GSK ส่งเสริม “ความหลากหลายและความเท่าเทียม” ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ คว้ารางวัลระดับโลก 2 ปีซ้อน

PR News

GSK ส่งเสริม “ความหลากหลายและความเท่าเทียม” ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ คว้ารางวัลระดับโลก 2 ปีซ้อน

01 ก.ค. 2024

GSK ตอกย้ำการเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมกัน พร้อมขับเคลื่อนองค์กรและสังคมให้เติบโตอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ด้วยการคว้ารางวัลระดับโลก Top Global Employer 2023 ในระดับ Gold ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จาก Stonewall องค์กรระดับโลกเพื่อสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+ ด้วยนโยบายและสวัสดิการที่เน้นการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคน เพื่อให้สามารถเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกมีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริง

คุณมาเรีย คริสติช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลระดับโลกสำหรับองค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมกันถึง 2 ปีติดต่อกัน GSK ในฐานะบริษัท Biopharma เราให้ความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรภายใต้แนวคิด “Ahead Together” นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ผสานกับองค์ความรู้ ตลอดจนความสามารถของพนักงาน เพื่อร่วมใจกันทุ่มเทพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพให้ก้าวล้ำนำโรคต่าง ๆ

“GSK มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในหลักการ “Do the Right Thing” แนวทางการดำเนินธุรกิจบนความถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย DEI ที่ส่งเสริมความหลากหลาย (Diversity) ความเสมอภาค (Equity) และการมีส่วนร่วม (Inclusive) โดยเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เริ่มต้นจากการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน สร้างสภาพแวดล้อมให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า สามารถแสดงความคิดเห็น ตลอดจนแสดงศักยภาพสูงสุด” คุณมาเรียกล่าว

คุณอุษณี อภิรัตน์ภิญโญ HR Country Head ของ GSK กล่าวเสริมว่า GSK ได้ริเริ่มและผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมอย่างต่อเนื่องในหลายมิติ ทั้งในระดับ GSK Global โดยจัดตั้ง Global Council ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยผู้บริหารที่ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ รวมถึงผู้พิการ

สำหรับในประเทศไทย เราได้ร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จัดตั้ง GSK Employee Resources Group (ERGs) กลุ่มพนักงานที่รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านความหลากหลายและเท่าเทียมกันในระดับโลก อาทิเช่น โครงการส่งเสริมผู้นำหญิง (Women’s Leadership Initiative : WLI) และกลุ่ม Asian Embrace ส่งเสริมให้พนักงานเชื้อสายเอเชียมีส่วนร่วม โดยใช้ความสามารถ ประสบการณ์ และมุมมองที่หลากหลาย ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ไม่เพียงแต่เท่านี้ เนื่องจากผู้บริหาร GSK ในประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญเรื่อง DEI จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ DEI ประกอบด้วยตัวแทนพนักงานจากทุกแผนกและทุกระดับ ร่วมกันวางแผนกับผู้บริหารเพื่อให้พนักงานได้รับโอกาสและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ เพื่อดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน GSK มีสวัสดิการที่เน้นการรักษาและป้องกันสุขภาพทั้งกายและใจครอบคลุมถึงคู่สมรสที่มีความหลากหลายทางเพศ อีกทั้งในปี 2567 นี้ GSK ได้เพิ่มสิทธิวันลาให้กับคุณพ่อเพื่อช่วยดูแลบุตรหลังภรรยาคลอดเป็นระยะเวลา 126 วันเท่าเทียมกับคุณแม่ และยังได้รับเงินเดือนตามปกติ รวมถึงอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่ใดก็ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานอีกด้วย

และเนื่องในเดือนมิถุนายน เป็นช่วง Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายและเท่าเทียม GSK ได้จัดกิจกรรม “Beauty of Different Generation ความสวยงามของคนต่าง Gen” เพื่อสร้างความเข้าใจ เรียนรู้จุดแข็งและประสบการณ์ของคนในแต่ละช่วงวัย ผ่านการทำ Appreciation Box เขียนขอบคุณหรือชื่นชม และการจัด Panel Discussion แลกเปลี่ยนมุมมองทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น

