
07 ต.ค. 2023
เช็กตัวเองก่อนเป็น Burnout Syndrome
เป็นยังไงกันบ้างทุกคน ผ่านมาครึ่งทางแล้ว เหลืออีก 3 เดือนสุดท้ายของปี เหนื่อยกันไหมมม ??หลาย ๆ คนประสบความสำเร็จมากขึ้น หลาย ๆ คนเติบโตมากขึ้น หลาย ๆ คนความสำเร็จอาจจะยังไม่มาถึง แต่เราเชื่อว่าอีกไม่นานต้องมาถึงคุณแน่นอนและก็มีอีกหลายคนรู้สึกว่าเรากำลังจะหมดไฟในการทำงานแล้วรึเปล่านะ ?อาการเครียด หดหู่ เบื่อ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน หรือที่เราเรียกกันว่า Burnout Syndrome ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยเป็นโรคที่เป็นผลจากการความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงานเป็นปัญหาที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากความเครียด ความกดดันในการทำงานเราจะรู้ได้ยังไง ว่าเรากำลังตกอยู่สภาวะ Burnout Syndromeอาการ Burnout Syndrome คือ ภาวะความอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดของงานที่มากเกินไป อย่างต่อเนื่องยาวนานรวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ จนทำให้คน ๆ นั้นรู้สึกหมดไฟ มองตัวเองในแง่ลบ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน รู้สึกห่างเหินจากผู้ร่วมงาน และไม่รู้สึกผูกพันกับสถานที่ทำงานลองมาเช็กกันว่าคุณจะเสี่ยงเป็น Burnout Syndrome ไหมผู้ที่ทำงานหนัก มีภาระงานมาก ทำงานล่วงเวลางานมีความซับซ้อน รีบเร่ง ทำให้เกิดความกดดันจริงจังเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ยึดติดในความสมบูรณ์แบบทำงานที่ไม่ได้มีความรักหรือความปรารถนาที่จะทำขาดอำนาจในการตัดสินใจ มีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงานไม่ได้รับการตอบแทนหรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ทุ่มเทไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ และไม่เปิดใจยอมรับรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม ไร้ตัวตนระบบบริหารงานหรือค่านิยมองค์กรขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตองค์กรไม่มั่นคง นโยบายบริหารไม่มีความชัดเจนสัญญาณเตือนว่าคุณมีภาวะหมดไฟในการทำงานหลังจากที่เช็กจากด้านบนแล้วสงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะหมดไฟในการทำงานรึเปล่า สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้อาการทางกาย สูญเสียพลังงานหรืออ่อนเพลีย (Exhaustion) นอนไม่หลับ ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อย หมดแรง ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ ภูมิตก ไม่มีสมาธิ ความ สามารถในการจำลดลงอาการทางอารมณ์ รู้สึกไม่อยากทำงาน หรือมีทัศนคติเชิงลบต่องานที่ทำ (Negativism) รู้สึกเบื่อ ไม่มีความสุข หดหู่ ไม่มีชีวิตชีวา สิ้นหวัง ไม่มีแรงจูงใจ อารมณ์แปรปรวน โกรธ หงุดหงิดง่าย มองโลกในแง่ร้าย ไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่น มีความขัดแย้งระหว่างบุคคลมากขึ้น สงสัยในความสามารถของตัวเองอาการทางพฤติกรรม ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง (Professional Efficacy ) มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนน้อยลง แยกตัวออกจากกลุ่ม หมกมุ่นอยู่กับการทำงาน ไม่กระตือรือร้น ผัดวันประกันพรุ่ง บริหารจัดการเวลาไม่ได้ ขาดความคิดสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไปจนถึงมีการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์วิธีรับมือและจัดการกับภาวะหมดไฟในการทำงานพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า เพื่อให้รับทราบปัญหา และหาทางออกด้วยกัน เช่นการลดปริมาณงาน การเรียงลำดับความสำคัญของงาน เพื่อทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมายได้พักผ่อนให้เพียงพอ นอนอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ขจัดความเหนื่อยล้าที่สะสมมา ช่วยปรับสมดุลร่างกายลองมาออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมทำ เพื่อช่วยลดความเครียดจากการทำงาน ช่วยให้ร่างกระปรี้กระเปร่า สดชื่น และถือว่าเป็นพักสมองจากเรื่องงานไปในตัวทำสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด ยืดหยุ่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น ลดความกดดันตนเองสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศที่ดีในการทำงาน หรืออาจะหาช่วงเวลาสังสรรค์หลังเลิกงานกับเพื่อนในที่ทำงานบ้างหยุดพักบ้าง เราทุกคนมีวันลาพักร้อน เราก็ใช้วันลาพักร้อนเหล่านั้น ไปเที่ยวต่างจังหวัด เปิดหู เปิดตา ให้สมองปลอดโปร่ง ให้เวลากับตัวเองในการจัดการความเครียดหากรู้สึกว่าเราจะหมดไฟในการทำงาน มีความเครียดมาก ๆ การพูดคุยกับคนรอบข้างที่ไว้ใจและเข้าใจ อาจจะเป็นการได้ระบายอย่างหนึ่ง แต่ที่สำคัญเราควรมีเวลาพักผ่อน ได้มีเวลาอยู่กับตัวเอง ได้ใช้เวลากับสิ่งที่ตัวเองรัก สิ่งที่ตัวเองสนใจ ให้ตัวเองได้จัดการอารมณ์ หา Work Life Balance ในการทำงาน เท่านี้อาจจะทำให้เราออกห่างจากภาวะหมดไฟในการทำงานได้บ้างแล้วว่าแล้ววันหยุดนี้ก็ออกไปเที่ยวกัน ^^