ลดอุณหภูมิกทม.ได้มากถึง 5 องศา ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

GREEN HEART

ลดอุณหภูมิกทม.ได้มากถึง 5 องศา ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

13 มี.ค. 2024

ลดอุณหภูมิกทม.ได้มากถึง 5 องศา ด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 

Key Summary : 

• นักวิจัยพบว่าพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะสวนสาธารณะที่มีต้นใหม่ใหญ่ ลดอุณหภูมิโดยรอบลงได้ มากถึง 5 องศา

• สวนสาธารณะขนาดใหญ่ของกทม. กระจุกตัวอยู่แค่ภายในเขตชั้นใน

• การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกทม.ต่างๆให้เป็นประโยชน์จริงๆ มีโจทย์ต้องแก้ 2 ประเด็นคือ 1.พื้นที่สีเขียวนั้น ต้องเป็นพื้นที่ ที่ประชาชนทั่วไปเข้าไปใช้งานได้จริง  และ 2.ต้องกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ อยู่ใกล้ชุมชน ให้คนสะดวกใช้งานได้ง่าย

• พื้นที่สีเขียว ลดร้อนทำให้เมืองเย็นขึ้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึมซับน้ำส่วนเกิน ลดมลพิษทำความสะอาดอากาศ เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน

• ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชน และครัวเรือน ช่วยกันปลูกต้นไม้ตามองค์กร บ้านเรือน ตามรั้ว และทุกสถานที่ ที่ทำได้

ในวันที่กรมอุตุนิยมวิทยา ออกมาประกาศว่าปัจจุบัน บางพื้นที่ในกทม. เช่นบางนา อุณหภูมิได้พุ่งขึ้นไปสูงถึง 50 กว่าองศาแล้ว แล้วเราทำอะไรได้บ้าง 

มาเริ่มต้นกันที่งานวิจัยที่พิสูจน์แล้วจากหลายเมืองทั่วโลกพบว่า.. 

........................................................................................

 

ลดอุณหภูมิเมืองได้ด้วยพื้นที่สีเขียว

นักวิจัยพบว่าสวนต้นไม้ที่มีพื้นที่ใหญ่ เช่นสวนสาธารณณะเป็นวิธีลดอุณหภูมิเมืองได้ดีที่สุด ซึ่งลดอุณหูมิในพื้นและบริเวณโดยรอบได้ถึง 5 องศา หรือ การมีพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ทุ่ง หนอง บึงต่างๆ สามารถอุณหภูมิได้ 4.7 องศา 

มหาวิทยา Surrey Global Center for Clean Air Research  พบว่า ปรากฏการณ์ลดอุณหภูมิเมือง สามารถทำได้จริง แม้กระทั่งสวนหย่อมตามบ้านขนาดเล็กก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งงานวิจัยกำลังศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดว่า ต้นไม้ประเภทไหนลดอุณหภูมิได้มาก ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบเช่น ประเภทของร่มเงาของต้นไม้ การระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ แนวการปลูกต้นไม้ เช่น การจัดน้ำตกจะลดอุณภูมิรอบข้างได้เฉลี่ย 4.5 องศา ขณะที่สวนแนวตั้งลดอุณหภูมิได้ 4.1องศา และต้นไม้ตามถนน ลดอุณหภูมิได้ 3.8 องศา

 

 แล้วกทม.จะทำบ้างได้มั้ย?

ปัจจุบัน อัตราพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในกรุงเทพ ตามข้อมูลของ กทม. คือ 7.49 ตรม./คน  และตั้งเป้าหมายไว้ ว่าจะเพิ่มให้ถึง 9 ตร.ม./คน ภายในปี 2030 ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) แม้ปัจจุบัน พื้นที่สีเขียวในกทม. ดูเป็นตัวเลขที่สูง แต่ทำไมเราไม่ได้รู้สึกว่ากรุงเทพ เขียวขนาดนั้น?

 

พื้นที่สีเขียว กับสวนสาธาราณะที่ประชาชนเข้าถึงได้ คนละเรื่องกัน

ที่เรารู้สึกว่าความเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้น้อย ทั้งๆที่สถิติ กทม. ดูเยอะ เพราะ กทม.นับ‘พื้นที่สีเขียว’ ทั้งหมด โดยรวมเอา ‘ทุกพื้นที่ที่มีสีเขียว’ เช่น สวนถนนอาจหมายถึงต้นไม้บนเกาะกลางถนน หรือต้นไม้ริมถนน สวนหย่อมขนาดเล็กอาจเป็นสวนหน้าบ้านใครสักคน หรือ สวนประเภทอื่นๆ อาจอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวที่คนทั่วไปเข้าไปใช้งานไม่ได้

ตามข้อมูลของ กทม. ระบุว่าเขตพระโขนง คือเขตที่มีจำนวนสวนมากที่สุด แต่ในความเป็นจริงพระโขนงไม่มีสวนสาธารณะที่ประชาชนใช้งานได้เลยแม้แต่สวนเดียว แต่เป็นเขตที่มี “สวนหย่อมหน้าบ้าน” มากที่สุด

หรือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายที่มีพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรตามข้อมูล กทม. อยู่ที่ 6.36 ตร.ม./คน แต่ในความเป็นจริงแล้ว Rocket Media Lab พบว่า พื้นที่สวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ ต่อจำนวนประชากร ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ไม่มีสวนสาธารณะที่ประชาชนเข้าถึงได้เลย 

หรือเขตทวีวัฒนา ที่ กทม.ระบุว่ามีพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร อยู่ที่ 22.83 ตร.ม./คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก แต่ Rocket Lab พบว่า พื้นที่สวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ต่อจำนวนประชากรมีเพียง 3.72 ตร.ม./คน เท่านั้น

 

“เราจะมองแค่อัตราส่วนของพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอย่างเดียวไม่ได้ การเข้าถึง และ ความสามารถใช้งานของพื้นที่สีเขียวก็สำคัญ”

โครงการ Green Bangkok 2030 นอกจากต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อประชากร ให้ได้ถึง 9 ตร.ม./คน ภายในปี 2030 แล้ว ยังมีเป้าหมายการเพิ่มสวนสาธารณะขนาดเล็ก (Pocket Park) ให้เข้าถึงได้ในระยะ 400-800 เมตรอีกด้วย

 

สวนสาธารณะขนาดใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพชั้นใน

Rocket Media Lab แจงข้อมูลสวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ทั้ง 133 แห่งของกทม. ว่าสวนสาธารณะที่เข้าถึงได้ และมีระยะการเข้าถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ชั้นในและพื้นที่เศรษฐกิจเกือบทั้งหมด และบางส่วนของพื้นที่กรุงเทพตอนใต้

 

"ปัญหาการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของ กทม. คือ ไม่มีที่ดิน และไม่มีงบฯ จัดซื้อที่ดินในการสร้างสวนสาธารณะ"

แม้กทม.จะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่ในยุคสมัยต่างๆของผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อนๆต่อเนื่องกันมา ได้มีการแก้ปัญหา เพิ่มพื้นที่สีเขียวในหลากหลายลักษณะ ทั้งใช้ที่ดินกทม.เอง หรือ เช่าที่ มาทำสวนสาธารณะ  บางที่ได้รับพระราชทานมาจากในหลวงรัชกาลที่ 9 และยังมีการบริจาคมาจากภาคเอกชน หรือได้รับความร่วมมือจากพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานจากหน่วยงานรัฐต่าง ๆ อีกด้วย

ความท้าทายจึงยังไม่ได้จบลงที่แค่การเพิ่มพื้นที่ แต่เป็นการ "กระจาย" พื้นที่สีเขียวให้ครอบคลุม เข้าถึงทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียมอีกต้วย

โดยปกติแล้วเมืองใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า ใช้ทรัพยากรมากกว่า เป็นสาเหตุในการเร่งภาวะโลกร้อนรอบโลกมากกว่าพื้นที่ชุมชนอื่นๆ พื้นที่สีเขียวจึงจำเป็นที่ต้องอยู่คู่กับเมืองไปด้วย เพราะนอกจากจะทำให้เมืองคลายร้อนให้เมืองเย็นขึ้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึมซับน้ำส่วนเกิน ลดมลพิษทำความสะอาดอากาศ ก็ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน ในเชิงความงดงาม และ คลายเครียดได้ด้วย

ต้นไม้ทุกต้นจึงมีความสำคัญ นอกจากเราจะปลูกเองที่บ้านได้แล้ว หากเราช่วยกันดูแล เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนของตนเองอีกทางหนึ่งด้วย จะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ และหากคุณสนใจเรื่องการดูแลปกป้องต้นไม้ใหญ๋ในเมือง ก็สามารถเข้าร่วมได้ที่ กลุ่ม Big Trees Project บน Facebook ครับ https://www.facebook.com/BIGTreesProject

 

ข้อมูล:

• WEF

• The Standard

album

0
0.8
1