เทรนสุขภาพ และความงาม

Beauty & Health

ไวรัส RSV ในผู้สูงวัย อันตรายกว่าที่คิด

13 ม.ค. 2025

ไวรัส RSV พบในเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ในผู้สูงวัยก็สามารถติดเชื้อ RSV ได้เช่นกัน หากผู้สูงอายุติดเชื้อ RSV จึงมีความเสี่ยงที่จะพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าวัยอื่น การฉีดวัคซีนป้องกัน RSV ในผู้สูงวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ควรละเลย

  • ทำไมผู้สูงอายุถึงติดเชื้อ RSV 

สาเหตุของการติดเชื้อ RSV ในผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักมาจากภูมิคุ้มกันที่เสื่อมลงตามธรรมชาติ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายการมีโรคประจำตัวเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคปอด โรคหอบหืด และโรคหัวใจ เมื่อได้รับเชื้อ RSV เข้าไปสู่ร่างกายมีโอกาสรุนแรงมากขึ้น 

  •  อาการเมื่อติดเชื้อ RSV ในผู้สูงวัย
    • ไข้ ไอแห้ง ไอเรื้อรัง
    • คัดจมูก น้ำมูกไหล
    • เหนื่อยง่าย อ่อนแรง เหนื่อยล้า
    • หายใจถี่ 
    • เบื่ออาหาร
    • เพ้อ สับสน
    •  
  • การรักษา RSV ในผู้สูงวัย

ไม่มียารักษาโรค RSV โดยเฉพาะ ต้องใช้การรักษาตามอาการ ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงให้กินยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ พักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง  ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที 

  • ภาวะแทรกซ้อน หากติดเชื้อ RSV ในผู้สูงวัย

หากผู้สูงวัยติดเชื้อ RSV อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้คือ ปอดอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น

  • เราสามารถป้องกัน เชื้อ RSV ได้อย่างไร
    • ล้างมือให้สะอาด
    • เลี่ยงสัมผัสตา จมูก ปากด้วยมือที่ไม่สะอาด
    • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกไปพบเจอคนเยอะ ๆ
    • ไม่ใช้ของส่วนตัวกับผู้อื่น
    • ฉีดวัคซีนป้องกัน RSV
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bangkok Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ

related Beauty & Health

กิจกรรมเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

14 ก.พ. 2025

กิจกรรมเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

ในปัจจุบันหนุ่มสาวผู้มีใจรักสุขภาพหันมาให้ความสนใจเรื่องน้ำหนักตัวและออกกำลังกายกันมากขึ้น โดยเฉพาะการวิ่งและการขี่จักรยานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็มีปัญหาว่า บางคนออกกำลังกายแล้วรู้สึกปวดเข่าเพราะกล้ามเนื้อหัวเข่ายังแข็งแรง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง มาดูกันดีกว่าว่า มีพฤติกรรมหรือกิจกรรมใดบ้างที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสาเหตุความเสื่อมของข้อเข่าความเสื่อมแบบปฐมภูมิหรือไม่ทราบสาเหตุเป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่าได้แก่อายุ พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมีข้อเสื่อม อายุ 60 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2 – 3 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกายน้ำหนักตัวที่เกิน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่าเสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1 – 1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูกส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้นการใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ เป็นต้นความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรงกรรมพันธุ์ โรคข้อเข่าเสื่อมมีหลักฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรมน้อยกว่าที่ข้อนิ้วมือเสื่อมความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้นอาการโรคข้อเข่าเสื่อมอาการระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้ออาการเมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับเกณฑ์วินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าภาพรังสีแสดงกระดูกงอกมีข้อสนับสนุน 1 ข้อ ดังต่อไปนี้– อายุเกิน 50 ปี– มีอาการฝืดแข็งในตอนเช้านานน้อยกว่า 30 นาที– มีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวเข่าจากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อการป้องกันไม่ให้เกิดข้อเข่าเสื่อมลดน้ำหนัก : การควบคุมน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ช่วยลดการแบกรับน้ำหนักที่หัวเข่า และข้อต่อต่างๆ ในร่างกายได้บริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า : การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ หัวเข่าให้แข็งแรง จะช่วยในการแบกรับน้ำหนัก ทำให้กระดูกข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไปควบคุมรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูก : และขอคำแนะนำจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของกระดูกขอบคุณข้อมูลจาก www.bangkokinternationalhospital.com