“GSK ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางความคิดโดยปราศจากอคติ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมยาและวัคซีนใหม่ ๆ ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพผู้ป่วยทั่วโลกให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถโดดเด่น ให้เติบโตและประสบความสำเร็จไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” คุณมาเรียกล่าวสรุป

ทั้งนี้ รางวัล Top Global Employer จาก Stonewall ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกด้านสิทธิ LGBTQIA+ ถือเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญสำหรับองค์กรที่มุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน (Stonewall Global Workplace Equality Index)

related PR News

GSK ชวน “ชาวหละปูน” ฮักปอด สู้ฝุ่น PM 2.5 สร้างสุขภาวะในชุมชน

28 มี.ค. 2024

GSK ชวน “ชาวหละปูน” ฮักปอด สู้ฝุ่น PM 2.5 สร้างสุขภาวะในชุมชน

บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK ร่วมกับ เทศบาลเมืองลำพูน และบริษัท ลำพูน ซิตี้ แลป จำกัด จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน พร้อมตรวจสมรรถภาพปอดให้แก่ประชาชนเพื่อคัดกรองผู้ป่วยทางเดินหายใจเชิงรุกในช่วงฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการต้นแบบ “ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋” เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพปอดและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เข้าใจวิธีการจัดการขยะในชุมชนอย่างถูกต้อง และส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อระบบนิเวศน์นางโสมรสา พงษ์เพิ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) กล่าวว่า โครงการต้นแบบ “ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋” (Lamphun Healing Town) มุ่งสร้างสรรค์พื้นที่ย่านใจกลางเมืองเก่าลำพูนให้เป็นพื้นที่แห่งความสุขทั้งกายและใจ ผ่านการพัฒนาในหลายมิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาวะ มิติสิ่งแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจ โดย GSK ในฐานะผู้นำด้านชีวเภสัช (Biopharma) ต้องการมีส่วนร่วมในการปกป้องและฟื้นฟูสุขภาพของโลก ซึ่งบริษัทฯ ตระหนักดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และชีวิตของผู้คนมากขึ้น เช่น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โครงการฯ นี้จะช่วยพัฒนาและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดมลพิษทางอากาศและปกป้องสุขภาพของชาวลำพูนรศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างง่าย กล่าวในหัวข้อ “ชาวหละปูนฮักปอด รู้เร็ว หายง่าย” ว่า ปัญหาที่ภาคเหนือและประเทศไทยกำลังเผชิญ คือ PM 2.5 ซึ่งเป็นละอองที่มีขนาดเล็ก สามารถเข้าไปถึงทางเดินหายใจและกระแสเลือด ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดลม คนไข้ที่เป็นโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคถุงลมพอง ก็จะมีอาการกำเริบ สำหรับคนที่ยังไม่เป็นโรค ผลของฝุ่นก็จะทำให้มีการระคายเคือง การอักเสบ พออยู่ไปนาน ๆ ก็เกิดหลอดลมอักเสบ หลอดลมตีบ ทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ที่เจอมากก็คือมะเร็งปอด ฝุ่นจะเข้าไปลึกถึงถุงลมทำให้อักเสบ ทำให้เซลล์ทั้งหลายมีการเปลี่ยนแปลงจนเกิดมะเร็ง ซึ่งคนที่ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ สำหรับการป้องกัน นอกจากจะต้องป้องกันฝุ่นควันเข้าสู่ปอดแล้ว ก็ต้องงดสูบบุหรี่ และควรมีการตรวจสุขภาพปอดแต่เนิ่น ๆ เพราะในบางครั้งกว่าเราจะรู้ตัวว่า