เหตุการณ์เครื่องบินสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากตกหลุมอากาศรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บหลายสิบคน
จากข้อมูลจาก Federation Aviation Administration องค์การบริหารการบินนานาชาติ พบความผิดปกติที่สภาพแปรปรวนของอากาศ นำมาซึ่งความเสียหาย บาดเจ็บ และเสียชีวิต ในปี 2565 มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเครื่องบินตกหลุมอากาศ 17 คน
และเมื่อดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 2552-2565 มีผู้บาดเจ็บสาหัสจากเครื่องบินตกหลุมอากาศ 163 คน หรือ เฉลี่ยปีละ 13 คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือลูกเรือ หรือ พนักงานบนเครื่องบิน
ถ้านับเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการตกหลุมอากาศ ในกลุ่มอุตสาหกรรมการบินใน ทวีปอเมริกาเหนือ อาจสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เนื่องจากความเสียหายที่เกิดกับตัวเครื่องบิน
และมีการจัดอันดับโดย Turbi ว่า “เส้นทางที่มีสภาพอากาศแปรปรวนเฉลี่ยมากที่สุดของโลกในปี 2566” พบว่า อันดับ 1 คือเส้นทางระหว่างซานติอาโก ชิลี และซานตาครูซ เด ลา เซียร์รา ประเทศโบลิเวีย อันดับที่ 2 คือ อัลมาตี คาซัคสถาน และ บิชเคก คีร์กีซสถาน และอันดับ 3 คือเส้นทางหลานโจว และเฉิงตูในประเทศจีน
เมื่อปีที่แล้ว (2023) อาจารย์ Ed Hawkins นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและอาจารย์ประจำ University of Reading แชร์ข้อมูลเรื่องอันตรายจากการตกหลุมอากาศและโลกร้อน แสดงให้เห็นถึงการเกิดหลุมอากาศที่เพิ่มขึ้น เขาพบว่าอัตราการเกิด Clear Air Turbulance (การเกิดหลุมอากาศในสภาพฟ้าปลอดโปร่ง) เพิ่มขึ้นราว 55% ในระยะเวลาเพียง 44 ปีเท่านั้น และถ้าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังดำเนินต่อไป อัตราการเกิด Clear Air Turbulance จะถี่และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และความน่ากลัวคือ
ทางด้าน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ดร.สนธิ คชวัฒน์ ให้ข้อมูลว่า หากไม่ดำเนินการใดๆในปี 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกว่า "สภาวะโลกเดือด" อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก 40% นับจากปี 2023
ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ ผู้โดยสารไม่มีทางรู้เลย ว่าเครื่องบินโดยสารจะตกหลุมอากาศเมื่อไหร่ แม้ท้องฟ้าจะปลอดโปร่งก็ตาม ทั้งความรุนแรง และ ความถี่ ก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น สิ่งที่ผู้โดยสารจะสามารถทำได้ คือเมื่อขึ้นเครื่องบินให้ นั่งรัดเข็มขัดให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางนั่นเอง
แหล่งข้อมูล :
FB : Sonthi Kotchawat
TPBS
BBC
CNN