เชื้อไวรัส hMPV ไวรัสสายพันธ์ุใหม่ที่เด็ก ๆ ต้องระวัง

10 ม.ค. 2025

เชื้อไวรัส hMPV ไวรัสสายพันธ์ุใหม่ที่เด็ก ๆ ต้องระวัง

เตือนผู้ปกครอง ให้ระวังบุตรหลานของท่านเสี่ยงติดเชื้อไวรัส Human metapneumovirus (hMPV) หรือเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตะนิวโม ไม่ได้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ฤดูกาลที่พบการติดเชื้อมาก จะมี 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กๆมักมีอาการหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย ซึ่งการตรวจหาเชื้อนั้นทำได้โดยมีวิธีการเดียวกับไข้หวัดใหญ่และ RSV โดยวิธีการ swab โดยมักพบอาการในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุอาการของผู้ติดเชื้อไวรัส hMPVผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ คือ มีอาการไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กแต่ในผู้ใหญ่ และเด็กโต มีภูมิต้านทานที่ดีหากติดเชื้อนี้ อาจมีอาการเหมือนกับเป็นไข้หวัดธรรมดา หรืออาจไม่มีอาการก็ได้ ถึงอย่างไรก็ตามไวรัส hMPV เป็นโรคกลุ่มเดียวกันกับเชื้อไวรัส RSV เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปอดอักเสบในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ จึงควรระมัดระวังบุตรหลาน และผู้สูงอายุในบ้านการป้องกันโรคไวรัส hMPVเนื่องจากในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีน หรือยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาเชื้อนี้โดยตรง สามารถรักษาแบบประคับประคองเหมือนไข้หวัดใหญ่และ RSV ทั่วไป ใช้หลักการเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหานใจอื่นๆ คือ ล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอาเข้าปาก ไม่ไปคลุกคลีกับคนที่มีอาการป่วย ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อไปในที่มีชุมชนคนอยู่เยอะ ๆ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจขอขอบคุณข้อมูลจาก Bangkok Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ

“โรคงูสวัด” อันตรายกว่าที่คิด แพทย์ย้ำ อายุ 50+ และมีโรคร่วมเสี่ยงปัญหาสุขภาพร้ายแรง

18 มี.ค. 2025

“โรคงูสวัด” อันตรายกว่าที่คิด แพทย์ย้ำ อายุ 50+ และมีโรคร่วมเสี่ยงปัญหาสุขภาพร้ายแรง

แพทย์เตือนผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและมีโรคร่วม เสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัด ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ปวดเส้นประสาทอย่างรุนแรงและยาวนาน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งการนอน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน หากเกิดที่ใบหน้าหรือดวงตา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือเกิดปัญหาทางระบบประสาทได้ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนนพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีโรคอื่นร่วมด้วยมีความเสี่ยงเป็นโรคงูสวัด อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา โดยเฉพาะอาการปวดเส้นประสาทที่อาจจะรุนแรงและยาวนานหลายเดือนหรือเป็นปี ส่งผลกระทบต่อการนอน การทำงาน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายอาจเป็นภาวะซึมเศร้า รู้สึกโดดเดี่ยวจากการเก็บตัวจากสังคม นอกจากนี้ โรคงูสวัดยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังเกิดเป็นแผลเป็นถาวร หากเกิดที่ใบหน้าหรือดวงตาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทบนใบหน้าได้ ในบางกรณีอาจนำไปสู่การเป็นโรคเส้นเลือดในสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง“ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคงูสวัดมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายจะลดลง อีกประเด็นหนึ่ง คือ ผู้ที่มีอายุมากส่วนใหญ่จะมีโรคร่วมต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคที่จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง เมื่อมี 2 ปัจจัยนี้เข้ามาจึงทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคงูสวัดมากขึ้น” นพ. วีรวัฒน์ กล่าวโรคงูสวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับอีสุกอีใส แม้ว่าจะหายจากอีสุกอีใสแล้ว แต่เชื้อไวรัสไม่ได้หายไปยังคงแฝงตัวอยู่ในปมประสาท และสามารถกลับมาแสดงอาการได้อีกครั้งเมื่ออายุมากขึ้น เชื้อไวรัสตัวนี้จะออกมาใหม่ในรูปแบบของโรคงูสวัด โดยอาการจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ควบคู่กับมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามร่างกาย ทำให้เกิดแผล และระยะหลังจากแผลหายจะมีอาการปวดตามปลายประสาท โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุเยอะ รวมถึงผู้ที่มีโรคร่วม อาการปวดจะยิ่งรุนแรง และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว“แนวทางป้องกันโรคงูสวัด สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ได้แก่ การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขอนามัย และการรับวัคซีนป้องกัน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนชนิดไม่ใช่เชื้อเป็น สามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อโรคงูสวัดมากกว่าปกติ และวัคซีนชนิดเชื้อเป็นสำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การรับวัคซีนจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคงูสวัด และหากเป็นโรคงูสวัดก็จะช่วยลดความรุนแรงของอาการและภาวะแทรกซ้อนได้" นพ. วีรวัฒน์ กล่าวสรุปข้อมูลอ้างอิง1. Harpaz, R., et al. (2008). MMWR, 57(RR-5), 1–CE4.2. Marra, F., Parhar, K., Huang, B., Vadlamudi, N. (2020). Open forum infectious diseases, 7(1), ofaa005.3. Erskine, N., et al. (2017). PloS one, 12(7), e0181565.4. Forbes, H. J., et al (2016). Neurology, 87(1), 94–102.

