รวมร้าน Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษี ปี2568

Movie & Trend

รวมร้าน Easy E-Receipt 2.0 ลดหย่อนภาษี ปี2568

31 ม.ค. 2025

มาถึงช่วงลดหย่อนภาษีกันแล้ว! หากใครกำลังมองหาร้านค้า ร้านอาหาร หรือเครื่องดื่มที่เข้าร่วม โครงการ Easy E-Receipt 2.0 เพื่อช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 50,000 บาท

วันนี้ Atime ลิสต์มาไว้ให้แล้ว!

โครงการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการที่จ่ายจริงมาหักลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2568 โดยแบ่งเป็น:

     1. ลดหย่อนสูงสุด 30,000 บาท

  • สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่สามารถออกเอกสารดังนี้:
    • ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice)
    • ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)

 

     2. ลดหย่อนเพิ่มเติมอีก 20,000 บาท

  • สำหรับค่าใช้จ่ายในสินค้าหรือบริการที่จ่ายให้กับ:
    • สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
    • สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจชุมชน
    • สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคม
  • โดยต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินเป็น e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เช่นเดียวกัน

หมายเหตุ:
ในกรณีที่ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนได้ต้องเป็นสินค้าหรือบริการประเภทดังนี้:

  • หนังสือ
  • ค่าบริการ E-Book
  • สินค้า OTOP
  • สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจชุมชน

สามารถเริ่มใช้จ่ายและรวบรวมหลักฐานการลดหย่อนได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยต้องใช้เอกสารที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice และ e-Receipt) ที่รับรองโดยกรมสรรพากรเท่านั้น


อยากรู้ว่าร้านไหนที่เข้าร่วมโครงการ และจะช่วยให้การลดหย่อนภาษีของคุณคุ้มค่าที่สุด ตามมาดูลิสต์ร้านที่เรารวบรวมไว้ได้เลย!

ห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาเก็ต


 

อาหารและเครื่องดื่ม


 

Luxury Brand


 

บ้านและเฟอร์นิเจอร์


 

เครื่องสำอาง & แว่นตา

 

อุปกรณ์ IT & เครื่องใช้ไฟฟ้า


ยางรถ & หนังสือ และเครื่องเขียน


 

OTOP & อุปกรณ์อื่น ๆ

 

 

related Movie & Trend

เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับแรงกระแทกจากนโยบายภาษีทรัมป์

01 เม.ย. 2025

เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับแรงกระแทกจากนโยบายภาษีทรัมป์

KKP Researchมองว่ากลุ่มเป้าหมายสำคัญที่สหรัฐฯจะหันมาเพ่งเล็งมากขึ้นภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ มี 5 กลุ่มใหญ่ดังนี้1)บริษัทสัญชาติอเมริกาที่ย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศและส่งสินค้ากลับไปขายผู้บริโภคในสหรัฐฯ2)สินค้าจีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯโดยตรงและส่งผลกระทบด้านลบต่อผู้ผลิตท้องถิ่น3)ประเทศที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯขนาดสูงไม่ว่าจะเป็น เม็กซิโก แคนาดา เวียดนาม(และอาจจะรวมถึงไทยด้วย)4)สินค้าจีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯผ่านประเทศที่สามเพื่อพยายามหลบหลีกภาษีนำเข้า5)ประเทศที่มีมาตรการกีดกันสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯในอัตราที่สูงไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษีหรืออื่นๆสหรัฐฯ เตรียมขึ้นภาษีตอบโต้ทั่วโลก เส้นตาย 2 เม.ย. 68ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำหนด 2 เมษายน 2568 เป็นเส้นตายสำหรับการเริ่มใช้ "ภาษีศุลกากรตอบโต้" (Reciprocal Tariff) กับประเทศที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ตามแผน "ค้าที่เป็นธรรมและเท่าเทียม"ตั้งแต่รับตำแหน่ง ทรัมป์เดินหน้าขึ้นภาษีต่อหลายประเทศ เช่น แคนาดา-เม็กซิโก 25%, จีน 20%, และเหล็ก-อะลูมิเนียมทั่วโลก 25% ทำให้หลายประเทศตอบโต้ เช่น จีน ที่ขึ้นภาษีกลับและฟ้อง WTO นำไปสู่ สงครามการค้าผลกระทบต่อไทยไทยเผชิญแรงกระแทกจากสงครามการค้า กระทบภาคการส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม