าหากชา 2 ข้างอาจจะต้องนึกถึงว่าตัวเองมีโรคเบาหวานหรือเปล่า หรือว่าเป็นพังพืดทับเส้นประสาทหรือไม่ อาการชามือหรือชานิ้วมือเป็นผลมาจากการทับของเส้นประสาทที่ต้นคอ อาจจะเป็นกระดูกส่วนไหนทับเส้นประสาทเส้นที่เท่าไร อาจจะต้องตรวจด้วย x-ray ในแผนปัจจุบันอาจจะให้ยารักษาปลายเส้นประสาทกับคนไข้ เช่น วิตามินบี 12 เป็นต้น3.กล้ามเนื้อบริเวณไหล่หรือต้นคอแข็ง การที่เรานั่งนานๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยไม่ขยับเลย อาจจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอมีอาการเกร็งเป็นระยะเวลานานๆ อาจะเกิดพังผืด หรือเป็นไตที่บ่าได้ สังเกตุเวลาไปนวด หมอนวดจะบอกว่า คอ บ่า ไหล แข็งมาก นี้แหละค่ะผลของการที่เราไม่ยืดกล้ามเนื้อหรือขยับกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ในทางแพทย์แผนจีนเกิดมาจากเลือดลมเดินไม่ดี ตรงบริเวณคอบ่าไหล่ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณบ่าหรือคอแข็ง และคนไข้จะรู้สึกหนักๆ เหมือนแบกอะไรไว้ และไม่สบายบ่าเอามากๆ คิดแล้วเหมือนหนังผีไทย ที่มีคนนั่งอยู่ที่คอ ยังไงยังงั้น น่ากลัวจริงๆค่ะข้อแนะนำดีๆสำหรับคนที่มีอาการข้างต้น1.การนั่งทำงานในออฟฟิศ หรือนั่งทำอะไรนานๆ ให้ลุกขึ้นมาขยับเนื้อขยับตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน เช่น ทำงาน 40 – 50 นาที ลุกขึ้นมาหมุนบ่า ขยับหัวไหล่ 10 นาที2. เวลาใช้เมาส์ หรือใช้ดินสอเขียนหนังสือนานๆ ให้ขยับมือ และกำมือบ่อยๆ เพราะจะไม่ทำให้เกิดอาการมือชาได้ง่ายๆ3.เวลาอาบน้ำ ให้เปิดน้ำอุ่นๆ ฝักบัวพ่นน้ำไปบริเวณบ่า เพื่อให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น และขับความเย็นออกจากร่างกายได้อีกด้วยค่ะ4.ไม่ควรนั่งอยู่ใต้แอร์เย็น หรือแอร์เย็นพัดลงหัว อาจจะทำให้ปวดหัวได้นะคะ5.สามารถดื่มน้ำขิงอุ่นๆทุกเช้า เพื่ออุ่นกระเพาะ และไล่ลมเย็นที่พัดเข้ามาในตัวเรา6.การฝังเข็ม และการครอบแก้ว สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอที่ตึงคลายลงได้ค่ะการครอบแก้วจะช่วยดึงพิษเย็นที่อยู่ในร่างกาย สังเกตได้ว่าจุดไหนปวด จุดนั้นจะดำเป็นพิเศษการฝังเข็ม ช่วยกระตุ้นจุดที่ปวดใต้ผิวหนังชั้นลึก ทำให้คลายตัวได้ดี เลือกวิธีรักษาที่เหมาะกับตัวเอง แต่ถ้าไม่แน่ใจปรึกษากับคุณหมอ เพื่อสุขภาพที่ดีของเรานะคะ ^^ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะ Facebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’Girl Music Travel Lover

สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง

02 มิ.ย. 2022

สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง

อาการปวดหลัง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุนะคะ แม้ในสภาวะปกติ เนื่องจากกระดูกสันหลังรับน้ำหนักของร่างกายตลอดเวลา แต่ในเวลานอนจะรับน้ำหนักน้อยที่สุด ถ้าไม่เอาใจใส่กับอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวแล้ว อาการปวดหลังในระยะเริ่มแรก ก็จะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ทําให้ยากต่อการรักษาให้หายขาดได้นะคะ การบําบัดรักษาที่จะได้ผลดี จําเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจทั้งผู้รักษาและผู้รับการรักษาค่ะสาเหตุของโรคหรือความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง1.การบาดเจ็บ เช่น ตกจากที่สูง หมอนรองกระดูกเคลื่อน2.การติดเชื้อ เช่น วัณโรคของกระดูกสันหลัง3.ความผิดปกติแต่กําเนิด4.เนื้องอก เช่น การกระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมาที่กระดูกสันหลัง5.ความเสื่อมทางชีวกลศาสตร์ของหลัง เช่น ท่าทางไม่ถูกต้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ขาดการออกกําลังกาย6.อารมณ์ตึงเครียด อาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อหลัง ทําให้มีอาการเกร็งและปวดหลังได้ค่ะในที่นี้ขอกล่าวถึงอาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุ ข้อที่ 5 และ 6การวิเคราะห์แยกกลุ่มอาการโรคอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ จากประวัติในพวกที่มีความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกสันหลังไม่ตรง แอ่นเกินไป หรือหลังค่อมเกินไป ผู้ป่วยพวกนี้จะมีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหว ถ้าได้พักจะทุเลาค่ะพวกที่เป็นเนื้องอกของกระดูกสันหลัง หรือจากต่อมไร้ท่อ ที่มีความผิดปกติ อาการปวดในกระดูกก็จะพบได้ โดยเฉพาะเวลานอนพักยิ่งปวดมากขึ้น และจะปวดตลอดเวลาเมื่อเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง บางครั้งจะเห็นอาการกระดูกสันหลังของผู้ป่วยคด(scoliosis) ทั้งนี้เป็นเพราะกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งตัว การที่กระดูกสันหลังคด ทำให้การหดเกร็งของกล้ามเนื้อไม่สมดุล จึงทำให้ขาสั้นยาวไม่เท่ากันพวกที่มีข้อสันหลังเสื่อม จะเคลื่อนไหวไม่ได้เต็มที่ โดยเฉพาะท่าเอียงตัวไปซ้ายหรือขวา ในโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด จะเอียงตัวไปด้านซ้ายหรือขวาไม่ได้เลยค่ะการตรวจกระดูกสันหลัง จำเป็นต้องตรวจหาอาการกดทับประสาทสันหลังด้วย เช่น การดึงตัวของประสาทขาทางด้านหลัง(Sciatic nerve) พวกนี้ถ้าก้มตัวจะปวดร้าวลงไปตามขาทางด้านหลัง และยิ่งถ้าไอหรือจามก็จะปวดหลังมาก มีอาการปวดร้าวแปลบไปตามแนวด้านหลังขาที่ประสาทผ่านไปมุมมองต่อโรคในศาสตร์การแพทย์แผนจีนปวดหลังบั้นเอว อาจปวดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ค่ะ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างแนวกลางกระดูกสันหลัง และบริเวณด้านข้างทั้งสองข้าง โดยเฉพาะเวลามีอาการปวดจะเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า Lumbospinal pain โดยทั่วไปมักเรียก Lumbago หรือ TCM เรียกอาการนี้ว่า Yao Tong บริเวณบั้นเอวเป็นที่อยู่ของไต ดังนั้นอาการปวดบั้นเอวจึงสัมพันธ์กับไต อาการอาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้ค่ะหลักการรักษา1. ความเย็นชื้น ขับความเย็น สลายความชื้น ทะลวงและอุ่นเส้นลมปราณความร้อนชื้น ขจัดร้อน สลายความชื้น คลายกล้ามเนื้อและเอ็นเพื่อระงับปวด2. ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง กระตุ้นเลือดให้ไหลเวียน เพื่อสลายเลือดคั่ง ปรับการไหล เวียนของชี่เพื่อระงับปวด3. ไตพร่อง บำรุงไตเพื่อเสริมความแข็งแรงให้บั้นเอว เป็นหลักการทั่วไป กรณีไต หยางพร่อง บำรุงไตหยาง เพื่อเสริมความแข็งแรงให้บั้นเอว กรณีไตอินพร่อง เลี้ยงบำรุงไตอินให้สมบูรณ์4. ความผิดปกติของเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับไต ทะลวงเส้นลมปราณ ปรับการไหลเวียนของจิงชี่ บริเวณบั้นเอว และระงับปวดสาเหตุที่ทำให้ปวดหลังมีหลายสาเหตุนะคะ เรามาค่อยๆเริ่มดูแลรักษาสุขภาพหลังไปด้วยกัน เริ่มจากเปิด Green Wave แล้วค่อยๆเอนหลัง นอนพักกันก่อนนะคะ ^^ขอบคุณข้อมูลและความรู้ดีดีจากคุณหมอตี้ค่ะ Facebook : ดร เยาวเกียรติ แพทย์จีน ฝังเข็มCollector by รุ่งโนรี ’Girl Music Travel Lover

‘เสียงในหัวตอนอ่านหนังสือ’ มีที่มา…ใครกันนะที่พูดกับเรา?

03 ก.ค. 2024

‘เสียงในหัวตอนอ่านหนังสือ’ มีที่มา…ใครกันนะที่พูดกับเรา?

‘ถ้าเสียงที่พูดอยู่ในหัวคือตัวเราเอง แล้วใครกันล่ะที่เป็นคนฟัง ?’เป็นคำถามเชาว์ปัญญาที่ชวนให้ขบคิดอยู่ไม่น้อย กับการที่ใครหลายคนบนโลกนี้สามารถอ่านออกเสียงในใจได้ และแน่นอนว่าในตอนที่เรากำลังอ่านบทความนี้อยู่ เสียงในหัวก็อาจกำลังทำหน้าที่ของมันเช่นกัน‘Subvocalization’ หรือ การอ่านออกเสียงในใจ เป็นมากกว่า ‘การคิด’ แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ตา ริมฝีปาก ลําคอ ลิ้น เส้นเสียง กล่องเสียง และขากรรไกร เชื่อหรือไม่ว่าในตอนที่เรากำลังอ่านออกเสียง ‘ในใจ’ ตัวเราเองก็ยังคงเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ คล้ายกับตอนที่เปล่งเสียงพูดอย่างไม่รู้ตัวในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์จากนาซ่า ได้มีการทดลองติดเซ็นเซอร์ขนาดเล็กไว้ที่อวัยวะต่างๆของอาสาสมัคร เช่น บริเวณใต้คางและลูกกระเดือก พบว่า สมองของอาสาสมัครมีการตอบสนองราวกับว่ากำลังพูดอยู่จริงๆ ถึงแม้จะไม่มีการเปล่งเสียงออกมาเลยก็ตาม โดยการอ่านออกเสียงในใจสามารกระตุ้นสมองส่วน Broca ที่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ภาษาทุกรูปแบบให้ทำงานได้การอ่านออกเสียงในใจ คือส่วนหนึ่งในพัฒนาการของเด็กเบธ ไมซิงเกอร์ และ โรเจอร์ เจ. ครอยซ์ รองศาสตราจารย์และอาจารย์สาขาจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยเม็มฟิส กล่าวไว้ว่า ในตอนเด็กเรามักจะเริ่มอ่านหนังสือด้วย ‘การออกเสียง’ เพราะการฟังเสียงของตัวเองสามารถช่วยให้เราทำความเข้าใจข้อความได้ง่ายมากขึ้น เมื่อโตขึ้นมาหน่อย เราอาจเปลี่ยนเป็น ‘การอ่านพึมพํา’ กระซิบ หรือขยับริมฝีปาก แต่พฤติกรรมนี้จะจางหายไปในตอนที่ทักษะด้านการอ่านพัฒนาขึ้น เราจะสามารถอ่านหนังสืออย่างเงียบๆ ‘ในหัวของตัวเอง’ ได้ และในตอนนั้นเอง คือตอนที่เสียงภายในหัวเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการพัฒนาทักษะการอ่าน ที่เด็กๆจะสามารถทำได้ดีในชั้นประถมสี่หรือห้า โดยการเปลี่ยนจากการอ่านออกเสียงเป็นการอ่านในใจนั้น คล้ายกับวิธีที่เด็กพัฒนาทักษะการคิดและการพูดนั่นเองทั้งนี้ เลฟ วีโกสกีนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ได้นิยามพฤติกรรมนี้ว่า ‘การสนทนาส่วนตัว’ เขากล่าวว่าไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้นที่มีพฤติกรรมนี้ แม้แต่ผู้ใหญ่ที่กำลังประกอบเครื่องดูดฝุ่นอันใหม่ บางทีเราอาจได้ยินพวกเขาพึมพํากับตัวเอง ในตอนที่กำลังทําความเข้าใจคําแนะนําในคู่มือดังนั้นเมื่อเด็กๆ กลายเป็นนักคิดที่ดีขึ้น พวกเขาจึงเปลี่ยนไปพูดในหัวแทนที่จะพูดออกมาดังๆ เมื่อเราเป็นนักอ่านที่ดีแล้ว การอ่านออกเสียงในใจจะง่ายยิ่งขึ้น ทั้งยังอาจช่วยให้อ่านได้เร็วขึ้นเพราะไม่จําเป็นต้องพูดออกมา และมีความยืดหยุ่นมากกว่า ช่วยให้เราจดจ่อกับสิ่งที่สําคัญที่สุดได้นั่นเองแล้วเสียงในหัวของเรา คือเสียงของใคร?การได้ยินเสียงตัวเองในหัวนั้นเป็นเรื่องปกติ งานศึกษา Characteristics of inner reading voices โดย Ruvanee P. Vilhauer พบว่าผู้คน4 ใน 5 บอกว่าพวกเขามักจะได้ยินเสียงในหัวตอนอ่านหนังสือในใจ นอกจากนี้เสียงในหัวยังมีหลายประเภทอีกด้วยซึ่งอาจเป็นเสียงพูดปกติของตัวเราเอง หรืออาจเป็นโทนเสียงที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงการศึกษาผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่ พบว่าเสียงที่ได้ยินในหัวอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตัวเรากําลังอ่าน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตัวละครในหนังสือกำลังพูดบางอย่างอยู่ เราอาจได้ยินเสียงของตัวละครนั้นในหัวดังนั้นอย่ากังวลไป ถ้าได้ยินเสียงมากมายในหัวตอนที่กำลังดําดิ่งลงไปในหนังสือ มันอาจหมายความได้ว่า คุณกลายเป็นนักอ่านออกเสียงในใจที่มีทักษะแล้ว

album

0
0.8
1