ดนตรีบำบัดความเครียด มหัศจรรย์ของเสียงเพลงสู่ร่างกาย

26 ก.พ. 2025

ดนตรีบำบัดความเครียด มหัศจรรย์ของเสียงเพลงสู่ร่างกาย

ดนตรีบำบัด คือ ศาสตร์การบำบัดที่มีประโยชน์ทั้งในด้านความเพลิดเพลิน การศึกษา และการบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่มีความไม่สมดุลทางด้านอารมณ์ จนเกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตดนตรีบำบัดความเครียด, ดนตรีบำบัดจิตใจ คืออะไรดนตรีไม่ใช่แค่สิ่งที่ฟังเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ดนตรีบำบัดเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับกันมากมายและมีการนำไปใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านจิตเวช กายภาพบำบัด และสุขภาพจิตทั่วไป เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าเสียงเพลงมีอิทธิพลต่ออารมณ์ ช่วยลดความเครียด กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และสร้างความสมดุลให้กับร่างกาย หากคุณเคยรู้สึกสงบเมื่อได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะ หรือสามารถหลับได้ง่ายขึ้นจากเสียงดนตรีเบา ๆ เช่น ทำนองกล่อมนอน หรือเสียงธรรมชาติ นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพลังของดนตรีบำบัดจิตใจที่ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง ซึ่งบทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า ดนตรีบำบัด คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และใครบ้างที่ควรเข้ารับการทำดนตรีบำบัด รวมถึงแนะนำวิธีการฟังเพลงเพื่อการผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจที่คุณสามารถทำได้เองในชีวิตประจำวันดนตรีบำบัด (Music Therapy) เป็นศาสตร์ที่ใช้ดนตรีในการช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจให้กลับมาสู่สมดุล โดยมีนักดนตรีบำบัดที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ให้คำแนะนำและออกแบบการบำบัดให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การใช้เสียงเพลงและจังหวะสามารถกระตุ้นอารมณ์ ความคิด ความจำ และพฤติกรรมของผู้รับการบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการทำงานของดนตรีบำบัด มีดังนี้ส่งผลต่อสมอง - เสียงเพลงสามารถกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความจำ เช่น ระบบลิมบิก (Limbic System) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ ทำให้สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท - ดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อเสียงเพลงโดยอัตโนมัติ เช่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจหรือช่วยให้การหายใจเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอมากขึ้นปรับอารมณ์และช่วยให้ผ่อนคลาย - เสียงเพลงที่มีทำนองช้าและนุ่มนวลสามารถลดระดับฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) และเพิ่มสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้รู้สึกมีความสุขผู้ที่ควรเข้ารับดนตรีบำบัด มีใครบ้าง?ดนตรีบำบัดไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือร่างกายเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย การบำบัดด้วยดนตรีสามารถช่วยให้บุคคลในกลุ่มต่าง ๆ มีอารมณ์ที่ดีขึ้น ลดภาวะเครียด และเพิ่มสมดุลให้กับจิตใจและร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่ควรเข้ารับดนตรีบำบัดมีดังนี้ผู้ที่มีความเครียดและภาวะวิตกกังวลในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความกดดันจากการทำงาน ภาระครอบครัว และปัญหาส่วนตัว ความเครียดกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดนตรีบำบัดความเครียด สามารถช่วยให้จิตใจสงบลง ลดความวิตกกังวล และทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น การฟังดนตรีที่มีจังหวะช้าและนุ่มนวล เช่น เพลงบรรเลงแนวคลาสสิกหรือเสียงธรรมชาติ สามารถลดระดับฮอร์โมนความเครียด (Cortisol)ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์มักมีระดับสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสุข เช่น โดพามีน (Dopamine) และเซโรโทนิน (Serotonin) ต่ำกว่าปกติ การบำบัดด้วยดนตรีสามารถช่วยเพิ่มระดับของสารเคมีเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้การฟังเพลงที่มีเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ หรือเพลงที่ให้พลังบวก ยังช่วยปรับสภาพจิตใจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม หรือโรคอัลไซเมอร์ดนตรีเป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้นความทรงจำของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์มักมีปัญหาเรื่องความจำและการรับรู้ การฟังเพลงที่คุ้นเคยจากอดีตสามารถช่วยกระตุ้นสมองให้จดจำเรื่องราวในอดีตได้ดีขึ้น ทำให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ง่ายขึ้น ลดอาการสับสน และช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีขึ้นผู้ที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ เช่น เด็กออทิสติก และเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้เด็กที่มีภาวะออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) มักมีปัญหาด้านการสื่อสารและการแสดงออกทางอารมณ์ ดนตรีบำบัดสามารถช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กเหล่านี้ได้ โดยการใช้จังหวะและเสียงเพลงเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงระหว่างอารมณ์และพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคทางระบบประสาทผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคพาร์กินสัน มักมีภาวะเจ็บปวดเรื้อรังและความเครียดสูง ดนตรีบำบัดสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทางร่างกายและช่วยให้จิตใจของผู้ป่วยสงบขึ้นได้ การศึกษาพบว่า การฟังเพลงสามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดตามธรรมชาติผู้ที่ต้องการพัฒนาสมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ดนตรีบำบัดไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยเสริมสร้างสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้ที่ต้องใช้ความคิดในงาน เช่น นักเรียน นักศึกษา นักเขียน ศิลปิน หรือผู้ที่ต้องทำงานที่ต้องใช้จินตนาการการฟังดนตรีคลาสสิกหรือดนตรีที่มีจังหวะสม่ำเสมอ สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้สามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ ได้ดีขึ้นผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับดนตรีสามารถช่วยให้ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia) รู้สึกผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการฟังเพลงที่มีจังหวะช้า เช่น เสียงบรรเลงเปียโน หรือเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก หรือเสียงคลื่นทะเล งานวิจัยพบว่า ดนตรีสามารถช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะผ่อนคลายและหลับได้สนิทขึ้น นอกจากนี้ ดนตรีบำบัดยังสามารถช่วยลดอาการฝันร้ายและภาวะตื่นกลางดึกได้อีกด้วยประโยชน์ของดนตรีบำบัดลดความเครียดและช่วยให้ผ่อนคลายในยุคที่เต็มไปด้วยความกดดันจากการทำงานและปัญหาส่วนตัว ดนตรีบำบัดความเครียด กลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เสียงเพลงสามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ทำให้ร่างกายและจิตใจเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย เพลงที่มีจังหวะช้า ทำนองนุ่มนวล เช่น ดนตรีบรรเลง เสียงธรรมชาติ หรือเพลงแนวอะคูสติก สามารถช่วยให้สมองปล่อยสารเซโรโทนิน (Serotonin) และเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ที่ช่วยสร้างความสุขและความสงบทางอารมณ์ นอกจากนี้ การฟังเพลงยังสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้ระบบหายใจเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายลดอาการตื่นตัวและความกังวลปรับปรุงคุณภาพการนอนปัญหานอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเครียดสะสม ดนตรีบำบัดสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้โดยการทำให้สมองเข้าสู่สภาวะที่สงบลงและพร้อมสำหรับการพักผ่อน เสียงเพลงที่มีจังหวะช้า เช่น เพลงคลาสสิก เสียงบรรเลงเปียโน หรือเสียงธรรมชาติ อย่างเสียงฝนตกหรือเสียงลมพัด สามารถช่วยลดคลื่นสมองที่เกี่ยวข้องกับความตื่นตัว และกระตุ้นคลื่นสมองที่ส่งผลต่อการนอนหลับลึก