
14 ก.พ. 2025
กิจกรรมเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
ในปัจจุบันหนุ่มสาวผู้มีใจรักสุขภาพหันมาให้ความสนใจเรื่องน้ำหนักตัวและออกกำลังกายกันมากขึ้น โดยเฉพาะการวิ่งและการขี่จักรยานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็มีปัญหาว่า บางคนออกกำลังกายแล้วรู้สึกปวดเข่าเพราะกล้ามเนื้อหัวเข่ายังแข็งแรง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง มาดูกันดีกว่าว่า มีพฤติกรรมหรือกิจกรรมใดบ้างที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสาเหตุความเสื่อมของข้อเข่าความเสื่อมแบบปฐมภูมิหรือไม่ทราบสาเหตุเป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่าได้แก่อายุ พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมีข้อเสื่อม อายุ 60 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2 – 3 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกายน้ำหนักตัวที่เกิน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่าเสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1 – 1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูกส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้นการใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ เป็นต้นความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรงกรรมพันธุ์ โรคข้อเข่าเสื่อมมีหลักฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรมน้อยกว่าที่ข้อนิ้วมือเสื่อมความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้นอาการโรคข้อเข่าเสื่อมอาการระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้ออาการเมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับเกณฑ์วินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการปวดเข่าภาพรังสีแสดงกระดูกงอกมีข้อสนับสนุน 1 ข้อ ดังต่อไปนี้– อายุเกิน 50 ปี– มีอาการฝืดแข็งในตอนเช้านานน้อยกว่า 30 นาที– มีเสียงกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวเข่าจากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อการป้องกันไม่ให้เกิดข้อเข่าเสื่อมลดน้ำหนัก : การควบคุมน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ช่วยลดการแบกรับน้ำหนักที่หัวเข่า และข้อต่อต่างๆ ในร่างกายได้บริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า : การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ หัวเข่าให้แข็งแรง จะช่วยในการแบกรับน้ำหนัก ทำให้กระดูกข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไปควบคุมรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูก : และขอคำแนะนำจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของกระดูกขอบคุณข้อมูลจาก www.bangkokinternationalhospital.com