ขยะพลาสติก 91% บนโลกใบนี้ ถูกกองทิ้งเป็นภูเขาขยะ เอาไปฝังกลบ เผา หรือ ทิ้งลงทะเล ซึ่งสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในทุกทาง
ทุกคนรู้จักประโยชน์จากพลาสติกดี ไม่มีใครปฏิเสธได้ เราพึ่งพาและใช้มันมาเนิ่นนาน แต่มาวันนี้โทษของพลาสติกปรากฏให้เห็นและทวีคูณขึ้นถึงระดับสุขภาพ และเกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคจึงเริ่มตั้งคำถามกับ “พลาสติก” ว่า มันเป็นสิ่งช่วยแก้ปัญหา หรือ เป็นตัวปัญหาที่ใหญ่กว่า กันแน่
ถึงแม้อุตสาหกรรมพลาสติก และ ธุรกิจต่าง ๆ จะอ้างถึงคุณูปการของพลาสติก แต่ก็ยังไม่มีอุตสาหกรรม หรือภาคธุรกิจไหน ที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเรื่องการลดใช้พลาสติก หยุดการใช้พลาสติกรีไซเคิลที่ไม่ได้ หรือในกระบวนการเก็บขยะพลาสติกกลับเช้าสู่ระบบ เพื่อไม่ให้รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม อย่างจริงจัง แต่กลับผลักภาระให้ผู้บริโภค จัดการขยะแทน
แม้แต่ภาครัฐก็ยังไม่มีความจริงจังในการจัดการปัญหาพลาสติก ปัจจุบันมีแค่ผู้บริโภค ประชากรที่ช่วยกันเอง คัดแยกขยะ เพื่อนำพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบ
สาเหตุหลักที่การรีไซเคิลไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาพลาสติก
1. เราสร้างขยะพลาสติก มากจน รีไซเคิลไม่หมด
อย่าคิดว่าใช้พลาสติกไปเถอะ เดี๋ยวก็รีไซเคิลได้ เพราะจำนวนพลาสติกที่กลับเข้าระบบรีไซเคิลทั่วโลกมีไม่ถึง 9% ในประเทศที่กฏหมาย และ เทคโนโลยีก็ไม่มีประสิทธิภาพ ในการรับมือ ขยะพลาสติก ภาครัฐก็ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ยิ่งทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการรีไซเคิลก็ยิ่งต่ำกว่านี้มาก
2.โรงงานรีไซเคิล ปล่อยไมโครพลาสติก และสารพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
โรงงานรีไซเคิลพลาสติกที่ได้มาตรฐาน อย่างประเทศอังกฤษ ก็ปล่อยไมโครพลาสติกมากเกินมาตรฐาน โรงงานนี้สามารถปล่อยอนุภาคพลาสติกได้มากถึง 75 พันล้านชิ้นต่อน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ ประมาณ 2,933 เมตริกตันต่อปี ยังไม่นับ สารพิษอื่น ๆ ที่โรงงานปล่อยออกมา
ส่วนโรงงานรีไซเคิลอื่น ๆ ในประเทศโลกที่ 3 ที่รับขยะพลาสติกไป ก็กำจัด “พลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้” ด้วยการฝังบ้าง เผาบ้าง หรือ กองเป็นภูเขาขยะขนาดใหญ่ ในประเทศโลกที่ 3 เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อมลพิษมากมาย
3. ขยะพลาสติกส่วนใหญ่รีไซเคิลไม่ได้
พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลใหม่ได้ มีไม่กี่ประเภท ซึ่งเทียบแล้วนับเป็นจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single Use Plastic) ที่มีอัตราการสร้างขยะสูงที่สุด
4.โลกยังไม่มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ หรือ กำลังการรีไซเคิลมากพอ
แม้แต่ขยะพลาสติกรีไซเคิลจากประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังถูกส่งไปโรงงานรีไซเคิล รอบโลก เพราะไม่มีกำลังการรีไซเคิลมากพอ เลยถูกส่งไปยังประเทศโลกที่ 3 ที่กฎหมายไม่เข้มแข็ง และก่อมลพิษให้ประเทศปลายทาง โดยเฉพาะ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. การรีไซเคิลใช้พลังงาน และต้นทุนสูง
ที่ขยะหลายประเภทไม่ถูก รีไซเคิล ไม่ใช่ทำไม่ได้ แต่เป็นเพราะมันไม่คุ้มทุนที่จะทำ ตั้งกระบวนการรวบรวม ทำความสะอาด ขนย้าย และ แปรรูป และคุณภาพของพลาสติกที่ได้ ก็มีคุณภาพต่ำ- มีขยะรีไซเคิลเพียงไม่กี่ประเภท ที่คุ้มค่ารีไซเคิล เช่น กระป๋องอลูมิเนียม
ช้อเรียกร้องต่อภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ
ให้ภาคธุรกิจ มีส่วนรับผิดชอบต่อขยะที่สร้าง เปลี่ยน ลด เลิก ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ภาครัฐมีโครงสร้างการจัดการขยะที่เป็นระบบ รวมทั้งมาตรการลงโทษ หรือ จูงใจให้ทั้งผู้ผลิต และ ผู้บริโภค สร้างวิถีการบริโภคที่ยั่งยืนโดยเร็วที่สุด
เพิ่มเติม :
https://www.prachachat.net/general/news-247836
https://www.thairath.co.th/news/society/2693102
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2380589
https://www.thairath.co.th/news/local/2660615