ทำให้คุณสามารถหลับได้ง่ายขึ้นและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกสดชื่นมากขึ้นเพิ่มสมาธิและความจำสมองของเราสามารถได้รับการกระตุ้นจากดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฟังดนตรีที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น ดนตรีคลาสสิก หรือดนตรีที่มีจังหวะสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้สมองจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้ดีขึ้น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ระบุว่า ดนตรีสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และความจำ ส่งผลให้ผู้ที่ฟังดนตรีสามารถจดจำข้อมูลได้ดีขึ้นกระตุ้นอารมณ์และเสริมสร้างสุขภาพจิตดนตรีมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของมนุษย์อย่างมาก เสียงเพลงที่มีจังหวะเร็วและมีเนื้อหาสดใสสามารถช่วยเพิ่มพลังงานและทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉง ในขณะที่ดนตรีที่มีจังหวะช้าและทำนองอ่อนโยนสามารถช่วยให้จิตใจสงบลง สำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดสะสมการฟังเพลงเพื่อการผ่อนคลายทั่วไปถึงแม้ว่าบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้ดนตรีเพื่อเป็นการบำบัดร่างกายและจิตใจ แต่ในขณะเดียวกันการฟังเพลงทั่วไปนั้นก็สามารถช่วยในการผ่อนคลายจิตใจในวันที่เหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี เพราะเพลงเป็นดนตรีที่มีความหลากหลายทั้งในส่วนของรูปแบบและแนวเพลง แน่นอนว่าแต่ละคนมีความชื่นชอบที่แตกต่างกัน อีกทั้งการฟังเพลงหลายครั้งก็มักจะเลือกแนวเพลงให้เข้ากับสถานการณ์หรือกิจกรรมที่ทำ เช่น เปิดเพลงสบาย ๆ ในตอนทำงาน, เปิดเพลงมันส์ ปลุกใจ เร้าอารมณ์ สำหรับการออกกำลังกาย, เปิดเพลงที่มีทำนองช้า ๆ หรือซาวน์ธรรมชาติเพื่อกล่อมนอน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือจิตใจ การฟังฟังเพลงผ่านวิทยุออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ Atimeดนตรีบำบัด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการลดความเครียด กระตุ้นความจำ หรือช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ซึ่งการฟังเพลงไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำดนตรีบำบัดเพียงอย่างเดียว เพราะคุณยังสามารถฟังเพลงเพื่อเป็นการผ่อนคลายแบบง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อความเพลิดเพลินระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสบายใจมากขึ้น หากคุณกำลังมองหาสถานีวิทยุที่มีเพลงไพเราะให้ฟังตลอดทั้งวัน ที่เว็บไซต์ Atime ของเรา เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการฟังวิทยุออนไลน์ทั้งสดและย้อนหลังจากคลื่นวิทยุชื่อดัง เช่น EFM, Green Wave และ Chill Online ให้คุณเพลิดเพลินกับเสียงเพลงที่ช่วยบำบัดจิตใจได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญนอกจากจะมีดีเจเปิดเพลงให้ฟังแล้ว ภายในเว็บไซต์ยังมีคอนเทนต์น่าสนใจอื่น ๆ เช่น Club Friday, บทความรีวิวภาพยนตร์, พุธทอร์ค พุธโทร, รายการคุยข่าว, บทความเพื่อสุขภาพ และอีกมากมายให้เลิกรับชมตามความชอบ ไม่ว่าคุณจะต้องการผ่อนคลายหลังเลิกงาน หรือฟังเพลงก่อนนอนเพื่อให้จิตใจสงบ ดนตรีบำบัดความเครียด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยให้คุณมีความสุขและใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลมากขึ้น

Contact usGreenwave02-665-8377EFM02-665-8373
Advertise with usมัลลิกา ปราบอริพ่าย (กบ)(Atime Showbiz, Online Content)063-282-6915จุฑา วนศานติ (บี) (EFM)02-669-9512, 081-923-9823
อังคณา พองาม (นุก) (Greenwave)02-669-9444-7
ดาวน์โหลด Application ได้แล้ววันนี้ที่atime online application download from app storeatime online application download from play storeติดต่อสอบถาม / แจ้งปัญหาการใช้งานatimeplatform@atimemedia.com
บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)เลขที่ 50 อาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ถนนสุขุมวิท21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขต วัฒนา กรุงเทพ 10110