เป็นโรคเกี่ยวกับปอดก็ต่อเมื่อมีอาการมากแล้ว”นายเปรม พฤกษ์ทยานนท์ แอดมินเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป กล่าวในหัวข้อ “การจัดการขยะเพื่อชุมชนของเรา” ว่า “PM 2.5 คือขยะประเภทหนึ่งที่เราทิ้งขึ้นฟ้าซึ่งเกิดจาการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเผาที่ทำให้เกิด PM 2,5การจัดการขยะที่ดีควรเลียนแบบโลกใบนี้ นั่นคือ มีการหมุนเวียนที่ดี สร้างขยะเท่าไรต้องนำกลับมาเท่านั้น อากาศปล่อยเสียเท่าไรต้องดูดกลับมาเท่านั้น ในการจัดการขยะที่ดีจึงต้องทำจากต้นทางก่อน คือลดการใช้ มีการใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล ซึ่งจะง่ายกว่าการมาทำที่ปลายทางมาก เราควรถือว่าการจัดการขยะเป็นความรับผิดชอบของทุกคน เพราะเราสร้างขึ้นมาเราก็ควรจะเป็นคนที่รับผิดชอบ การจัดการขยะมีค่าใช้จ่าย แต่ก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ รวมไปถึงผู้ผลิตเองก็ต้องมีความรับผิดชอบ และควรจะมีกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ชัดเจน สำหรับการจัดการขยะของลำพูน ถือว่าเป็นจังหวัดต้นแบบจังหวัดหนึ่ง มีหลายชุมชนในลำพูนที่ทำเรื่องขยะในชุมชนได้ดีมาก ลำพูนเป็นเมืองที่น่าอยู่ อยากฝากไว้กับเหล่าผู้นำชุมชนว่า ถ้าเราเริ่มต้นเรื่องจัดการขยะในชุมชนของเราได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากและทำให้ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น”อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกป่าเหนือสตูดิโอ กล่าวในหัวข้อ "ต้นไม้และระบบนิเวศน์เขตเมืองเก่า" ว่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองจะช่วยเรื่องสภาพอากาศและทำให้คนที่อยู่อาศัยไม่เครียดจนเกินไป การแก้ปัญหาในเรื่องมลภาวะต้องแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจราจร การไม่เผาพื้นที่เกษตร สำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในตัวเมืองลำพูนจะมีความแตกต่างจากที่อื่น เพราะเรานำเอาพื้นดาดแข็ง คือ ถนน มาทำเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องชื่นชมโครงการอย่างมาก และจะเป็นตัวอย่างในระดับโลกได้ จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ร่มเงาที่เกิดขึ้นนี้ จะมีผลโดยตรงในการลด PM 2.5 และที่สำคัญคือ คุณค่าในการเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หรือ Cultural Landscape ที่จะอยู่คู่กับเมืองในส่วนของผู้นำชุมชน ครูแดง อารี เลิศจรรยารักษ์ ประธานคณะกรรมการถนนรถแก้ว กล่าวว่า “พวกเราช่วยกันวางแผนและแก้ไขปัญหาร่วมกับโครงการ “ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋” (Lamphun Healing Town) การเข้ามาของโครงการเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ไม่เพียงเฉพาะกับคนในชุมชน เนื่องจากมีต้นไม้ร่มรื่น มีดอกไม้สวยงาม ทำให้มีอากาศที่ดี รถไม่ต้องแล่นเร็ว อันตรายก็น้อยลง ทำให้สวยงามขึ้น เป็นระเบียบขึ้น เชื่อมั่นในโครงการ ก็คอยติดตามความคืบหน้าของโครงการเพื่อมาบอกชุมชน เราต้องประสานภายในชุมชน ซึ่งคนในชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือมาตั้งแต่ต้น ต้องขอขอบคุณทุก ๆ ฝ่ายที่ร่วมมือกันทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น”โครงการต้นแบบ “ลำพูน สุขก๋าย สบายใจ๋” (Lamphun Healing Town) ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองลำพูน บริษัท ลำพูน ซิตี้ แลป จำกัด และบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ย่านใจกลางเมืองเก่าลำพูนให้เป็นพื้นที่แห่งความสุขทั้งกายและใจ บนถนนรถแก้ว จังหวัดลำพูน

album

0
0.8
1