01 ก.ค. 2024
GSK ส่งเสริม “ความหลากหลายและความเท่าเทียม” ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ คว้ารางวัลระดับโลก 2 ปีซ้อน
GSK ตอกย้ำการเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมกัน พร้อมขับเคลื่อนองค์กรและสังคมให้เติบโตอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ด้วยการคว้ารางวัลระดับโลก Top Global Employer 2023 ในระดับ Gold ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จาก Stonewall องค์กรระดับโลกเพื่อสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQIA+ ด้วยนโยบายและสวัสดิการที่เน้นการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคน เพื่อให้สามารถเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกมีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริงคุณมาเรีย คริสติช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลระดับโลกสำหรับองค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมกันถึง 2 ปีติดต่อกัน GSK ในฐานะบริษัท Biopharma เราให้ความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรภายใต้แนวคิด “Ahead Together” นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ผสานกับองค์ความรู้ ตลอดจนความสามารถของพนักงาน เพื่อร่วมใจกันทุ่มเทพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพให้ก้าวล้ำนำโรคต่าง ๆ“GSK มีวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในหลักการ “Do the Right Thing” แนวทางการดำเนินธุรกิจบนความถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย DEI ที่ส่งเสริมความหลากหลาย (Diversity) ความเสมอภาค (Equity) และการมีส่วนร่วม (Inclusive) โดยเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เริ่มต้นจากการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน สร้างสภาพแวดล้อมให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า สามารถแสดงความคิดเห็น ตลอดจนแสดงศักยภาพสูงสุด” คุณมาเรียกล่าวคุณอุษณี อภิรัตน์ภิญโญ HR Country Head ของ GSK กล่าวเสริมว่า GSK ได้ริเริ่มและผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมอย่างต่อเนื่องในหลายมิติ ทั้งในระดับ GSK Global โดยจัดตั้ง Global Council ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยผู้บริหารที่ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ รวมถึงผู้พิการสำหรับในประเทศไทย เราได้ร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จัดตั้ง GSK Employee Resources Group (ERGs) กลุ่มพนักงานที่รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านความหลากหลายและเท่าเทียมกันในระดับโลก อาทิเช่น โครงการส่งเสริมผู้นำหญิง (Women’s Leadership Initiative : WLI) และกลุ่ม Asian Embrace ส่งเสริมให้พนักงานเชื้อสายเอเชียมีส่วนร่วม โดยใช้ความสามารถ ประสบการณ์ และมุมมองที่หลากหลาย ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ไม่เพียงแต่เท่านี้ เนื่องจากผู้บริหาร GSK ในประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญเรื่อง DEI จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ DEI ประกอบด้วยตัวแทนพนักงานจากทุกแผนกและทุกระดับ ร่วมกันวางแผนกับผู้บริหารเพื่อให้พนักงานได้รับโอกาสและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันนอกจากนี้ เพื่อดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน GSK มีสวัสดิการที่เน้นการรักษาและป้องกันสุขภาพทั้งกายและใจครอบคลุมถึงคู่สมรสที่มีความหลากหลายทางเพศ อีกทั้งในปี 2567 นี้ GSK ได้เพิ่มสิทธิวันลาให้กับคุณพ่อเพื่อช่วยดูแลบุตรหลังภรรยาคลอดเป็นระยะเวลา 126 วันเท่าเทียมกับคุณแม่ และยังได้รับเงินเดือนตามปกติ รวมถึงอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่ใดก็ได้ 2 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานอีกด้วยและเนื่องในเดือนมิถุนายน เป็นช่วง Pride Month เดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายและเท่าเทียม GSK ได้จัดกิจกรรม “Beauty of Different Generation ความสวยงามของคนต่าง Gen” เพื่อสร้างความเข้าใจ เรียนรู้จุดแข็งและประสบการณ์ของคนในแต่ละช่วงวัย ผ่านการทำ Appreciation Box เขียนขอบคุณหรือชื่นชม และการจัด Panel Discussion แลกเปลี่ยนมุมมองทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น“GSK ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางความคิดโดยปราศจากอคติ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมยาและวัคซีนใหม่ ๆ ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพผู้ป่วยทั่วโลกให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถโดดเด่น ให้เติบโตและประสบความสำเร็จไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” คุณมาเรียกล่าวสรุปทั้งนี้ รางวัล Top Global Employer จาก Stonewall ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกด้านสิทธิ LGBTQIA+ ถือเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญสำหรับองค์กรที่มุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน (Stonewall Global Workplace Equality Index)